12-157 เป้าหมายแห่งพรหมจรรย์ตามลำดับวิสุทธิ 7
พระไตรปิฎก
เป้าหมายแห่งพรหมจรรย์ตามลำดับวิสุทธิ ๗
{๒๙๖} ครั้นในเวลาเย็น ท่านพระสารีบุตรออกจากที่หลีกเร้น๑ แล้วเข้าไปหาท่าน
พระปุณณมันตานีบุตรถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่
ระลึกถึงกันแล้วจึงนั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามท่านพระปุณณมันตานีบุตรว่า
[๒๕๗] “ท่านผู้มีอายุ ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคของเราหรือ”
ท่านพระปุณณมันตานีบุตรตอบว่า “ขอรับ ท่านผู้มีอายุ”
“ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อสีลวิสุทธิ (ความหมดจด
แห่งศีล) หรือ”
“ข้อนี้ หามิได้”
“ถ้าเช่นนั้น ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อจิตตวิสุทธิ (ความ
หมดจดแห่งจิต) หรือ”
“ข้อนี้ หามิได้”
“ถ้าเช่นนั้น ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อทิฏฐิวิสุทธิ (ความ
หมดจดแห่งทิฏฐิ) หรือ”
“ข้อนี้ หามิได้”
“ถ้าเช่นนั้น ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อกังขาวิตรณวิสุทธิ
(ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องข้ามพ้นความสงสัย) หรือ”
“ข้อนี้ หามิได้”
“ถ้าเช่นนั้น ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อมัคคามัคคญาณ-
ทัสสนวิสุทธิ (ความหมดจดแห่งญาณที่รู้เห็นว่าเป็นทางหรือมิใช่ทาง) หรือ”
“ข้อนี้ หามิได้”
“ถ้าเช่นนั้น ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อปฏิปทาญาณทัสสน-
วิสุทธิ (ความหมดจดแห่งญาณที่รู้เห็นทางดำเนิน) หรือ”
“ข้อนี้ หามิได้”
“ถ้าเช่นนั้น ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อญาณทัสสนวิสุทธิ
(ความหมดจดแห่งญาณทัสสนะ) หรือ”
“ข้อนี้ หามิได้”
“เมื่อผมถามท่านว่า ‘ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อสีลวิสุทธิ
หรือ’ ท่านก็ตอบผมว่า ‘ข้อนี้ หามิได้’
เมื่อผมถามท่านว่า ‘ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อจิตต-
วิสุทธิหรือ’ ท่านก็ตอบผมว่า ‘ข้อนี้ หามิได้’
เมื่อผมถามท่านว่า ‘ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อทิฏฐิ-
วิสุทธิหรือ’ ท่านก็ตอบผมว่า ‘ข้อนี้ หามิได้’
เมื่อผมถามท่านว่า ‘ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อกังขา-
วิตรณวิสุทธิหรือ’ ท่านก็ตอบผมว่า ‘ข้อนี้หามิได้’
… เพื่อมัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิหรือ’ …
… เพื่อปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิหรือ’ …
เมื่อผมถามท่านว่า ‘ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อญาณ-
ทัสสนวิสุทธิหรือ’ ท่านก็ตอบผมว่า ‘ข้อนี้ หามิได้’
เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่ออะไรกันเล่า”
“ท่านผู้มีอายุ ผมประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่ออนุปาทา-
ปรินิพพาน๑”
“สีลวิสุทธิ เป็นอนุปาทาปรินิพพานหรือ”
