15-105 ฆฏิการเทพบุตร



พระไตรปิฎก


๔. ฆฏิการสูตร
ว่าด้วยฆฏิการเทพบุตร
[๒๘๗] ฆฏิการเทพบุตรยืนอยู่ ณ ที่สมควรแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ในสำนัก
ของพระผู้มีพระภาคว่า
ภิกษุ ๗ รูป ผู้บังเกิดในพรหมโลกชั้นอวิหา
เป็นผู้หลุดพ้น สิ้นราคะและโทสะแล้ว
ข้ามพ้นตัณหาที่ซ่านไปในโลกได้
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ภิกษุเหล่านั้น คือใครบ้าง
ได้ข้ามพ้นเปือกตม คือบ่วงความตาย
ที่ใคร ๆ ข้ามได้แสนยาก
ละทิ้งกายมนุษย์แล้วก้าวล่วงโยคะอันเป็นทิพย์ได้
ฆฏิการเทพบุตรกราบทูลว่า
ภิกษุ ๓ รูปเหล่านี้ คือ ท่านอุปกะ
ท่านผลคัณฑะ และท่านปุกกุสาติ
ภิกษุอีก ๔ รูป คือ ท่านภัททิยะ ท่านขัณฑเทวะ
ท่านพหุทันตี และท่านสิงคิยะ
ภิกษุเหล่านั้นละทิ้งกายมนุษย์แล้ว
ก้าวล่วงโยคะอันเป็นทิพย์ได้
[๒๘๘] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า
ท่านผู้ฉลาดมักกล่าวสรรเสริญภิกษุเหล่านั้น
ผู้ละบ่วงมารได้แล้ว
ภิกษุเหล่านั้นรู้ธรรมของใครเล่า
จึงตัดเครื่องผูกคือภพได้
[๒๘๙] ฆฏิการเทพบุตรทูลตอบว่า
ท่านเหล่านั้นรู้ธรรมของผู้ใด
จึงตัดเครื่องผูกคือภพได้
ผู้นั้นมิใช่ใครอื่นนอกจากพระผู้มีพระภาค
(และ) นอกจากคำสั่งสอนของพระองค์
ท่านเหล่านั้นรู้ธรรมเป็นที่ดับไม่เหลือแห่งนามรูปแล้ว
จึงตัดเครื่องผูกคือภพได้
[๒๙๐] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า
ท่านกล่าววาจาลึกซึ้ง
ที่รู้ได้ยาก เข้าใจให้ดีได้ยาก
ท่านรู้ธรรมของใคร จึงกล่าววาจาเช่นนี้ได้
[๒๙๑] ฆฏิการเทพบุตรทูลตอบว่า
เมื่อก่อนข้าพระองค์เป็นช่างหม้อ
ปั้นหม้ออยู่ในแคว้นเวภฬิงคะ เป็นผู้เลี้ยงดูมารดาและบิดา
เป็นอุบาสกของพระกัสสปพุทธเจ้า เว้นขาดจากเมถุนธรรม
ประพฤติพรหมจรรย์ ไม่มีอามิส
ได้เคยเป็นคนหมู่บ้านเดียวกันกับพระองค์
ทั้งเคยเป็นสหายของพระองค์ในกาลก่อน
ข้าพระองค์รู้จักภิกษุ ๗ รูปเหล่านี้
ผู้หลุดพ้นแล้ว สิ้นราคะและโทสะแล้ว
ข้ามพ้นตัณหาที่ซ่านไปในโลกได้
[๒๙๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
นายช่างหม้อ จริงอย่างที่ท่านพูดนั่นแหละ
เมื่อก่อนนั้นท่านเคยเป็นช่างหม้อ
ปั้นหม้ออยู่ในแคว้นเวภฬิงคะ เป็นผู้เลี้ยงดูมารดาและบิดา
เป็นอุบาสกของพระกัสสปพุทธเจ้า เว้นขาดจากเมถุนธรรม
ประพฤติพรหมจรรย์ ไม่มีอามิส
ได้เคยเป็นคนหมู่บ้านเดียวกันกับเรา
ทั้งเคยเป็นสหายของเราในกาลก่อน
พระสังคีติกาจารย์กล่าวว่า
สหายเก่าทั้งสอง ผู้เคยอบรมตนมาแล้ว
เหลือไว้แต่ร่างกายในชาติสุดท้าย
ได้มาพบกันด้วยอาการอย่างนี้ A
ฆฏิการสูตรที่ ๔ จบ
เชิงอรรถ
A คาถาในสูตรนี้ดูคาถาข้อ ๕๐ หน้า ๖๔-๖๖ ในเล่มนี้

