15-125 สงคราม สูตรที่ 1



พระไตรปิฎก


๔. ปฐมสังคามสูตร
ว่าด้วยสงคราม สูตรที่ ๑
[๓๖๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น พระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร ผู้ครองแคว้นมคธ ทรงจัดจตุรงคินี-
เสนา A ยกไปรุกรานพระเจ้าปเสนทิโกศลทางแคว้นกาสี พระเจ้าปเสนทิโกศลทรง
สดับข่าวว่า “พระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร ผู้ครองแคว้นมคธ ทรงจัดจตุรงคินี-
เสนายกมารุกรานเราทางแคว้นกาสี” จึงทรงจัดจตุรงคินีเสนา ยกออกไปต่อสู้กับ
พระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร ผู้ครองแคว้นมคธ ป้องกันแคว้นกาสี ครั้งนั้น
พระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร ผู้ครองแคว้นมคธ กับพระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงทำ
สงครามต่อกัน
สงครามครั้งนั้น พระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร ผู้ครองแคว้นมคธ ทรงชนะ
พระเจ้าปเสนทิโกศล ฝ่ายพระเจ้าปเสนทิโกศลผู้พ่ายแพ้ ก็เสด็จล่าทัพกลับกรุง
สาวัตถี ราชธานีของพระองค์
[๓๖๙] ครั้นเวลาเช้า ภิกษุจำนวนมากครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร เข้าไป
บิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี กลับจากบิณฑบาต ภายหลังจากฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร ผู้ครองแคว้นมคธ
ทรงจัดจตุรงคินีเสนา ยกมารุกรานพระเจ้าปเสนทิโกศลทางแคว้นกาสี พระเจ้า
ปเสนทิโกศลทรงสดับข่าวว่า ‘พระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร ผู้ครองแคว้นมคธ
ทรงจัดจตุรงคินีเสนา ยกมารุกรานเราทางแคว้นกาสี จึงทรงจัดจตุรงคินีเสนา
ยกออกไปต่อสู้กับพระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร ผู้ครองแคว้นมคธ ป้องกันแคว้น
กาสี ครั้งนั้น พระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร ผู้ครองแคว้นมคธ กับพระเจ้าปเสนทิ-
โกศลทรงทำสงครามต่อกัน
สงครามครั้งนั้น พระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร ผู้ครองแคว้นมคธ ทรงชนะ
พระเจ้าปเสนทิโกศล ฝ่ายพระเจ้าปเสนทิโกศลผู้พ่ายแพ้ ก็เสด็จล่าทัพกลับกรุง
สาวัตถี ราชธานีของพระองค์”
[๓๗๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร
ผู้ครองแคว้นมคธ มีมิตรเลว มีสหายเลว มีเพื่อนเลว ฝ่ายพระเจ้าปเสนทิโกศล
เป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี วันนี้ พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงพ่ายแพ้มาแล้ว
อย่างนี้ จักบรรทมเป็นทุกข์ตลอดราตรีนี้”
[๓๗๑] พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ฯลฯ จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
ผู้ชนะย่อมก่อเวร ผู้พ่ายแพ้ย่อมนอนเป็นทุกข์
ผู้ละทั้งความชนะและความพ่ายแพ้ได้แล้ว
มีใจสงบ ย่อมนอนเป็นสุข B
ปฐมสังคามสูตรที่ ๔ จบ
เชิงอรรถ
A จตุรงคินีเสนา หมายถึงองค์ ๔ คือ พลช้าง พลม้า พลรถ และพลเดินเท้า (สํ.ส.อ. ๑/๑๒๕/๑๔๖)
B ดู ขุ.ธ. ๒๕/๒๐๑/๕๒

