15-118 การประทำที่เป็นประโยชน์



พระไตรปิฎก


๗. อัตถกรณสูตร
ว่าด้วยการกระทำสิ่งที่เป็นประโยชน์
[๓๔๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระเจ้าปเสนทิโกศลประทับนั่ง ณ ที่สมควรแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้นั่งพิจารณาคดี เห็นขัตติยมหาศาลบ้าง
พราหมณมหาศาลบ้าง คหบดีมหาศาลบ้าง ซึ่งเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก
มีทองและเงินมากมาย มีทรัพย์เครื่องปลื้มใจมากมาย มีทรัพย์และธัญชาติมากมาย
กล่าวเท็จทั้งที่รู้อยู่ เพราะกามเป็นเหตุ เพราะกามเป็นเค้ามูล เพราะกามเป็นตัวการณ์
หม่อมฉันได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘บัดนี้ ไม่สมควรที่เราจะพิจารณาคดี (เพราะ)บัดนี้
ราชโอรสนามว่าวิฑูฑภะผู้มีหน้าชื่นบาน จักมาพิจารณาคดี”
[๓๔๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มหาบพิตร ข้อนี้เป็นอย่างนั้น มหาบพิตร ข้อนี้
เป็นอย่างนั้น ขัตติยมหาศาล พราหมณมหาศาล คหบดีมหาศาล แม้บางพวก
เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีทองและเงินมากมาย มีทรัพย์เครื่องปลื้มใจ
มากมาย มีทรัพย์และธัญชาติมากมาย กล่าวเท็จทั้งที่รู้อยู่ เพราะกามเป็นเหตุ
เพราะกามเป็นเค้ามูล เพราะกามเป็นตัวการณ์ ข้อนั้นจักมีเพื่อสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์
เกื้อกูล เพื่อความทุกข์แก่พวกเขาตลอดกาลนาน”
[๓๔๕] พระผู้มีพระภาค ฯลฯ จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้กำหนัดกล้าในโภคะที่น่าใคร่
มักมาก หมกมุ่นในกาม ไม่รู้สึกตัวว่าละเมิด
เหมือนฝูงปลาไม่รู้สึกตัวว่ามีเครื่องดักที่เขาดักไว้ ฉะนั้น
ผลเผ็ดร้อนย่อมมีแก่สัตว์พวกนั้นในภายหลัง
เพราะกรรมนั้นมีวิบากเลวทราม
อัตถกรณสูตรที่ ๗ จบ

บาลี



อตฺถกรณสุตฺต
[๓๔๓] เอกมนฺต นิสินฺโน โข ราชา ปเสนทิโกสโล ภควนฺต
เอตทโวจ อิธาห ภนฺเต อตฺถกรเณ ๑ นิสินฺโน โข ๒ ปสฺสามิ
ขตฺติยมหาสาเลปิ ขตฺติยมหาสาเลปิ พฺราหฺมณมหาสาเลปิ คหปติมหาสาเลปิ
อฑฺเฒ มหทฺธเน มหาโภเค ปหูตชาตรูปรชเต ปหูตวิตฺตูปกรเณ ปหูตธนธฺเ
กามเหตุ กามนิทาน กามาธิกรณ สมฺปชานมุสา ภาสนฺเต ตสฺส มยฺห
ภนฺเต เอตทโหสิ อลทานิ เม อตฺถกรเณน ภทฺรมุโขทานิ
อตฺถกรเณน ปฺายิสฺสตีติ ฯ
[๓๔๔] เอวเมต มหาราช เอวเมต มหาราช ๓ เยปิ เต
มหาราช ขตฺติยมหาสาลา พฺราหฺมณมหาสาลา คหปติมหาสาลา
อฑฺฒา มหทฺธนา มหาโภคา ปหูตชาตรูปรชตา ปหูตวิตฺตูปกรณา
ปหูตธนธฺา กามเหตุ กามนิทาน กามาธิกรณ สมฺปชานมุสา
ภาสนฺติ เตส ต ภวิสฺสติ ทีฆรตฺต อหิตาย ทุกฺขายาติ ฯ
[๓๔๕] อิทมโวจ ฯเปฯ
สารตฺตา กามโภเคสุ คิทฺธา กาเมสุ มุจฺฉิตา
อติสาร น พุชฺฌนฺติ มจฺฉา ขิปฺปว โอฑฺฑิต
ปจฺฉาส กฏุก โหติ วิปาโก หิสฺส ปาปโกติ ฯ

******************

๑ ม. อฏฺฏกรเณ ฯ ๒ โป. ยุ. อย สทฺโท น ทิสฺสติ ฯ
๓ สี. ยุ. อิเม ปาา น ทิสฺสนฺติ ฯ

อรรถกถา


อรรถกถาอัตถกรณสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในอัตถกรณสูตรที่ ๗ ต่อไป :-
บทว่า กามเหตุ ได้แก่ มีกามเป็นมูล. บทว่า กามนิทานํ ได้แก่
มีกามเป็นปัจจัย. บทว่า กามาธิกรณํ ได้แก่มีกามเป็นเหตุ หมดทุกบทนั้น
เป็นคำไวพจน์ของกันและกัน. บทว่า ภทฺรมุโข แปลว่า หน้าดี. ได้ยินว่า
วันหนึ่ง พระราชาเสด็จออกประทับนั่ง ฟังการพิจารณาคดีความ. ในคดีนั้น
พวกอมาตย์รับสินบนเข้ามาก่อนนั่งวินิจฉัยคดี ก็ตัดสินให้ผู้มีใช้เจ้าของทรัพย์สิน
กลายเป็นเจ้าของทรัพย์สินไป. พระราชาทรงทราบเรื่องนั้นแล้ว ทรงพระดำริ
ว่า ต่อหน้าเราผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน อำมาตย์พวกนี้ยังกระทำถึงเพียงนี้
ลับหลังเรา เขาจักไม่ทำกระไรได้ บัดนี้ วิฑูฑภเสนาบดีจักปรากฏเป็นพระราชา
เอง ประโยชน์อะไรของเราจะนั่งที่เดียวกับพวกอมาตย์กินสินบน พูดมดเท็จ
เห็นปานนี้ เพราะฉะนั้น จึงตรัสอย่างนี้. บทว่า ขิปฺปํว โอฑฺฑิตํ ได้แก่
เหมือนปลาเข้าไปสู่เครื่องดัก อธิบายว่า ปลาทั้งหลายเข้าไปสู่เครื่องดักที่เขา
ดักไว้ยังไม่รู้สึกตัวฉันใด สัตว์ทั้งหลายล่วงเข้าไปสู่วัตถุกาม ด้วยกิเลสกาม
ก็ไม่รู้สึกตัว ฉันนั้น.
จบอรรถกถาอัตถกรณสูตรที่ ๗

สนทนาธรรม

comments

Got anything to say? Go ahead and leave a comment!