บาลี



ฆฏิการสุตฺต
[๒๘๗] เอกมนฺต ิโต โข ฆฏิกาโร ๑ เทวปุตฺโต ภควโต สนฺติเก
อิม คาถ อภาสิ
อวิห อุปปนฺนาเส วิมุตฺตา สตฺต ภิกฺขโว
ราคโทสปริกฺขีณา ติณฺณา โลเก วิสตฺติกนฺติ ฯ
เย ๒ จ เต อตรุ สงฺค ๓ มจฺจุเธยฺย สุทุตฺตร
เต หิตฺวา มานุส เทห ทิพฺพโยคมุปจฺจคุนฺติ ฯ
อุปโก ผลคณฺโฑ จ ปุกฺกุสาติ จ เต ตโย
ภทฺทิโย ขณฺฑเทโว จ พาหุรคฺคิ จ สิงฺคิโย ๔
เต หิตฺวา มานุส เทห ทิพฺพโยคมุปจฺจคุนฺติ ฯ
[๒๘๘] กุสลี ภาสสี เตส มารปาสปฺปหายิน
กสฺส เต ธมฺมมฺาย อจฺฉิทุ ภวพนฺธนนฺติ ฯ
[๒๘๙] น อฺตฺร ภควตา นาฺตฺร ตว สาสนา
ยสฺส เต ธมฺมมฺาย อจฺฉิทุ ภวพนฺธน
ยตฺถ นามฺจ รูปฺจ อเสส อุปรุชฺฌติ
ต เต ธมฺมมิธฺาย อจฺฉิทุ ภวพนฺธนนฺติ ฯ
[๒๙๐] คมฺภีร ภาสสี วาจ ทุพฺพิชาน สุทุพฺพุธ
กสฺส ตฺว ธมฺมมฺาย วาจ ภาสสิ อีทิสนฺติ ฯ
[๒๙๑] กุมฺภกาโร ปุเร อาสึ เวภฬิงฺเค ๕ ฆฏีกโร
มาตาเปตฺติภโร อาสึ กสฺสปสฺส อุปาสโก
วิรโต เมถุนา ธมฺมา พฺรหฺมจารี นิรามิโส
อหุวา เต สคาเมยฺโย อหุวา เต ปุเร สขา
โสหเมเต ปชานามิ วิมุตฺเต สตฺต ภิกฺขโว
ราคโทสปริกฺขีเณ ติณฺเณ โลเก วิสตฺติกนฺติ ฯ
[๒๙๒] เอวเมต ตทา อาสิ ยถา ภาสสิ ภคฺคว
กุมฺภกาโร ปุเร อาสิ เวภฬิงฺเค ฆฏีกโร
มาตาเปตฺติภโร อาสิ กสฺสปสฺส อุปาสโก
วิรโต เมถุนา ธมฺมา พฺรหฺมจารี นิรามิโส
อหุวา เม สคาเมยฺโย อหุวา เม ปุเร สขาติ ฯ
เอวเมต ปุราณาน สหายานมหุ สงฺคโม
อุภินฺน ภาวิตตฺตาน สรีรนฺติมธารินนฺติ ฯ

******************

๑ ม. ยุ. ฆฏีกาโร ฯ ๒ ม. ยุ. เก ฯ ๓ ม. ยุ. ปงฺก ฯ ๔ ม. สงฺคิโย ฯ
๕ โป. ม. เวกฬิงฺเค ฯ ยุ. เวหฬิงฺเค ฯ

อรรถกถา


ฆฏิการสูตรที่ ๔ มีเนื้อความกล่าวมาแล้วทั้งนั้น.

สนทนาธรรม

comments

Got anything to say? Go ahead and leave a comment!