บาลี



ปมสงฺคามวตฺถุสุตฺต
[๓๖๘] สาวตฺถิย วิหรติ … อถ โข ราชา มาคโธ อชาตสตฺตุ
เวเทหิปุตฺโต จตุรงฺคินึ เสน สนฺนยฺหิตฺวา ราชาน ปเสนทิโกสล
อพฺภุยฺยาสิ เยน กาสิ ฯ อสฺโสสิ โข ราชา ปเสนทิโกสโล ราชา
กิร มาคโธ อชาตสตฺตุ เวเทหิปุตฺโต จตุรงฺคินึ เสน สนฺนยฺหิตฺวา
มม อพฺภุยฺยาโต เยน กาสีติ ฯ อถ โข ราชา ปเสนทิโกสโล
จตุรงฺคินึ เสน สนฺนยฺหิตฺวา ราชาน มาคธ อชาตสตฺตุ เวเทหิปุตฺต
ปจฺจุยฺยาสิ เยน กาสิ ฯ อถ โข ราชา จ มาคโธ อชาตสตฺตุ
เวเทหิปุตฺโต ราชา จ ปเสนทิโกสโล สงฺคาเมสุ ฯ ตสฺมึ โข
ปน สงฺคาเม ราชา มาคโธ อชาตสตฺตุ เวเทหิปุตฺโต ราชาน
ปเสนทิโกสล ปราเชสิ ฯ ปราชิโต จ ราชา ปเสนทิโกสโล
สกเมว ราชธานึ สาวตฺถึ ปจฺจุยฺยาสิ ฯ
[๓๖๙] อถ โข สมฺพหุลา ภิกฺขู ปุพฺพณฺหสมย นิวาเสตฺวา
ปตฺตจีวรมาทาย สาวตฺถึ ปิณฺฑาย ปวิสึสุ สาวตฺถิย ปิณฺฑาย
จริตฺวา ปจฺฉาภตฺต ปิณฺฑปาตปฏิกฺกนฺตา เยน ภควา เตนุปสงฺกมึสุ
อุปสงฺกมิตฺวา ภควนฺต อภิวาเทตฺวา เอกมนฺต นิสีทึสุ ฯ เอกมนฺต
นิสินฺนา โข เต ภิกฺขู ภควนฺต เอตทโวจุ อิธ ภนฺเต ราชา
มาคโธ อชาตสตฺตุ เวเทหิปุตฺโต จตุรงฺคินึ เสน สนฺนยฺหิตฺวา ราชาน
ปเสนทิโกสล อพฺภุยฺยาสิ เยน กาสิ อสฺโสสิ โข ภนฺเต ราชา
ปเสนทิโกสโล ราชา กิร มาคโธ อชาตสตฺตุ เวเทหิปุตฺโต จตุรงฺคินึ
เสน สนฺนยฺหิตฺวา มม อพฺภุยฺยาโต เยน กาสีติ อถ โข ภนฺเต
ราชา ปเสนทิโกสโล จตุรงฺคินึ เสน สนฺนยฺหิตฺวา ราชาน มาคธ
อชาตสตฺตุ เวเทหิปุตฺต ปจฺจุยฺยาสิ เยน กาสิ อถ โข ภนฺเต
ราชา จ มาคโธ อชาตสตฺตุ เวเทหิปุตฺโต ราชา จ ปเสนทิโกสโล
สงฺคาเมสุ ตสฺมึ โข ปน ภนฺเต สงฺคาเม อชาตสตฺตุ
เวเทหิปุตฺโต ราชาน ปเสนทิโกสล ปราเชสิ ปราชิโต จ ภนฺเต
ราชา ปเสนทิโกสโล สกเมว ราชธานึ สาวตฺถึ ปจฺจุยฺยาสีติ ฯ
[๓๗๐] ราชา ภิกฺขเว มาคโธ อชาตสตฺตุ เวเทหิปุตฺโต ปาปมิตฺโต
ปาปสหาโย ปาปสมฺปวงฺโก ราชา จ โข ภิกฺขเว ปเสนทิโกสโล
กลฺยาณมิตฺโต กลฺยาณสหาโย กลฺยาณสมฺปวงฺโก อชฺเชว
ภิกฺขเว ราชา ปเสนทิโกสโล อิม รตฺตึ ทุกฺข เสสฺสติ ปราชิโตติ ฯ
[๓๗๑] อิทมโวจ ฯเปฯ
ชย เวร ปสวติ ทุกฺข เสติ ปราชิโต
อุปสนฺโต สุข เสติ หิตฺวา ชยปราชยนฺติ ฯ

