12-110 การอนุมานตนเอง
พระไตรปิฎก
การอนุมานตนเอง
{๒๒๔} [๑๘๓] ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ในธรรม ๑๖ ประการนั้น ภิกษุควรอนุมาน
ตนเอง A อย่างนี้ว่า ‘บุคคลผู้มีความปรารถนาที่เป็นบาป ตกอยู่ในอำนาจแห่งความ
ปรารถนาที่เป็นบาป ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา ถ้าเราจะพึงมีความ
ปรารถนาที่เป็นบาป ตกอยู่ในอำนาจแห่งความปรารถนาที่เป็นบาป เราก็คงไม่เป็นที่รัก
ไม่เป็นที่พอใจของคนเหล่าอื่น’ ภิกษุเมื่อรู้อย่างนี้ควรคิดว่า ‘เราจักไม่เป็นผู้มีความ
ปรารถนาที่เป็นบาป ไม่ตกอยู่ในอำนาจแห่งความปรารถนาที่เป็นบาป’
ภิกษุควรอนุมานตนเองอย่างนี้ว่า ‘บุคคลผู้ยกตนข่มผู้อื่นย่อมไม่เป็นที่รัก
ไม่เป็นที่พอใจของเรา ถ้าเราจะพึงเป็นผู้ยกตนข่มผู้อื่น เราก็คงไม่เป็นที่รัก ไม่เป็น
ที่พอใจของคนเหล่าอื่น’ ภิกษุเมื่อรู้อย่างนี้ควรคิดว่า ‘เราจักไม่ยกตน จักไม่ข่มผู้อื่น’
ภิกษุควรอนุมานตนเองอย่างนี้ว่า ‘บุคคลผู้มักโกรธ ถูกความโกรธครอบงำ
ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา ถ้าเราจะพึงเป็นผู้มักโกรธ ถูกความโกรธ
ครอบงำ เราก็คงไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของคนเหล่าอื่น’ ภิกษุเมื่อรู้อย่างนี้
ควรคิดว่า ‘เราจักไม่เป็นผู้มักโกรธ ไม่ถูกความโกรธครอบงำ’
ภิกษุควรอนุมานตนเองอย่างนี้ว่า ‘บุคคลผู้มักโกรธ ผูกโกรธ เพราะความ
โกรธเป็นเหตุ ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา ถ้าเราจะพึงเป็นผู้มักโกรธ
ผูกโกรธเพราะความโกรธเป็นเหตุ เราก็คงไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของคนเหล่าอื่น’
ภิกษุเมื่อรู้อย่างนี้ควรคิดว่า ‘เราจักไม่เป็นผู้มักโกรธ ไม่ผูกโกรธ เพราะความโกรธ
เป็นเหตุ’
ภิกษุควรอนุมานตนเองอย่างนี้ว่า ‘บุคคลผู้มักโกรธ ระแวงจัดเพราะความ
โกรธเป็นเหตุ ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา ถ้าเราจะพึงเป็นผู้มักโกรธ
ระแวงจัดเพราะความโกรธเป็นเหตุ เราก็คงไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของคนเหล่าอื่น’
ภิกษุเมื่อรู้อย่างนี้ควรคิดว่า ‘เราจักไม่เป็นผู้มักโกรธ ไม่ระแวงจัดเพราะความโกรธ
เป็นเหตุ’
ภิกษุควรอนุมานตนเองอย่างนี้ว่า ‘บุคคลผู้มักโกรธ เปล่งวาจาใกล้ความโกรธ
ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา ถ้าเราจะพึงเป็นผู้มักโกรธ เปล่งวาจาใกล้
ความโกรธ เราก็คงไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของคนเหล่าอื่น’ ภิกษุเมื่อรู้อย่างนี้
ควรคิดว่า ‘เราจักไม่เป็นผู้มักโกรธ ไม่เปล่งวาจาใกล้ความโกรธ’
ภิกษุควรอนุมานตนเองอย่างนี้ว่า ‘บุคคลผู้ถูกโจทแล้วกลับโต้เถียงโจทก์
ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา ถ้าเราจะพึงถูกโจทแล้วกลับโต้เถียงโจทก์
เราก็คงไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของคนเหล่าอื่น’ ภิกษุเมื่อรู้อย่างนี้ควรคิดว่า
‘เราถูกโจทแล้วจักไม่โต้เถียงโจทก์’
ภิกษุควรอนุมานตนเองอย่างนี้ว่า ‘บุคคลผู้ถูกโจทแล้วกลับรุกรานโจทก์
ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา ถ้าเราถูกโจทแล้วกลับรุกรานโจทก์ เราก็
คงไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของคนเหล่าอื่น’ ภิกษุเมื่อรู้อย่างนี้ควรคิดว่า ‘เราถูก
โจทแล้วจักไม่รุกรานโจทก์’
