15-123 พระราชา 5 พระองค์



พระไตรปิฎก


๒. ปัญจราชสูตร
ว่าด้วยพระราชา ๕ พระองค์
[๓๕๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
สมัยนั้น พระราชา ๕ พระองค์ มีพระเจ้าปเสนทิโกศลทรงเป็นประมุขผู้
เอิบอิ่มเพียบพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ได้รับบำเรออยู่ มีคำถามเกิดขึ้นในระหว่างการ
สนทนากันว่า “อะไรเป็นยอดแห่งกามทั้งหลาย”
บรรดาพระราชาเหล่านั้น บางพระองค์ตรัสอย่างนี้ว่า “รูปเป็นยอดแห่งกาม
ทั้งหลาย”
บางพระองค์ตรัสอย่างนี้ว่า “เสียงเป็นยอดแห่งกามทั้งหลาย”
บางพระองค์ตรัสอย่างนี้ว่า “กลิ่นเป็นยอดแห่งกามทั้งหลาย”
บางพระองค์ตรัสอย่างนี้ว่า “รสเป็นยอดแห่งกามทั้งหลาย”
บางพระองค์ตรัสอย่างนี้ว่า “โผฏฐัพพะเป็นยอดแห่งกามทั้งหลาย”
ในขณะนั้น พระราชาเหล่านั้นไม่อาจจะตกลงกันได้ พระเจ้าปเสนทิโกศล
จึงได้ตรัสกับพระราชาเหล่านั้นดังนี้ว่า “มาเถิดท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย พวกเราจัก
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ทูลถามความข้อนี้กับพระองค์ พระองค์ทรงพยากรณ์
แก่พวกเราอย่างใด พวกเราก็พึงจำคำพยากรณ์นั้นไว้อย่างนั้น” พระราชาเหล่านั้น
ทรงรับพระดำรัสของพระเจ้าปเสนทิโกศลแล้ว
[๓๖๐] ต่อมา พระราชา ๕ พระองค์นั้น มีพระเจ้าปเสนทิโกศลทรงเป็นประมุข
เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร
พระเจ้าปเสนทิโกศลได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายในที่นี้ เป็นราชาทั้ง ๕ องค์ เอิบอิ่ม
เพียบพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ได้รับบำเรออยู่ มีคำถามเกิดขึ้นในระหว่างการสนทนา
กันว่า ‘อะไรเป็นยอดแห่งกามทั้งหลาย’
บางพระองค์ตรัสอย่างนี้ว่า ‘รูปเป็นยอดแห่งกามทั้งหลาย’
บางพระองค์ตรัสอย่างนี้ว่า ‘เสียงเป็นยอดแห่งกามทั้งหลาย’
บางพระองค์ตรัสอย่างนี้ว่า ‘กลิ่นเป็นยอดแห่งกามทั้งหลาย’
บางพระองค์ตรัสอย่างนี้ว่า ‘รสเป็นยอดแห่งกามทั้งหลาย’