 

อรรถกถา


อรรถกถาปฐมสังคามวัตถุสูตร
พึงทราบวินิจฉัยยในปฐมสังคามวัตถุสูตรที่ ๔ ต่อไป :-
คำว่า เวเทหิ ในคำว่า เวเทหิปุตฺโต นี้ เป็นชื่อของบัณฑิต อธิบาย
ว่า บุตรของสตรีผู้เป็นบัณฑิต. บทว่า จตุรงฺคินึ ได้แก่ประกอบด้วยองค์ ๔
กล่าวคือ ทัพช้าง ทัพม้า ทัพรถ ทัพพลเดินเท่า [ราบ]. บทว่า สนฺนยฺหิตฺวา
ได้แก่ให้กระทำเกราะด้วยการสวมหนึ่งเป็นต้น. บทว่า สงฺคาเมสุํ แปลว่า
รบกัน. รบกันเพราะเหตุอะไร. ได้ยินว่า พระเจ้ามหาโกศล [พระชนกของพระเจ้า
ปเสนทิโกศล] เมื่อยกพระธิดาถวายพระเจ้าพิมพิสาร ได้พระราชทานกาสิคาม
[หมู่บ้านกาสี] ซึ่งมีรายได้เกิดขึ้นวันละแสน ในระหว่างพระราชาทั้งสองแก่
พระราชธิดา. แต่เมื่อพระเจ้าอชาตศัตรูปลงพระชนม์พระชนกแล้ว แม้พระ-
ชนนีของพระองค์ก็ทิวงคต ต่อมาไม่นาน เพราะทรงเศร้าเหตุวิโยคพลัดพราก
พระราชา. ต่อนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงพระดำริว่า เจ้าอชาตศัตรู ทำ
พระชนกชนนีให้ทิวงคตแล้ว หมู่บ้านซึ่งเป็นสมบัติของพระชนกเรา ก็ต้อง
กลับเป็นของเราสิ แล้วทรงก่อคดีความเมือง เพื่อต้องการหมู่บ้านนั้น. แม้
พระเจ้าอชาตศัตรูก็ทรงเถียงว่า หมู่บ้าน เป็นสมบัติของพระชนนีเรา ก็ต้อง
เป็นของเราสิ. ดังนั้น สองลุงและหลานจึงรบกัน เพื่อต้องการหมู่บ้านนั้น.
พระเจ้าอชาตศัตรูนั้นมีมิตรเช่น พระเทวทัตเป็นต้นชั่ว เพราะเหตุนั้น
จึงทรงชื่อว่า มีมิตรชั่ว. ทรงมีคนชั่วเหล่านั้นเป็นสหาย เพราะเหตุนั้น จึง
ชื่อว่า ทรงมีพระสหายชั่ว. ทรงมีพระทัยน้อมคล้อยไปตามชนเหล่านั้นนั่นแล
เพราะเหตุนั้น จึงทรงชื่อว่า มีผู้คล้อยตามชั่ว. พึงทราบว่า พระเจ้าปเสนทิโกศล
ทรงมีมิตรดี [กัลยาณมิตร] ก็โดยยกพระสารีบุตรเถระเป็นต้น [เป็นมิตร].
บทว่า ทุกฺขํ เสสฺสติ ได้แก่เมื่อทรงเศร้าโศกถึงช้างเป็นต้นที่พระเจ้าอชาต-
ศัตรทรงชนะไป ก็จักบรรทมเป็นทุกข์ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นเหตุแห่ง
ชัยชนะของพระเจ้าปเสนทิโกศลนั้นอีก จึงตรัสคำนี้. บทว่า ชยํ เวรํ ปสวติ
ได้แก่ ผู้ชนะ ย่อมประสบเวร คือได้บุคคลที่เป็นไพรี.
จบอรรถกถาปฐมสังคามวัตถุสูตรที่ ๔

สนทนาธรรม

comments

Got anything to say? Go ahead and leave a comment!