ภิกษุควรอนุมานตนเองอย่างนี้ว่า ‘บุคคลผู้ถูกโจทแล้วกลับปรักปรำโจทก์
ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา ถ้าเราจะพึงถูกโจทแล้วกลับปรักปรำโจทก์
เราก็คงไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของคนเหล่าอื่น’ ภิกษุเมื่อรู้อย่างนี้ควรคิดว่า
‘เราถูกโจทแล้วจักไม่ปรักปรำโจทก์’
ภิกษุควรอนุมานตนเองอย่างนี้ว่า ‘บุคคลผู้ถูกโจทแล้วกลับพูดกลบเกลื่อน
พูดนอกเรื่อง แสดงความโกรธ ความประสงค์ร้าย และความไม่เชื่อฟังให้ปรากฏ
ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา ถ้าเราถูกโจทแล้วกลับพูดกลบเกลื่อน
พูดนอกเรื่อง แสดงความโกรธ ความประสงค์ร้าย และความไม่เชื่อฟังให้ปรากฏ
เราก็คงไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของคนเหล่าอื่น’ ภิกษุเมื่อรู้อย่างนี้ควรคิดว่า
‘เราถูกโจทแล้วจักไม่พูดกลบเกลื่อน ไม่พูดนอกเรื่อง ไม่แสดงความโกรธ
ความประสงค์ร้าย และความไม่เชื่อฟังให้ปรากฏ’
ภิกษุควรอนุมานตนเองอย่างนี้ว่า ‘บุคคลผู้ถูกโจทแล้วไม่ยอมอธิบายพฤติกรรม
(ของตน) ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา ถ้าเราจะพึงถูกโจทแล้วไม่ยอม
อธิบายพฤติกรรม(ของตน) เราก็คงไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของคนเหล่าอื่น’ ภิกษุ
เมื่อรู้อย่างนี้ควรคิดว่า ‘เราถูกโจทแล้วจักยอมอธิบายพฤติกรรม(ของตน)’
ภิกษุควรอนุมานตนเองอย่างนี้ว่า ‘บุคคลผู้ลบหลู่คุณท่าน ตีเสมอ ย่อมไ่ม่
เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา ถ้าเราจะพึงเป็นผู้ลบหลู่คุณท่าน ตีเสมอ เราก็
คงไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของคนเหล่าอื่น’ ภิกษุเมื่อรู้อย่างนี้ควรคิดว่า ‘เราจัก
ไม่เป็นผู้ลบหลู่คุณท่าน ไม่ตีเสมอ’
ภิกษุควรอนุมานตนเองอย่างนี้ว่า ‘บุคคลผู้ริษยา ตระหนี่ ย่อมไม่เป็นที่รัก
ไม่เป็นที่พอใจของเรา ถ้าเราจะพึงเป็นผู้ริษยา ตระหนี่ เราก็คงไม่เป็นที่รัก
ไม่เป็นที่พอใจของคนเหล่าอื่น’ ภิกษุเมื่อรู้อย่างนี้ควรคิดว่า ‘เราจักไม่ริษยา
ไม่ตระหนี่’
ภิกษุควรอนุมานตนเองอย่างนี้ว่า ‘บุคคลผู้โอ้อวด มีมารยา ย่อมไม่เป็นที่รัก
ไม่เป็นที่พอใจของเรา ถ้าเราจะพึงเป็นผู้โอ้อวด มีมารยา เราก็คงไม่เป็นที่รัก
ไม่เป็นที่พอใจของคนเหล่าอื่น’ ภิกษุเมื่อรู้อย่างนี้ควรคิดว่า ‘เราจักเป็นผู้ไม่โอ้อวด
ไม่มีมารยา’
ภิกษุควรอนุมานตนเองอย่างนี้ว่า ‘บุคคลผู้กระด้าง ดูหมิ่นผู้อื่น ย่อมไม่เป็น
ที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา ถ้าเราจะพึงเป็นผู้กระด้าง ดูหมิ่นผู้อื่น เราก็คงไม่เป็นที่รัก
ไม่เป็นที่พอใจของคนเหล่าอื่น’ ภิกษุเมื่อรู้อย่างนี้ควรคิดว่า ‘เราจักเป็นผู้ไม่กระด้าง
ไม่ดูหมิ่นผู้อื่น’
ภิกษุควรอนุมานตนเองอย่างนี้ว่า ‘บุคคลผู้ถือความเห็นของตนเป็นใหญ่
ถือรั้น สลัดได้ยาก ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา ถ้าเราจะพึงถือความ
เห็นของตนเป็นใหญ่ ถือรั้น สลัดได้ยาก เราก็คงไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของ
คนเหล่าอื่น’ ภิกษุเมื่อรู้อย่างนี้ควรคิดว่า ‘เราจักไม่ถือความเห็นของตนเป็นใหญ่
ไม่ถือรั้น จักเป็นผู้สลัดได้ง่าย’
เชิงอรรถ
A ควรอนุมานตนเอง หมายถึงภิกษุควรอนุมาน เปรียบเทียบ พิจารณาตนด้วยตนเองเท่านั้น (ม.มู.อ. ๑/๑๘๓/๓๙๐)
บาลี
รออัพเดต
อรรถกถา
รออัพเดต