บางพระองค์ตรัสอย่างนี้ว่า ‘โผฏฐัพพะเป็นยอดแห่งกามทั้งหลาย’ ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ อะไรเป็นยอดแห่งกามทั้งหลาย”
[๓๖๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มหาบพิตร ที่สุดแห่งความพอใจนั่นแหละ อาตมภาพ
กล่าวว่า เป็นยอดในกามคุณ ๕ รูปเหล่าใดเป็นที่พอใจของคนบางคน รูปเหล่านั้น
ไม่เป็นที่พอใจของคนบางคน เขาพอใจ มีความดำริเต็มรอบด้วยรูปเหล่าใด รูปอื่น
จากรูปเหล่านั้นจะยิ่งกว่า หรือประณีตกว่า เขาก็ไม่ปรารถนา รูปเหล่านั้นเป็นรูปที่ดี
ยิ่งสำหรับเขา รูปเหล่านั้นเป็นรูปยอดเยี่ยมสำหรับเขา
มหาบพิตร เสียงเหล่าใด…
มหาบพิตร กลิ่นเหล่าใด…
มหาบพิตร รสเหล่าใด…
มหาบพิตร โผฏฐัพพะเหล่าใดเป็นที่พอใจของคนบางคน โผฏฐัพพะเหล่านั้น
ไม่เป็นที่พอใจของคนบางคน เขาพอใจ มีความดำริเต็มรอบด้วยโผฏฐัพพะเหล่าใด
โผฏฐัพพะอื่นจากโผฏฐัพพะเหล่านั้นจะยิ่งกว่า หรือประณีตกว่า เขาก็ไม่ปรารถนา
โผฏฐัพพะเหล่านั้นเป็นโผฏฐัพพะที่ดียิ่งสำหรับเขา โผฏฐัพพะเหล่านั้นเป็นโผฏฐัพพะ
ยอดเยี่ยมสำหรับเขา”
[๓๖๒] สมัยนั้น จันทนังคลิกอุบาสกนั่งอยู่ในบริษัทนั้น ลำดับนั้น จันทนังคลิกอุบาสก
ลุกจากที่นั่ง ห่มผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมมือไปทางที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เหตุอย่างหนึ่งปรากฏ
แก่ข้าพระองค์ ข้าแต่พระสุคต เหตุอย่างหนึ่งปรากฏแก่ข้าพระองค์”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “จันทนังคลิกะ เหตุนั้นจงปรากฏแก่ท่านเถิด”
ลำดับนั้น จันทนังคลิกอุบาสกได้สรรเสริญพระผู้มีพระภาคเฉพาะพระพักตร์
ด้วยคาถาที่สมควรแก่เหตุนั้นว่า
ดอกปทุมชื่อโกกนุท บานในเวลาเช้า
ยังไม่สิ้นกลิ่น ยังหอมอยู่ ฉันใด
ท่านจงดูพระอังคีรส ผู้ไพโรจน์อยู่
ดุจดวงอาทิตย์รุ่งโรจน์อยู่ในอากาศ ฉันนั้น
[๓๖๓] ลำดับนั้น พระราชา ๕ พระองค์นั้น ทรงให้จันทนังคลิกอุบาสกห่มผ้า ๕ ผืน
ทันใดนั้น จันทนังคลิกอุบาสกก็ถวายให้พระผู้มีพระภาคทรงห่มผ้า ๕ ผืนเหล่านั้น
ปัญจราชสูตรที่ ๒ จบ