“ข้อนี้ หามิได้”
“จิตตวิสุทธิ เป็นอนุปาทาปรินิพพานหรือ”
“ข้อนี้ หามิได้”
“ทิฏฐิวิสุทธิ เป็นอนุปาทาปรินิพพานหรือ”
“ข้อนี้ หามิได้”
“กังขาวิตรณวิสุทธิ เป็นอนุปาทาปรินิพพานหรือ”
“ข้อนี้ หามิได้”
“มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ เป็นอนุปาทาปรินิพพานหรือ”
“ข้อนี้ หามิได้”
“ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ เป็นอนุปาทาปรินิพพานหรือ”
“ข้อนี้ หามิได้”
“ญาณทัสสนวิสุทธิ เป็นอนุปาทาปรินิพพานหรือ”
“ข้อนี้ หามิได้”
“ธรรมนอกจากธรรมเหล่านี้ เป็นอนุปาทาปรินิพพานหรือ”
พระปุณณมันตานีบุตรตอบว่า “ข้อนี้ หามิได้ ท่านผู้มีอายุ”
ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า “ท่านผู้มีอายุ เมื่อผมถามท่านว่า ‘สีลวิสุทธิ
เป็นอนุปาทาปรินิพพานหรือ’ ท่านก็ตอบผมว่า ‘ข้อนี้ หามิได้’
เมื่อผมถามท่านว่า ‘จิตตวิสุทธิ เป็นอนุปาทาปรินิพพานหรือ’ ท่านก็ตอบ
ผมว่า ‘ข้อนี้ หามิได้’
… ‘ทิฏฐิวิสุทธิ เป็นอนุปาทาปรินิพพานหรือ’ …
… ‘กังขาวิตรณวิสุทธิ เป็นอนุปาทาปรินิพพานหรือ’ …
… ‘มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ เป็นอนุปาทาปรินิพพานหรือ’ …
… ‘ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ เป็นอนุปาทาปรินิพพานหรือ’ …
เมื่อผมถามท่านว่า ‘ญาณทัสสนวิสุทธิ เป็นอนุปาทาปรินิพพานหรือ’ ท่าน
ก็ตอบว่า ‘ข้อนี้ หามิได้’
เมื่อผมถามท่านว่า ‘ธรรมนอกจากธรรมเหล่านี้ เป็นอนุปาทาปรินิพพานหรือ’
ท่านก็ตอบผมว่า ‘ข้อนี้ หามิได้’
(เมื่อเป็นเช่นนี้) จะพึงเห็นเนื้อความของคำที่ท่านกล่าวแล้วนี้ได้อย่างไร”
{๒๙๗} [๒๕๘] ท่านพระปุณณมันตานีบุตรกล่าวว่า “ท่านผู้มีอายุ ถ้าพระผู้มี
พระภาคทรงบัญญัติสีลวิสุทธิว่าเป็นอนุปาทาปรินิพพาน ก็ชื่อว่าพึงบัญญัติธรรมที่
ยังมีอุปาทานว่าเป็นอนุปาทาปรินิพพาน
ถ้าทรงบัญญัติจิตตวิสุทธิว่าเป็นอนุปาทาปรินิพพาน ก็ชื่อว่าพึงบัญญัติธรรม
ที่ยังมีอุปาทานว่าเป็นอนุปาทาปรินิพพาน
ถ้าทรงบัญญัติทิฏฐิวิสุทธิว่าเป็นอนุปาทาปรินิพพาน ก็ชื่อว่าพึงบัญญัติธรรมที่
ยังมีอุปาทานว่าเป็นอนุปาทาปรินิพพาน
ถ้าทรงบัญญัติกังขาวิตรณวิสุทธิว่าเป็นอนุปาทาปรินิพพาน ก็ชื่อว่าพึงบัญญัติ
ธรรมที่ยังมีอุปาทานว่าเป็นอนุปาทาปรินิพพาน
ถ้าทรงบัญญัติมัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิว่าเป็นอนุปาทาปรินิพพาน ก็ชื่อว่า
พึงบัญญัติธรรมที่ยังมีอุปาทานว่าเป็นอนุปาทาปรินิพพาน
ถ้าทรงบัญญัติปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิว่าเป็นอนุปาทาปรินิพพาน ก็ชื่อว่า
พึงบัญญัติธรรมที่ยังมีอุปาทานว่าเป็นอนุปาทาปรินิพพาน
ถ้าทรงบัญญัติญาณทัสสนวิสุทธิว่าเป็นอนุปาทาปรินิพพาน ก็ชื่อว่าพึง
บัญญัติธรรมที่ยังมีอุปาทานว่าเป็นอนุปาทาปรินิพพาน
ท่านผู้มีอายุ ถ้าธรรมนอกจากธรรมเหล่านี้ จักเป็นอนุปาทาปรินิพพานแล้ว
ปุถุชนก็จะพึงปรินิพพาน เพราะว่าปุถุชนเว้นจากธรรมเหล่านี้ ผมจะเปรียบเทียบ
