12-028 กิเลสเพียงดังเนิน



พระไตรปิฎก


กิเลสเพียงดังเนิน
{๕๖} [๖๐] ท่านพระมหาโมคคัลลานะถามว่า “ท่านผู้มีอายุ ท่านกล่าวว่า ‘กิเลส
เพียงดังเนิน กิเลสเพียงดังเนิน’ คำว่า ‘กิเลสเพียงดังเนิน’ นั่นเป็นชื่อของอะไรหนอ”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ คำว่า ‘กิเลสเพียงดังเนิน’ นี้ เป็น
ชื่อของอิจฉาวจร A ที่เป็นบาปอกุศล
{๕๗} เป็นไปได้ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘เรา
เป็นผู้ต้องอาบัติหนอ ภิกษุทั้งหลายไม่พึงรู้ว่า เราต้องอาบัติแล้ว’ แต่เป็นไปได้ที่
ภิกษุทั้งหลายพึงรู้ว่า ภิกษุนั้นต้องอาบัติแล้ว ดังนั้น ภิกษุนั้นก็จะโกรธ ไม่แช่มชื่น
เพราะคิดว่า ‘ภิกษุทั้งหลายรู้ว่า เราเป็นผู้ต้องอาบัติแล้ว’ ความโกรธและความไม่
แช่มชื่นทั้ง ๒ นี้ ชื่อว่ากิเลสเพียงดังเนิน
{๕๘} เป็นไปได้ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘เรา
เป็นผู้ต้องอาบัติหนอ ภิกษุทั้งหลายพึงโจทเราในที่ลับเฉพาะ ไม่พึงโจทในท่ามกลางสงฆ์
แต่เป็นไปได้ที่ภิกษุทั้งหลายพึงโจทภิกษุนั้นในท่ามกลางสงฆ์ ไม่พึงโจทในที่ลับเฉพาะ
ดังนั้น ภิกษุนั้นก็จะโกรธ ไม่แช่มชื่น เพราะคิดว่า ‘ภิกษุทั้งหลายโจทเราในท่าม
กลางสงฆ์ ไม่โจทในที่ลับเฉพาะ’ ความโกรธและความไม่แช่มชื่นทั้ง ๒ นี้ ชื่อว่า
กิเลสเพียงดังเนิน
{๕๙} เป็นไปได้ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘เรา
เป็นผู้ต้องอาบัติหนอ ภิกษุผู้เสมอกัน B พึงโจทเรา ภิกษุผู้ไม่เสมอกันไม่พึงโจทเรา’
แต่เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้ไม่เสมอกันพึงโจทภิกษุนั้น ภิกษุผู้เสมอกันไม่โจทภิกษุนั้น ดังนั้น
ภิกษุนั้นก็จะโกรธ ไม่แช่มชื่น เพราะคิดว่า ‘ภิกษุผู้ไม่เสมอกันโจทเรา แต่ภิกษุผู้
เสมอกันไม่โจทเรา’ ความโกรธและความไม่แช่มชื่นทั้ง ๒ นี้ ชื่อว่ากิเลสเพียงดังเนิน
{๖๐} เป็นไปได้ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า
‘โอหนอ ขอพระศาสดาทรงซักถามเฉพาะเราบ่อย ๆ แล้วทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุ
ทั้งหลาย ไม่ทรงซักถามภิกษุอื่น แล้วทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย’ แต่เป็น
ไปได้ที่พระศาสดา พึงทรงซักถามภิกษุอื่นบ่อย ๆ แล้วทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุ
ทั้งหลาย ไม่ทรงซักถามภิกษุนั้นบ่อย ๆ แล้วทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย
ดังนั้น ภิกษุนั้นก็จะโกรธ ไม่แช่มชื่น เพราะคิดว่า ‘พระศาสดาทรงซักถาม
ภิกษุอื่นบ่อย ๆ แล้วทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย ไม่ทรงซักถามเราบ่อย ๆ
แล้วทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย’ ความโกรธและความไม่แช่มชื่นทั้ง ๒ นี้
ชื่อว่ากิเลสเพียงดังเนิน
{๖๑} เป็นไปได้ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า
‘โอหนอ ขอภิกษุทั้งหลายแวดล้อมเราเท่านั้นอย่างหนาแน่นเข้าบ้านเพื่อภัตตาหาร
ไม่แวดล้อมภิกษุอื่นอย่างหนาแน่นเข้าบ้านเพื่อภัตตาหาร’ แต่เป็นไปได้ที่ภิกษุ
ทั้งหลายพึงแวดล้อมภิกษุอื่นอย่างหนาแน่นเข้าบ้านเพื่อภัตตาหาร ไม่แวดล้อมภิกษุ
นั้นอย่างหนาแน่นเข้าบ้านเพื่อภัตตาหาร ดังนั้น ภิกษุนั้นก็จะโกรธ ไม่แช่มชื่น
เพราะคิดว่า ‘ภิกษุทั้งหลายแวดล้อมภิกษุอื่นอย่างหนาแน่นแล้วเข้าบ้านเพื่อภัตตาหาร
