15-039 ธิดาของท้าวปัชชุนนะ สูตรที่ 1



พระไตรปิฎก


๙. ปฐมปัชชุนนธีตุสูตร
ว่าด้วยธิดาของท้าวปัชชุนนะ สูตรที่ ๑
[๑๓๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขตกรุง
เวสาลี ครั้นเมื่อราตรีผ่านไป ธิดาของท้าวปัชชุนนะ ชื่อโกกนทา มีวรรณะงดงาม
ยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างทั่วป่ามหาวัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร
[๑๓๒] ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
หม่อมฉัน ชื่อโกกนทา เป็นธิดาของท้าวปัชชุนนะ
ขอถวายอภิวาทพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เลิศกว่าสัตว์
ผู้เสด็จอยู่ในป่า ใกล้กรุงเวสาลี
หม่อมฉันได้ฟังสุนทรพจน์ในกาลก่อนว่า
ธรรม พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้มีพระจักษุตรัสรู้แล้วโดยลำดับ
บัดนี้เมื่อพระสุคตผู้เป็นมุนี ทรงแสดง(ธรรม)อยู่
หม่อมฉันจึงรู้ชัดชนเหล่าใดมีปัญญาทราม
เที่ยวติเตียนธรรมอันประเสริฐ
ชนเหล่านั้นย่อมบังเกิดในนรกชื่อโรรุวะอันทารุณ
เสวยทุกข์ตลอดกาลนาน
ชนเหล่าใดมีความอดทน
และมีความสงบ เข้าถึงธรรมอันประเสริฐ
ชนเหล่านั้นละร่างกายอันเป็นของมนุษย์แล้ว
จักบังเกิดเป็นเทวดาโดยสมบูรณ์
ปฐมปัชชุนนธีตุสูตรที่ ๙ จบ

บาลี



ปมปชฺชุนฺนธีตุสุตฺต
[๑๓๑] เอวมฺเม สุต เอก สมย ภควา เวสาลิย วิหรติ
มหาวเน กูฏาคารสาลาย ฯ อถ โข โกกนทา ปชฺชุนฺนสฺส ธีตา
อภิกฺกนฺตาย รตฺติยา อภิกฺกนฺตวณฺณา เกวลกปฺป มหาวน
โอภาเสตฺวา เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ อุปสงฺกมิตฺวา ภควนฺต
อภิวาเทตฺวา เอกมนฺต อฏฺาสิ ฯ
[๑๓๒] เอกมนฺต ิตา โข ๑ โกกนทา ปชฺชุนฺนสฺส ธีตา ภควโต
สนฺติเก อิมา คาถาโย อภาสิ
เวสาลิวเน วิหรนฺต อคฺค สตฺตสฺส สมฺพุทฺธ
โกกนทาหมสฺมิ อภิวนฺเท โกกนทา ปชฺชุนฺนสฺส ธีตา
สุตเมว ปุเร ๒ อาสิ ธมฺโม จกฺขุมตานุพุทฺโธ
สาหทานิ สกฺขิ ชานามิ มุนิโน เทสยโต สุคตสฺส
เยเกจิ อริย ธมฺม วิครหนฺตา ๓ จรนฺติ ทุมฺเมธา
อุเปนฺติ โรรุว โฆร จิรรตฺต ทุกฺขมนุภวนฺติ
เย จ โข อริเย ธมฺเม ขนฺติยา อุปสเมน อุเปตา
ปหาย มานุส เทห เทวกาย ปริปูเรสฺสนฺตีติ ฯ

******************

#๑ ยุ. สา เทวตา ฯ ๒ สี. สุมวเม ปุเร ฯ ยุ. สุตเมว เม ปุเร ฯ ๓ สี.
#วิหรนฺตา ฯ

อรรถกถา


อรรถกถาปัชชุนนธีตุสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในปฐมปัชชุนนธีตุสูตรที่ ๙ ต่อไป :-
บทว่า ปชฺชุนฺนสฺส ธีตา แปลว่า ธิดาของท้าวปัชชุนนะ อธิบายว่า
ธิดาของท้าวจาตุมหาราชิกาผู้เป็นเทวราชของวัสสวลาหก ชื่อว่า ท้าวปัชชุนนะ.
บทว่า อภิวนฺเท แปลว่า ย่อมไหว้ อธิบายว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า
หม่อมฉันย่อมไหว้พระยุคลบาทของพระองค์. บทว่า จกฺขุมตา แปลว่า
ผู้มีจักษุ อธิบายว่า เทพธิดากล่าวว่า สุนทรพจน์ว่า ธรรมอันพระตถาคต
ผู้มีจักษุด้วยจักษุ* ๕ ตามตรัสรู้แล้ว หม่อมฉันได้ยินแล้วในสำนักแห่งชน
เหล่าอื่นอย่างเดียวเท่านั้น. บทว่า สาหํทานิ ตัดบทเป็น สา อหํ อิทานิ
แปลว่า หม่อมฉันนั้น…ในกาลบัดนี้. บทว่า สกฺขิ ชานามิ แปลว่า
ย่อมรู้ประจักษ์ คือว่า ย่อมรู้ประจักษ์ ด้วยสามารถแห่งการแทงตลอด. บทว่า
วิครหนฺตา แปลว่า ติเตียน คือได้แก่ ติเตียนอย่างนี้ว่า ธรรมนี้มีบทแห่ง
อักขระและพยัญชนะอันเลว หรือว่า ธรรมนี้ไม่เป็นนิยยานิกะ. บทว่า โรรุวํ
* จักษุ ๕ คือ มังสจักษุ, ทิพยจักษุ, ปัญญาจักษุ พุทธจักษุ, และ สมันตจักษุ
แปลว่า โรรุวนรก อธิบายว่า โรรุวนรก มี ๒ คือ ธูมโรรุวนรก และ
ชาลโรรุวนรก. ในนรก ๒ นั้น ธูมโรรุวนรกมีอยู่ส่วนหนึ่ง ก็คำว่า ชาล-
โรรุวนรกนั้น เป็นชื่อของอเวจีมหานรก. เพราะว่า ในโรรุวนรกนั้น เมื่อ
ไฟโพลงอยู่ ๆ สัตว์ทั้งหลาย ย่อมร้องบ่อย ๆ เพราะฉะนั้น นรกนั้น ท่านจึง
เรียกว่า โรรุวะ ดังนี้. บทว่า โฆรํ แปลว่า ร้ายกาจ ได้แก่ ทารุณ.
บทว่า ขนฺติยา อุปสเมน อุเปตา แปลว่า ผู้ประกอบด้วยความอดทน
และความสงบ อธิบายว่า ครั้นชอบใจแล้ว ครั้นอดทนแล้ว จึงชื่อว่า
ประกอบแล้วด้วยขันติเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวและความสงบจากกิเลสมีราคะเป็นต้น
ดังนี้แล.
จบอรรถกถาปฐมปัชชุนนธีตุสูตรที่ ๙

สนทนาธรรม

comments

Got anything to say? Go ahead and leave a comment!