บาลี



ปฺจราชสุตฺต
[๓๕๙] สาวตฺถิย วิหรติ … เตน โข ปน สมเยน ปฺจนฺน
ราชูน ปเสนทิปมุขาน ปฺจหิ กามคุเณหิ สมปฺปิตาน สมงฺคิภูตาน
ปริจารยมานาน อยมนฺตรากถา อุทปาทิ กึ นุ โข กามาน
อคฺคนฺติ ฯ ตเตฺรกจฺเจ เอวมาหสุ รูปา กามาน อคฺคนฺติ ฯ
เอกจฺเจ เอวมาหสุ สทฺทา กามาน อคฺคนฺติ ฯ เอกจฺเจ เอวมาหสุ
คนฺธา กามาน อคฺคนฺติ ฯ เอกจฺเจ เอวมาหสุ รสา กามาน
อคฺคนฺติ ฯ เอกจฺเจ เอวมาหสุ โผฏฺพฺพา กามาน อคฺคนฺติ ฯ
ยโต โข เต ราชาโน นาสกฺขึสุ อฺมฺ สฺาเปตุ อถ
โข ราชา ปเสนทิโกสโล เต ราชาโน เอตทโวจ อายาม
มาริสา เยน ภควา เตนุปสงฺกมิสฺสาม อุปสงฺกมิตฺวา ภควนฺต
เอตมตฺถ ปฏิปุจฺฉิสฺสาม ยถา โน ภควา พฺยากริสฺสติ ตถา น
ธาเรยฺยามาติ ฯ เอว มาริสาติ โข เต ราชาโน รฺโ
ปเสนทิโกสลสฺส ปจฺจสฺโสสุ ฯ
[๓๖๐] อถ โข เต ปฺจ ราชาโน ปเสนทิปมุขา เยน
ภควา เตนุปสงฺกมึสุ อุปสงฺกมิตฺวา ภควนฺต อภิวาเทตฺวา เอกมนฺต
นิสีทึสุ ฯ เอกมนฺต นิสินฺโน โข ราชา ปเสนทิโกสโล ภควนฺต
เอตทโวจ อิธ ภนฺเต อมฺหาก ปฺจนฺน ราชูน ปฺจหิ
กามคุเณหิ สมปฺปิตาน สมงฺคิภูตาน ปริจารยมานาน อยมนฺตรากถา
อุทปาทิ กึ นุ โข กามาน อคฺคนฺติ เอกจฺเจ เอวมาหสุ
รูปา กามาน อคฺคนฺติ เอกจฺเจ เอวมาหสุ สทฺทา กามาน
อคฺคนฺติ เอกจฺเจ เอวมาหสุ คนฺธา กามาน อคฺคนฺติ เอกจฺเจ
เอวมาหสุ รสา กามาน อคฺคนฺติ เอกจฺเจ เอวมาหสุ โผฏฺพฺพา
กามาน อคฺคนฺติ กึ นุ โข ภนฺเต กามาน อคฺคนฺติ ฯ
[๓๖๑] มนาปปริยนฺต ขฺวาห มหาราช ปฺจสุ กามคุเณสุ
อคฺคนฺติ วทามิ เย จ มหาราช รูปา เอกจฺจสฺส มนาปา
โหนฺติ เต จ รูปา เอกจฺจสฺส อมนาปา โหนฺติ เยหิ จ
โส รูเปหิ อตฺตมโน โหติ ปริปุณฺณสงฺกปฺโป โส เตหิ
รูเปหิ อฺ รูป อุตฺตริตร วา ปณีตตร วา น ปตฺเถติ
เต ตสฺส รูปา ปรมา โหนฺติ เต ตสฺส รูปา อนุตฺตรา
โหนฺติ ฯ เย จ มหาราช สทฺทา … เย จ มหาราช คนฺธา …
เย จ มหาราช รสา … เย จ มหาราช โผฏฺพฺพา เอกจฺจสฺส
มนาปา โหนฺติ เต จ โผฏฺพฺพา เอกจฺจสฺส อมนาปา โหนฺติ
เยหิ จ โส โผฏฺพฺเพหิ อตฺตมโน โหติ ปริปุณฺณสงฺกปฺโป
โส เตหิ โผฏฺพฺเพหิ อฺ โผฏฺพฺพ อุตฺตริตร วา ปณีตตร
วา น ปตฺเถติ เต ตสฺส โผฏฺพฺพา ปรมา โหนฺติ เต
ตสฺส โผฏฺพฺพา อนุตฺตรา โหนฺตีติ ฯ
[๓๖๒] เตน โข ปน สมเยน จนฺทนงฺคลิโก อุปาสโก ตสฺส
ปริสาย นิสินฺโน โหติ ฯ อถ โข จนฺทนงฺคลิโก อุปาสโก
อุฏฺายาสนา เอกส อุตฺตราสงฺค กริตฺวา เยน ภควา เตนฺชลึ
ปณาเมตฺวา ภควนฺต เอตทโวจ ปฏิภาติ ม ภควา ปฏิภาติ ม
สุคตาติ ฯ ปฏิภาตุ ต จนฺทนงฺคลิกาติ ภควา อโวจ ฯ อถ โข
จนฺทนงฺคลิโก อุปาสโก ภควนฺต สมฺมุขา ตทนุรูปาย คาถาย
อภิตฺถวิ
ปทุม ยถา โกกนท สุคนฺธ
ปาโต สิยา ผุลฺลมวีตคนฺธ
องฺคีรส ปสฺส วิโรจมาน
ตปนฺตมาทิจฺจมิวนฺตลิกฺเขติ ฯ
[๓๖๓] อถ โข เต ปฺจ ราชาโน จนฺทนงฺคลิก อุปาสก
ปฺจหิ อุตฺตราสงฺเคหิ อจฺฉาเทสุ ฯ อถ โข จนฺทนงฺคลิโก อุปาสโก
เตหิ ปฺจหิ อุตฺตราสงฺเคหิ ภควนฺต อจฺฉาเทสีติ ฯ

 