ไม่แวดล้อมเราอย่างหนาแน่นเข้าบ้านเพื่อภัตตาหาร’ ความโกรธและความไม่แช่มชื่น
ทั้ง ๒ นี้ ชื่อว่า กิเลสเพียงดังเนิน
{๖๒} เป็นไปได้ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า
‘โอหนอ ขอเราเท่านั้นพึงได้อาสนะที่ดีเลิศ๑ น้ำที่ดีเลิศ๒ บิณฑบาตที่ดีเลิศ๓ ใน
โรงฉัน ภิกษุอื่นไม่พึงได้อาสนะที่ดีเลิศ น้ำที่ดีเลิศ บิณฑบาตที่ดีเลิศในโรงฉัน’
แต่เป็นไปได้ที่ภิกษุอื่นพึงได้อาสนะที่ดีเลิศ น้ำที่ดีเลิศ บิณฑบาตที่ดีเลิศในโรงฉัน
ภิกษุนั้นไม่ได้อาสนะที่ดีเลิศ น้ำที่ดีเลิศ บิณฑบาตที่ดีเลิศในโรงฉัน ดังนั้น ภิกษุนั้น
ก็จะโกรธ ไม่แช่มชื่น เพราะคิดว่า ‘ภิกษุอื่นได้อาสนะที่ดีเลิศ น้ำที่ดีเลิศ
บิณฑบาตที่ดีเลิศในโรงฉัน เราไม่ได้อาสนะที่ดีเลิศ น้ำที่ดีเลิศ บิณฑบาตที่ดีเลิศ
ในโรงฉัน’ ความโกรธและความไม่แช่มชื่นทั้ง ๒ นี้ ชื่อว่ากิเลสเพียงดังเนิน
{๖๓} เป็นไปได้ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า
‘โอหนอ ขอเราเท่านั้นฉันในโรงฉันเสร็จแล้วพึงได้อนุโมทนา ภิกษุอื่นฉันในโรงฉัน
เสร็จแล้วไม่พึงได้อนุโมทนา’ แต่เป็นไปได้ที่ภิกษุอื่นฉันในโรงฉันเสร็จแล้วพึงได้อนุโมทนา
ภิกษุนั้นฉันในโรงฉันเสร็จแล้วไม่พึงได้อนุโมทนา ดังนั้น ภิกษุนั้นก็จะโกรธ
ไม่แช่มชื่น เพราะคิดว่า ‘ภิกษุอื่นฉันในโรงฉันเสร็จแล้วได้อนุโมทนา เราฉันในโรงฉัน
เสร็จแล้วไม่ได้อนุโมทนา’ ความโกรธและความไม่แช่มชื่นทั้ง ๒ นี้ ชื่อว่ากิเลส
เพียงดังเนิน
{๖๔} เป็นไปได้ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า
‘โอหนอ ขอเราเท่านั้นพึงได้แสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ในอาราม ภิกษุอื่นไม่
พึงได้แสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ในอาราม’ แต่เป็นไปได้ที่ภิกษุอื่นพึงได้แสดง
ธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ในอาราม ภิกษุนั้นไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่
ในอาราม ดังนั้น ภิกษุนั้นก็จะโกรธ ไม่แช่มชื่น เพราะคิดว่า ‘ภิกษุอื่นได้
แสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ในอาราม เราไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย
ผู้อยู่ในอาราม’ ความโกรธและความไม่แช่มชื่นทั้ง ๒ นี้ ชื่อว่ากิเลสเพียงดังเนิน
{๖๕} เป็นไปได้ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า
‘โอหนอ ขอเราเท่านั้นพึงได้แสดงธรรมแก่ภิกษุณีทั้งหลายผู้อยู่ในอาราม ฯลฯ
พึงได้แสดงธรรมแก่อุบาสกทั้งหลาย ฯลฯ พึงได้แสดงธรรมแก่อุบาสิกาทั้งหลาย
ภิกษุอื่นไม่พึงได้แสดงธรรมแก่อุบาสิกาทั้งหลายผู้อยู่ในอาราม’ แต่เป็นไปได้ที่ภิกษุ
อื่นพึงได้แสดงธรรมแก่อุบาสิกาทั้งหลายผู้อยู่ในอาราม ภิกษุนั้นไม่ได้แสดงธรรม
แก่อุบาสิกาทั้งหลายผู้อยู่ในอาราม ดังนั้น ภิกษุนั้นก็จะโกรธ ไม่แช่มชื่น
เพราะคิดว่า ‘ภิกษุอื่นได้แสดงธรรมแก่อุบาสิกาทั้งหลายผู้อยู่ในอาราม เราไม่ได้
แสดงธรรมแก่อุบาสิกาทั้งหลาย ผู้อยู่ในอาราม’ ความโกรธและความไม่แช่มชื่น
ทั้ง ๒ นี้ ชื่อว่ากิเลสเพียงดังเนิน
{๖๖} เป็นไปได้ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า
‘โอหนอ ขอภิกษุทั้งหลายพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเราเท่านั้น ไม่พึง
สักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุอื่น’ แต่เป็นไปได้ที่ภิกษุทั้งหลายพึงสักการะ
เคารพ นับถือ บูชา ภิกษุอื่น ไม่พึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุนั้น
ดังนั้น ภิกษุนั้นก็จะโกรธ ไม่แช่มชื่น เพราะคิดว่า ‘ภิกษุทั้งหลายสักการะ เคารพ
นับถือ บูชาภิกษุอื่น ไม่สักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา’ ความโกรธ
และความไม่แช่มชื่นทั้ง ๒ นี้ ชื่อว่า กิเลสเพียงดังเนิน
{๖๗} เป็นไปได้ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า
‘โอหนอ ขอภิกษุณีทั้งหลายพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเราเท่านั้น ฯลฯ
อุบาสกทั้งหลาย ฯลฯ อุบาสิกาทั้งหลายพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเราเท่านั้น
ไม่พึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุอื่น’ แต่เป็นไปได้ที่อุบาสิกาทั้งหลาย
พึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุอื่น ไม่สักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุนั้น
ดังนั้น ภิกษุนั้น ก็จะโกรธ ไม่แช่มชื่น เพราะคิดว่า ‘อุบาสิกาทั้งหลายสักการะ
เคารพ นับถือ บูชาภิกษุอื่น ไม่สักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา’ ความโกรธ
และความไม่แช่มชื่น ทั้ง ๒ นี้ ชื่อว่ากิเลสเพียงดังเนิน
{๖๘} เป็นไปได้ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า
‘โอหนอ ขอเราเท่านั้นพึงได้จีวรอันประณีต ภิกษุอื่นไม่พึงได้จีวรอันประณีต’ แต่
เป็นไปได้ที่ภิกษุอื่นพึงได้จีวรอันประณีต ภิกษุนั้นไม่ได้จีวรอันประณีต ดังนั้น
ภิกษุนั้นก็จะโกรธ ไม่แช่มชื่น เพราะคิดว่า ‘ภิกษุอื่นได้จีวรอันประณีต เราไม่ได้
จีวรอันประณีต’ ความโกรธ และความไม่แช่มชื่นทั้ง ๒ นี้ ชื่อว่ากิเลสเพียงดังเนิน
{๖๙} เป็นไปได้ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า
“โอหนอ ขอเราเท่านั้นพึงได้บิณฑบาตอันประณีต ฯลฯ เสนาสนะอันประณีต ฯลฯ
คิลานปัจจัยเภสัชบริขารอันประณีต ภิกษุอื่นไม่พึงได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขารอันประณีต’
แต่เป็นไปได้ที่ภิกษุอื่นพึงได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขารอันประณีต ภิกษุนั้นไม่ได้คิลาน-
ปัจจัยเภสัชบริขารอันประณีต ดังนั้น ภิกษุนั้นก็จะโกรธ ไม่แช่มชื่น เพราะคิดว่า
‘ภิกษุอื่นได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขารอันประณีต เราไม่ได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขารอัน
ประณีต’ ความโกรธและความไม่แช่มชื่นทั้ง ๒ นี้ ชื่อว่ากิเลสเพียงดังเนิน
ท่านผู้มีอายุ คำว่า ‘กิเลสเพียงดังเนิน’ นี้ เป็นชื่อแห่งอิจฉาวจรทั้งหลายที่
เป็นบาปอกุศล
เชิงอรรถ
A อิจฉาวจร หมายถึงการประพฤติตนในทางต่ำทรามตามอำนาจความปรารถนา (ม.มู.อ. ๑/๖๐/๑๕๕, ม.มู. ฏีกา ๑/๖๐/๓๑๑)
B ภิกษุผู้เสมอกัน หมายถึงภิกษุผู้ต้องอาบัติโจทภิกษุผู้ต้องอาบัติข้อเดียวกัน (ม.มู.อ. ๑/๖๐/๑๕๖)
C อาสนะที่ดีเลิศ หมายถึงที่นั่งหัวแถว (ม.มู.อ. ๑/๖๐/๑๕๗)
D น้ำที่ดีเลิศ หมายถึงน้ำทักษิณา (ม.มู.อ. ๑/๖๐/๑๕๗)
E บิณฑบาตที่ดีเลิศ หมายถึงบิณฑบาตที่ถวายแก่พระเถระผู้เป็นประธานในสงฆ์ (ม.มู.อ. ๑/๖๐/๑๕๗)

บาลี



รออัพเดต

อรรถกถา


รออัพเดต

สนทนาธรรม

comments

Comments are closed.