ให้ท่านฟัง คนฉลาดบางพวกในโลกนี้ย่อมเข้าใจความหมายแห่งถ้อยคำได้ด้วย
อุปมาโวหาร
จึงทรงสละรถพระที่นั่งผลัดที่สาม ทรงรถพระที่นั่งผลัดที่สี่ เสด็จไปถึงรถ
พระที่นั่งผลัดที่ห้า
จึงทรงสละรถพระที่นั่งผลัดที่สี่ ทรงรถพระที่นั่งผลัดที่ห้า เสด็จไปถึงรถ
พระที่นั่งผลัดที่หก
จึงทรงสละรถพระที่นั่งผลัดที่ห้า ทรงรถพระที่นั่งผลัดที่หก เสด็จไปถึงรถ
พระที่นั่งผลัดที่เจ็ด
จึงทรงสละรถพระที่นั่งผลัดที่หก ทรงรถพระที่นั่งผลัดที่เจ็ด เสด็จไปถึงประตู
เมืองสาเกตด้วยรถพระที่นั่งผลัดที่เจ็ด
ถ้าพวกมิตรอำมาตย์หรือพระบรมวงศานุวงศ์จะพึงทูลถามพระองค์ว่า ‘ขอเดชะ
มหาราชเจ้า พระองค์เสด็จจากกรุงสาวัตถีถึงประตูเมืองสาเกตด้วยรถพระที่นั่งผลัด
นี้ผลัดเดียวหรือ’
ท่านผู้มีอายุ พระเจ้าปเสนทิโกศลจะตรัสตอบอย่างไร จึงจะจัดว่าตรัสตอบ
อย่างถูกต้อง”
ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า “ท่านผู้มีอายุ พระเจ้าปเสนทิโกศลจะต้องตรัส
ตอบอย่างนี้ จึงจัดว่าตรัสตอบอย่างถูกต้อง คือตรัสว่า ‘เมื่อฉันกำลังอยู่ใน
กรุงสาวัตถีนั้น มีกรณียกิจด่วนบางประการเกิดขึ้นในเมืองสาเกต ระหว่างกรุง
สาวัตถีกับเมืองสาเกตนั้น จะต้องใช้รถถึงเจ็ดผลัด
ครั้งนั้นแล ฉันออกจากกรุงสาวัตถีขึ้นรถผลัดที่หนึ่ง ที่ประตูวัง ไปถึงรถผลัด
ที่สอง สละรถผลัดที่หนึ่ง ขึ้นรถผลัดที่สอง ไปถึงรถผลัดที่สาม สละรถผลัดที่สอง
ขึ้นรถผลัดที่สาม ไปถึงรถผลัดที่สี่ สละรถผลัดที่สาม ขึ้นรถผลัดที่สี่ ไปถึงรถผลัด
ที่ห้า สละรถผลัดที่สี่ ขึ้นรถผลัดที่ห้า ไปถึงรถผลัดที่หก สละรถผลัดที่ห้า ขึ้นรถ
ผลัดที่หก ไปถึงรถผลัดที่เจ็ด สละรถผลัดที่หก ขึ้นรถผลัดที่เจ็ด ไปถึงประตูเมือง
สาเกตด้วยรถผลัดที่เจ็ด’
ท่านผู้มีอายุ พระเจ้าปเสนทิโกศลจะต้องตรัสตอบอย่างนี้แล จึงจัดว่าตรัสตอบ
อย่างถูกต้อง”
ท่านพระปุณณมันตานีบุตรกล่าวว่า “ท่านผู้มีอายุ ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
สีลวิสุทธิมีจิตตวิสุทธิเป็นเป้าหมาย จิตตวิสุทธิมีทิฏฐิวิสุทธิเป็นเป้าหมาย ทิฏฐิวิสุทธิ
มีกังขาวิตรณวิสุทธิเป็นเป้าหมาย กังขาวิตรณวิสุทธิมีมัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ
เป็นเป้าหมาย มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิมีปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิเป็นเป้าหมาย
ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิมีญาณทัสสนวิสุทธิเป็นเป้าหมาย ญาณทัสสนวิสุทธิมี
อนุปาทาปรินิพพานเป็นเป้าหมาย
ท่านผู้มีอายุ ผมอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่ออนุปาทา-
ปรินิพพานโดยแท้”
เชิงอรรถ
A ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๘๑ (สัลเลขสูตร) หน้า ๗๐ ในเล่มนี้
B อนุปาทาปรินิพพาน หมายถึงปรินิพพานที่หาปัจจัยปรุงแต่งมิได้ แต่ในที่นี้ พระเถระหมายเอาสภาวะ เป็นที่สุด เป็นเงื่อนปลาย เป็นที่จบการประพฤติพรหมจรรย์ของท่านผู้ถืออปัจจยปรินิพพาน (ม.มู.อ. ๒/๒๕๘/๖๓-๖๔)
บาลี
รออัพเดต
อรรถกถา
รออัพเดต