15-050 ฆฏิการเทพบุตร



พระไตรปิฎก


๑๐. ฆฏิการสูตร
ว่าด้วยฆฏิการเทพบุตร
[๑๕๒] ฆฏิการเทพบุตรกราบทูลว่า
ภิกษุ ๗ รูป ผู้บังเกิดในพรหมโลกชั้นอวิหา
เป็นผู้หลุดพ้น สิ้นราคะและโทสะแล้ว
ข้ามพ้นตัณหาที่ซ่านไปในโลกได้
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า
ภิกษุเหล่านั้นคือใครบ้าง
ได้ข้ามพ้นเปือกตม คือบ่วงความตาย
ที่ใคร ๆ ข้ามได้แสนยาก
ละทิ้งกายมนุษย์ A แล้วก้าวล่วงโยคะอันเป็นทิพย์ B ได้
ฆฏิการเทพบุตรทูลตอบว่า
ภิกษุ ๓ รูปเหล่านี้ คือ ท่านอุปกะ
ท่านผลคัณฑะ และท่านปุกกุสาติ
ภิกษุอีก ๔ รูป คือ ท่านภัททิยะ ท่านขัณฑเทวะ
ท่านพหุทันตี และท่านสิงคิยะ
ภิกษุเหล่านั้นละทิ้งกายมนุษย์แล้ว
ก้าวล่วงโยคะอันเป็นทิพย์ได้
[๑๕๓] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า
ท่านผู้ฉลาดมักกล่าวสรรเสริญภิกษุเหล่านั้น
ผู้ละบ่วงแห่งมารได้แล้ว
ภิกษุเหล่านั้นรู้ธรรมของใครเล่า
จึงตัดเครื่องผูกคือภพได้
{๑๕๔} ฆฏิการเทพบุตรทูลตอบว่า
ท่านเหล่านั้นรู้ธรรมของผู้ใด
จึงตัดเครื่องผูกคือภพได้
ผู้นั้นมิใช่ใครอื่นนอกจากพระผู้มีพระภาค
(และ) นอกจากคำสั่งสอนของพระองค์
ท่านเหล่านั้นรู้ธรรมเป็นที่ดับไม่เหลือ
แห่งนามรูปแล้ว จึงตัดเครื่องผูกคือภพได้
[๑๕๕] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า
ท่านกล่าววาจาลึกซึ้ง
ที่รู้ได้ยาก เข้าใจให้ดีได้ยาก
ท่านรู้ธรรมของใคร จึงกล่าววาจาเช่นนี้ได้
[๑๕๖] ฆฏิการเทพบุตรทูลตอบว่า
เมื่อก่อนข้าพระองค์เป็นช่างหม้อ
ปั้นหม้ออยู่ในแคว้นเวภฬิงคะ เป็นผู้เลี้ยงดูมารดาและบิดา
เป็นอุบาสกของพระกัสสปพุทธเจ้า เว้นขาดจากเมถุนธรรม
ประพฤติพรหมจรรย์ ไม่มีอามิส
ได้เคยเป็นคนหมู่บ้านเดียวกันกับพระองค์
ทั้งเคยเป็นสหายของพระองค์ในกาลก่อน
ข้าพระองค์รู้จักภิกษุ ๗ รูปเหล่านี้
ผู้หลุดพ้นแล้ว สิ้นราคะและโทสะแล้ว
ข้ามพ้นตัณหาที่ซ่านไปในโลกได้
[๑๕๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
นายช่างหม้อ จริงอย่างที่ท่านพูดนั่นแหละ
เมื่อก่อนนั้นท่านเคยเป็นช่างหม้อ
ปั้นหม้ออยู่ในแคว้นเวภฬิงคะ เป็นผู้เลี้ยงดูมารดาและบิดา
เป็นอุบาสกของพระกัสสปพุทธเจ้า เว้นขาดจากเมถุนธรรม
ประพฤติพรหมจรรย์ ไม่มีอามิส
ได้เคยเป็นคนหมู่บ้านเดียวกันกับเรา
ทั้งเคยเป็นสหายของเราในกาลก่อน
พระสังคีติกาจารย์กล่าวว่า
สหายเก่าทั้งสอง ผู้เคยอบรมตนมาแล้ว
เหลือไว้แต่ร่างกายในชาติสุดท้าย
ได้มาพบกันด้วยอาการอย่างนี้ C
ฆฏิการสูตรที่ ๑๐ จบ
เชิงอรรถ
A กายมนุษย์ หมายถึงสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการ (สํ.ส.อ. ๑/๕๐/๘๘)
B โยคะอันเป็นทิพย์ ในที่นี้หมายถึงสังโยชน์เบื้องสูง ๕ ประการ (สํ.ส.อ. ๑/๕๐/๘๘)
C ดูเทียบคาถาข้อ ๑๐๕ หน้า ๑๑๔-๑๑๖ ในเล่มนี้