อรรถกถา


อรรถกถาปัญจราชสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในปัญจราชสูตรที่ ๒ ต่อไป :-
บทว่า รูปา ได้แก่ อารมณ์คือรูป ต่างโดยรูปสีเขียวสีเหลืองเป็นต้น.
บทว่า กามานํ อคฺคํ ความว่า ผู้หนักในรูปก็กล่าวรูปนั้นว่า สูงสุด
ประเสริฐสุดแห่งกามทั้งหลาย แม้ในอารมณ์ที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า
ยโต แปลว่า ในกาลใด. บทว่า มนาปปริยนฺตํ ได้แก่ ทำอารมณ์ที่น่า
พอใจให้เสร็จชื่อว่าเป็นยอดอารมณ์ที่น่าพอใจ. ในคำว่า มนาปปริยนฺตํ นั้น
อารมณ์ที่น่าพอใจมี ๒ คือ อารมณ์ที่น่าพอใจของบุคคล อารมณ์ที่น่าพอใจ
โดยสมมติ สิ่งใด เป็นของที่น่าปรารถนา น่าใคร่ของบุคคลคนหนึ่ง สิ่งนั้น
นั่นแหละ ไม่น่าปรารถนาไม่น่าใคร่ของบุคคลอื่น ชื่อว่าสิ่งที่น่าพอใจของบุคคล.
เป็นความจริง ไส้เดือน ย่อมเป็นของที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ของ
ชาวปัจจันตประเทศ แต่ชาวมัชฌิมประเทศเกลียดนัก. ส่วนเนื้อนกยูงเป็นต้น
เป็นที่น่าปรารถนาของชาวมัชฌิมประเทศเหล่านั้น แต่สำหรับชาวปัจจันต-
ประเทศนอกนี้เกลียดนัก. นี้คือสิ่งที่น่าพอใจของบุคคล. สิ่งที่น่าพอใจโดยสมมติ
เป็นอย่างไร.
ชื่อว่า อิฏฐารมณ์ (น่าปรารถนา) และอนิฏฐารมณ์ (ที่ไม่น่า
ปรารถนา) ที่แยกกันในโลกไม่มีเลย แต่ก็พึงจำแนกแสดง. แต่เมื่อจะ
จำแนกก็จำต้องยกพระเจ้ามหาสมมติปฐมกษัตริย์ พระเจ้ามหาสุทัสสนะ
และพระเจ้าธรรมาโศกราช เป็นต้น จำแนกแยกแยะ. จริงอยู่ อารมณ์
แม้สำเร็จจากทิพย์ ก็ปรากฏว่า ไม่สมพระทัย ของกษัตริย์เหล่านั้น
แต่ไม่พึงจำแนก โดยยกเอาข้าวน้ำที่หายาก สำหรับคนเข็ญใจอย่างยิ่ง. จริงอยู่
คนเข็ญใจอย่างยิ่งเหล่านั้น เมล็ดข้าวสวยปลายเกวียนก็ดี รสเนื้อเน่าก็ดี ก็มี
รสอร่อยเหลือเกิน เสมือนอมฤตรส. แต่พึงจำแนก โดยยกคนปานกลาง
เช่นหัวหน้าหมู่ มหาอำมาตย์ เศรษฐี กุฎุมพีและพาณิชเป็นต้น ซึ่งบางคราว
ก็ได้สิ่งที่น่าปรารถนา บางคราวก็ได้สิ่งที่ไม่น่าปรารถนา ก็แต่ว่า สิ่งที่น่า
ปรารถนาและสิ่งที่ไม่น่าปรารถนานั้น ก็ไม่อาจกำหนดชวนจิตในอารมณ์ได้.
จริงอยู่ ชวนจิต ย่อมยินดีในสิ่งที่น่าปรารถนาก็มี ในสิ่งที่ไม่น่าปรารถนาก็มี
ยินร้ายในสิ่งที่น่าปรารถนาก็มี ในสิ่งที่ไม่น่าปรารถนาก็มี. ด้วยว่า วิบากจิต
ย่อมกำหนดอารมณ์ที่น่าปรารถนาและไม่น่าปรารถนา โดยอารมณ์อันเดียว
กัน. จริงอยู่ พวกมิจฉาทิฏฐิเห็นพระพุทธเจ้าก็ดี พระสงฆ์ก็ดี อารมณ์
อันโอฬารมีมหาเจดีย์เป็นต้นก็ดี ย่อมปิดตา ประสบความเสียใจ ได้ยินเสียง
