12-129 ผู้ชำนาญวิถีทางแห่งวิตก



พระไตรปิฎก


ผู้ชำนาญวิถีทางแห่งวิตก
{๒๖๒} [๒๒๑] ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุอาศัยนิมิตใดแล้ว มนสิการนิมิตใด วิตก
อันเป็นบาปอกุศลซึ่งประกอบด้วยฉันทะบ้าง ประกอบด้วยโทสะบ้าง ประกอบด้วย
โมหะบ้างย่อมเกิดขึ้น เมื่อเธอมนสิการนิมิตอื่นซึ่งประกอบด้วยกุศลนอกจาก
นิมิตนั้น เธอย่อมละวิตกอันเป็นบาปอกุศลซึ่งประกอบด้วยฉันทะบ้าง ประกอบ
ด้วยโทสะบ้าง ประกอบด้วยโมหะบ้างได้ วิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นย่อมตั้งอยู่
ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งมั่น สงบ เป็นภาวะ
ที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น มีสมาธิในภายในโดยแท้ เมื่อภิกษุนั้นพิจารณาโทษแห่งวิตก
เหล่านั้นอยู่ เธอย่อมละวิตกอันเป็นบาปอกุศลซึ่งประกอบด้วยฉันทะบ้าง ประกอบ
ด้วยโทสะบ้าง ประกอบด้วยโมหะบ้างได้ วิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นย่อมตั้งอยู่
ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งมั่น สงบ เป็นภาวะ
ที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น มีสมาธิในภายในโดยแท้ เมื่อภิกษุนั้นไม่ระลึกถึง ไม่มนสิการ
วิตกเหล่านั้น เธอย่อมละวิตกอันเป็นบาปอกุศลซึ่งประกอบด้วยฉันทะบ้าง
ประกอบด้วยโทสะบ้าง ประกอบด้วยโมหะบ้างได้ วิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้น
ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งมั่น สงบ
เป็นภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น มีสมาธิในภายในโดยแท้
เมื่อภิกษุนั้นมนสิการวิตักกสังขารสัณฐานแห่งวิตกเหล่านั้น เธอย่อมละวิตก
อันเป็นบาปอกุศลซึ่งประกอบด้วยฉันทะบ้าง ประกอบด้วยโทสะบ้าง ประกอบด้วย
โมหะบ้างได้ วิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็น
บาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งมั่น สงบ เป็นภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น มีสมาธิ
ในภายในโดยแท้ เมื่อภิกษุนั้นกดฟันด้วยฟัน ใช้ลิ้นดันเพดานไว้แน่น ใช้จิตข่มคั้นจิต
ทำจิตให้เร่าร้อน เธอย่อมละวิตกอันเป็นบาปอกุศลซึ่งประกอบด้วยฉันทะบ้าง
ประกอบด้วยโทสะบ้าง ประกอบด้วยโมหะบ้างได้ วิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้น
ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งมั่น สงบ
เป็นภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น มีสมาธิในภายในโดยแท้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เราเรียกว่า ‘ผู้ชำนาญในวิถีทางแห่งวิตก เธอหวังวิตก
ใดก็จักตรึกถึงวิตกนั้นได้ ไม่หวังวิตกใดก็จักไม่ตรึกถึงวิตกนั้นได้ ตัดตัณหาได้แล้ว
คลายสังโยชน์ได้แล้ว ทำที่สุดทุกข์ได้แล้ว เพราะละมานะได้โดยชอบ”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
วิตักกสัณฐานสูตรที่ ๑๐ จบ
สีหนาทวรรคที่ ๒ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. จูฬสีหนาทสูตร
๒. มหาสีหนาทสูตร
๓. มหาทุกขักขันธสูตร
๔. จูฬทุกขักขันธสูตร
๕. อนุมานสูตร
๖. เจโตขีลสูตร
๗. วนปัตถสูตร
๘. มธุปิณฑิกสูตร
๙. เทฺวธาวิตักกสูตร
๑๐. วิตักกสัณฐานสูตร

บาลี



รออัพเดต

อรรถกถา


รออัพเดต

สนทนาธรรม

comments

Comments are closed.