12-201 แก่นแห่งพรหมจรรย์



พระไตรปิฎก


แก่นแห่งพรหมจรรย์
{๓๕๙} [๓๒๒] บุคคลบางพวกในโลกนี้มีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วย
คิดว่า ‘เราเป็นผู้ถูกชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส
ครอบงำแล้ว ถูกความทุกข์ครอบงำ มีความทุกข์อยู่เฉพาะหน้าแล้ว ทำอย่างไร
การทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้จะพึงมีได้’ เขาบวชแล้วอย่างนั้น ทำลาภสักการะ
และความสรรเสริญให้เกิดขึ้น เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น เขาจึงไม่
ปลื้มใจ และมีความรู้สึกยังไม่สมหวัง เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น
เขาจึงไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น อนึ่ง เขาสร้างฉันทะ พยายามเพื่อทำให้แจ้งธรรม
เหล่าอื่นอันยิ่งและประณีตกว่าลาภสักการะและความสรรเสริญ ทั้งเป็นผู้มีความ
ประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม่ท้อถอย เขาย่อมทำความสมบูรณ์แห่งศีลให้สำเร็จ เพราะ
ความสมบูรณ์แห่งศีลนั้น เขาจึงปลื้มใจ แต่มีความรู้สึกยังไม่สมหวัง เพราะความ
สมบูรณ์แห่งศีลนั้น เขาจึงไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น อนึ่ง เขาสร้างฉันทะ พยายามเพื่อ
ทำให้แจ้งธรรมเหล่าอื่นอันยิ่งและประณีตกว่าความสมบูรณ์แห่งศีล ทั้งเป็นผู้มีความ
ประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม่ท้อถอย เขาย่อมทำความสมบูรณ์แห่งสมาธิให้สำเร็จ
เพราะความสมบูรณ์แห่งสมาธินั้น เขาจึงปลื้มใจ แต่มีความรู้สึกยังไม่สมหวัง เพราะ
ความสมบูรณ์แห่งสมาธินั้น เขาจึงไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น อนึ่ง เขาสร้างฉันทะ
พยายาม เพื่อทำให้แจ้งธรรมเหล่าอื่นอันยิ่งและประณีตกว่าความสมบูรณ์แห่งสมาธิ
ทั้งเป็นผู้มีความประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม่ท้อถอย เขาย่อมทำญาณทัสสนะให้สำเร็จ
เพราะญาณทัสสนะนั้น เขาจึงปลื้มใจ แต่มีความรู้สึกยังไม่สมหวัง เพราะญาณ-
ทัสสนะนั้น เขาจึงไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น อนึ่ง เขาสร้างฉันทะ พยายามเพื่อทำให้
แจ้งธรรมเหล่าอื่นอันยิ่งและประณีตกว่าญาณทัสสนะ ทั้งเป็นผู้มีความประพฤติไม่
ย่อหย่อน ไม่ท้อถอย
[๓๒๓] ธรรมอันยิ่งและประณีตกว่าญาณทัสสนะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุ
ปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ แม้ธรรมข้อนี้ก็ยิ่งและ
ประณีตกว่าญาณทัสสนะ
อีกประการหนึ่ง เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุบรรลุทุติยฌานที่มีความ
ผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข
อันเกิดจากสมาธิอยู่ ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน … อยู่ แม้ธรรม
ข้อนี้ก็ยิ่งและประณีตกว่าญาณทัสสนะ
อีกประการหนึ่ง เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตต-
สัญญาโดยประการทั้งปวง ภิกษุบรรลุอากาสานัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า
‘อากาศหาที่สุดมิได้’ แม้ธรรมข้อนี้ก็ยิ่งและประณีตกว่าญาณทัสสนะ
อีกประการหนึ่ง เพราะล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง ภิกษุ
บรรลุวิญญาณัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ ฯลฯ เพราะล่วง
วิญญาณัญจายตนฌานได้โดยประการทั้งปวง ภิกษุบรรลุอากิญจัญญายตนฌานอยู่
โดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ ฯลฯ เพราะล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการ
ทั้งปวง ภิกษุบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ แม้ธรรมข้อนี้ก็ยิ่งและประณีต
กว่าญาณทัสสนะ
อีกประการหนึ่ง เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง
ภิกษุบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ เพราะเห็นด้วยปัญญา อาสวะทั้งหลายของเธอ
ย่อมสิ้นไป แม้ธรรมข้อนี้ก็ยิ่งและประณีตกว่าญาณทัสสนะ
เหล่านี้เป็นธรรมอันยิ่งและประณีตกว่าญาณทัสสนะ
[๓๒๔] อุปมาเหมือนบุรุษนั้นผู้ต้องการแก่นไม้ เที่ยวเสาะแสวงหาแก่นไม้อยู่
เมื่อมีต้นไม้ใหญ่ซึ่งมีแก่นยืนต้นอยู่ รู้แก่นไม้ว่า ‘แก่นไม้’ จึงตัดนำไป และกิจ
ที่เขาจะต้องใช้แก่นไม้ทำจักสำเร็จประโยชน์แก่เขา ฉันใด บุคคลนี้ตถาคตเรียกว่า
มีอุปมาฉันนั้น
{๓๖๐} พราหมณ์ ดังพรรณนามาฉะนี้ พรหมจรรย์นี้จึงมิใช่มีลาภสักการะและความ
สรรเสริญเป็นอานิสงส์ มิใช่มีความสมบูรณ์แห่งศีลเป็นอานิสงส์ มิใช่มีความ
สมบูรณ์แห่งสมาธิเป็นอานิสงส์ มิใช่มีญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์ พรหมจรรย์นี้มี
เจโตวิมุตติอันไม่กำเริบเป็นเป้าหมาย เป็นแก่น เป็นที่สุด”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ปิงคลโกจฉพราหมณ์ได้กราบทูลพระ
ผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม พระภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจน
ไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่ท่านพระโคดม พระภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก
ฯลฯ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้
เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต” ดังนี้แล
จูฬสาโรปมสูตรที่ ๑๐ จบ
โอปัมมวรรค ที่ ๓ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. กกจูปมสูตร
๒. อลคัททูปมสูตร
๓. วัมมิกสูตร
๔. รถวินีตสูตร
๕. นิวาปสูตร
๖. ปาสราสิสูตร
๗. จูฬหัตถิปโทปมสูตร
๘. มหาหัตถิปโทปมสูตร
๙. มหาสาโรปมสูตร
๑๐. จูฬสาโรปมสูตร

บาลี



รออัพเดต

อรรถกถา


รออัพเดต

สนทนาธรรม

comments

Comments are closed.