แสดงธรรม ก็ปิดหูทั้งสอง แต่จักขุวิญญาณและโสตวิญญาณ ก็เป็นกุศลวิบาก
ของพวกเขา. สุกรกินคูถเป็นต้น ได้กลิ่นคูถก็เกิดความดีใจว่า เราจักกินคูถ
ดังนี้ ก็จริงอยู่ ถึงกระนั้นจักขุวิญญาณของมันในการเห็นคูถ ฆานวิญญาณ
ในการดมกลิ่นคูถนั้น และชิวหาวิญญาณในการลิ้มรส ย่อมเป็นอกุศลวิบาก
โดยแท้. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงหมายเอาความเป็นสิ่งที่น่าพอใจของบุคคล
จึงตรัสว่า เต จ มหาราช รูปา เป็นต้น.
คำว่า จนฺทนงฺคลิโย* นี้ เป็นชื่อของอุบาสกนั้น. บทว่า ปฏิภาติ มํ
ภควา ความว่า เหตุอย่างหนึ่ง ย่อมปรากฏแจ่มแจ้งแก่ข้าพระองค์. จันทนัง-
คลิกอุบาสกนั้น เห็นพระราชาทั้ง ๕ พระองค์ทรงสวมกุณฑลมณี แม้เสด็จมา
ด้วยพระอิสริยยศและสมบัติอย่างเยี่ยม ด้วยราชานุภาพอย่างใหญ่ โดยประทับ
นั่งรวมกัน ณ พื้นที่สำหรับดื่ม ซึ่งจัดไว้ ต่างก็สิ้นสง่าสิ้นความงาม ตั้งแต่
ประทับยืน ณ สำนักของพระทศพลเหมือนดวงประทีปเวลากลางวัน เหมือน
ถ่านไฟที่เอาน้ำรก และเหมือนหญิงห้อย เวลาพระอาทิตย์ จึงเกิดปฏิภาณ
ขึ้นว่า ท่านผู้เจริญ ธรรมดาว่าพระพุทธะทั้งหลายใหญ่หนอ เพราะฉะนั้น
เขาจึงกล่าวอย่างนี้.
คำว่า โกกนทํ นี้ เป็นไวพจน์ขอปทุมนั่นเอง. บทว่า ปาโต
ได้แก่ ต่อกาลเทียว. บทว่า สิยา แปลว่า พึงมี. บทว่า อวีตคนฺธํ ได้แก่
ไม่ปราศจากกลิ่น. บทว่า องฺคีรสํ ได้แก่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า. จริงอยู่
พระรัศมีทั้งหลาย ย่อมซ่านออกจากพระวรกายของพระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะ
ฉะนั้น จึงเรียกว่า องฺคีรโส พระอังคีรส. ความย่อในคำนี้ มีดังนี้ว่า
ดอกปทุม กล่าวคือดอกโกกนท บานแต่เช้าตรู่ ยังไม่ปราศจากกลิ่น หอมระรื่น
ฉันใด ท่านจงดูพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า อังคีรส ทรงรุ่งโรจน์ดุจดวง
อาทิตย์ ส่องแสงจ้า กลางนภากาศ ฉันนั้นเหมือนกัน. บทว่า ภควนฺตํ
อจฺฉาเทสิ ความว่า ได้ถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. แต่ว่าโดยโวหารโลก
ในข้อนี้ คำก็มีเช่นนี้. ได้ยินว่า อุบาสกนั้นคิดว่า พระราชาเหล่านี้ ทรง
เลื่อมใสในพระคุณทั้งหลายของพระตถาคต พระราชทานผ้าห่มแก่เราถึง ๕ ผืน
จำเราจักถวายผ้าห่มเหล่านั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าแต่พระองค์เดียว ดังนี้
จึงได้ถวาย.
จบอรรถกถาปัญจราชสูตรที่ ๒

สนทนาธรรม

comments

Got anything to say? Go ahead and leave a comment!