บาลี



ฆฏิกรสุตฺต
[๑๕๒] อวิห อุปปนฺนาเส วิมุตฺตา สตฺต ภิกฺขโว
ราคโทสปริกฺขีณา ติณฺณา โลเก วิสตฺติกนฺติ ฯ
เย จ เต ๑ อตรุ สงฺค ๒ มจฺจุเธยฺย สุทุตฺตร
เต หิตฺวา มานุส เทห ทิพฺพโยค อุปจฺจคุนฺติ ฯ
อุปโก ผลคณฺโฑ ๓ จ ปุกฺกุสาติ จ เต ตโย
ภทฺทิโย ขณฺฑเทโว ๔ จ พหุทนฺตี ๕ จ สิงฺคิโย ๖
เต หิตฺวา มานุส เทห ทิพฺพโยค อุปจฺจคุนฺติ ฯ
[๑๕๓] กุสลี ๗ ภาสสี เตส มารปาสปฺปหายิน
กสฺส เต ธมฺมมฺาย อจฺฉิทุ ภวพนฺธนนฺติ ฯ
[๑๕๔] น อฺตฺร ภควตา นาฺตฺร ตว สาสนา
ยสฺส เต ธมฺมมฺาย อจฺฉิทุ ภวพนฺธน
ยตฺถ นามฺจ รูปฺจ อเสส อุปรุชฺฌติ
ต เต ธมฺมมิธฺาย อจฺฉิทุ ภวพนฺธนนฺติ ฯ
[๑๕๕] คมฺภีร ภาสสี วาจ ทุพฺพิชาน สุทุพฺพุธ
กสฺส ตฺว ธมฺมมฺาย วาจ ภาสสิ อีทิสนฺติ ฯ
[๑๕๖] กุมฺภกาโร ปุเร อาสึ เวภฬิงฺเค ๘ ฆฏีกโร
มาตาเปตฺติภโร อาสึ กสฺสปสฺส อุปาสโก
วิรโต เมถุนา ธมฺมา พฺรหฺมจารี นิรามิโส
อหุวา เต สคาเมยฺโย อหุวา เต ปุเร สขา
โสหเมเต ปชานามิ วิมุตฺเต สตฺต ภิกฺขโว
ราคโทสปริกฺขีเณ ติณฺเณ โลเก วิสตฺติกนฺติ ฯ
[๑๕๗] เอวเมต ตทา อาสิ ยถา ภาสสิ ภคฺคว
กุมฺภกาโร ปุเร อาสิ เวภฬิงฺเค ฆฏีกโร
มาตาเปตฺติภโร อาสิ กสฺสปสฺส อุปาสโก
วิรโต เมถุนา ธมฺมา พฺรหฺมจารี นิรามิโส
อหุวา เม สคาเมยฺโย อหุวา เม ปุเร สขาติ ฯ
เอวเมต ปุราณาน สหายานมหุ สงฺคโม
อุภินฺน ภาวิตตฺตาน สรีรนฺติมธารินนฺติ ฯ

******************

๑ ยุ. เก จ เต ฯ ๒ ม. ยุ. ปงฺก ฯ ๓ ม. ปลคณฺโฑ ฯ ๔ สี. ภทฺทิโก
ภทฺทเทโว ฯ ๕ ม. ยุ. ภาหุรคฺคิ ฯ ๖ สี. ยุ. ปิงฺคิโย ฯ ๗ กุสลนฺติปิ ปาโ ฯ
๘ เวหฬิงฺเคติ วา ปาโ ฯ ม. เวกฬิงฺเค ฯ

อรรถกถา


อรรถกถาฆฏิกรสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในฆฏิกรสูตรที่ ๑๐ ต่อไป :-
บทว่า ผู้เข้าถึง ได้แก่ เข้าถึงแล้วด้วยอำนาจแห่งความเกิดขึ้น.
บทว่า เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว ได้แก่ เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว ด้วยความหลุดพ้น
แห่งพระอรหัตผลในระหว่างแห่งเวลาใกล้ชิดกับความอุบัติขึ้นในอวิหาพรหม
โลก.
ในข้อนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ อย่างนี้ว่า มานุสํ
เทหํ แปลว่ากายของมนุษย์. ตรัสสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ อย่าง ด้วย
บทว่า ทิพฺพโยคํ แปลว่า ทิพยโยคะ นี้. บทว่า อุปจฺจคุํ แปลว่า ก้าว
ล่วงแล้ว. บทว่า ท่านอุปกะ เป็นต้น เป็นชื่อของพระเถระเหล่านั้น. บทว่า
ความฉลาด ในคำว่า ท่านเป็นผู้มีความฉลาด กล่าวสรรเสริญภิกษุเหล่า
นั้น นี้มีอยู่แก่บุคคลนี้ใด เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้น จึงชื่อว่า มีความฉลาด
อธิบายว่า ท่านเป็นผู้มีความฉลาด มีวาจาไม่มีโทษกล่าวชมเชยสรรเสริญ
พระเถระเหล่านั้น คือว่า ตรัสว่า ดูก่อนเทวบุตร ท่านเป็นผู้ฉลาด. บทว่า
ตํ เต ธมฺมํ อิธญฺาย ความว่า พระเถระเหล่านั้นรู้ธรรมนั้นในพระศาสนา
ของพระองค์นี้. บทว่า คมฺภีรํ ได้แก่ มีอรรถอันลึก. บทว่า ผู้ประพฤติ
พรหมจรรย์ไม่เกี่ยวด้วยอามิส ความว่า ชื่อว่า ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ไม่
เกี่ยวด้วยอามิส คือ พระอนาคามี. อธิบายว่า ได้สำเร็จเป็นพระอนาคามีแล้ว.
บทว่า อหุวา แปลว่า ได้เคยเป็นแล้ว. บทว่า สคาเมยฺโย แปลว่า ได้เคย
เป็นคนร่วมบ้านกับพระองค์. ปริโยสานคาถา พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายกล่าว.
จบอรรถกถาฆฏิกรสูตรที่ ๑๐

สนทนาธรรม

comments

Got anything to say? Go ahead and leave a comment!