12-027 อนังคณสูตร บุคคลผู้ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน



พระไตรปิฎก


๕. อนังคณสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน

บุคคล ๔ ประเภท
{๕๓} [๕๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลาย
มากล่าวว่า “ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว ท่านพระสารีบุตรจึงได้
กล่าวเรื่องนี้ว่า
{๕๔} “ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคล ๔ ประเภทนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๔ ประเภท ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลบางคนเป็นผู้มีกิเลสเพียงดังเนิน A แต่ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริง
ว่า ‘เรามีกิเลสเพียงดังเนินภายในตน B’
๒. บุคคลบางคนเป็นผู้มีกิเลสเพียงดังเนินและรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า
‘เรามีกิเลสเพียงดังเนินภายในตน’
๓. บุคคลบางคนเป็นผู้ไม่มีกิเลสเพียงดังเนินแต่ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริง
ว่า ‘เราไม่มีกิเลสเพียงดังเนินภายในตน’
๔. บุคคลบางคนเป็นผู้ไม่มีกิเลสเพียงดังเนินและรู้ชัดตามความเป็นจริง
ว่า ‘เราไม่มีกิเลสเพียงดังเนินภายในตน’
บรรดาบุคคล ๔ ประเภทนั้น บุคคลใดเป็นผู้มีกิเลสเพียงดังเนินแต่ไม่รู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘เรามีกิเลสเพียงดังเนินภายในตน’ บรรดาบุคคล ๒ ประเภท
ที่มีกิเลสเพียงดังเนินเหมือนกันนี้ บุคคลนี้บัณฑิตกล่าวว่า ‘เป็นบุรุษต่ำทราม’
บรรดาบุคคล ๔ ประเภทนั้น บุคคลใดเป็นผู้มีกิเลสเพียงดังเนินและรู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘เรามีกิเลสเพียงดังเนินภายในตน’ บรรดาบุคคล ๒ ประเภท
ที่มีกิเลสเพียงดังเนินเหมือนกันนี้ บุคคลนี้บัณฑิตกล่าวว่า ‘เป็นบุรุษประเสริฐ’
บรรดาบุคคล ๔ ประเภทนั้น บุคคลใดเป็นผู้ไม่มีกิเลสเพียงดังเนินแต่ไม่รู้ชัด
ตามความเป็นจริงว่า ‘เราไม่มีกิเลสเพียงดังเนินภายในตน’ บรรดาบุคคล ๒ ประเภท
ที่มีกิเลสเพียงดังเนินเหมือนกันนี้ บุคคลนี้บัณฑิตกล่าวว่า ‘เป็นบุรุษต่ำทราม’
บรรดาบุคคล ๔ ประเภทนั้น บุคคลใดเป็นผู้ไม่มีกิเลสเพียงดังเนินและรู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘เราไม่มีกิเลสเพียงดังเนินภายในตน’ บรรดาบุคคล ๒ ประเภท
ที่ไม่มีกิเลสเพียงดังเนินเหมือนกันนี้ บุคคลนี้บัณฑิตกล่าวว่า ‘เป็นบุรุษประเสริฐ’
{๕๕} [๕๘] เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนั้นแล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้
ถามท่านพระสารีบุตรอย่างนี้ว่า “ท่านสารีบุตร อะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัยที่
บรรดาบุคคล ๒ ประเภทผู้มีกิเลสเพียงดังเนินเหมือนกันนี้ บุคคลหนึ่งบัณฑิต
กล่าวว่า ‘เป็นบุรุษต่ำทราม’ แต่อีกบุคคลหนึ่งบัณฑิตกล่าวว่า ‘เป็นบุรุษประเสริฐ’
และอะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัยที่บรรดาบุคคล ๒ ประเภทผู้ไม่มีกิเลสเพียงดัง
เนินเหมือนกันนี้ บุคคลหนึ่งบัณฑิตกล่าวว่า ‘เป็นบุรุษต่ำทราม’ แต่อีกบุคคลหนึ่ง
บัณฑิตกล่าวว่า ‘เป็นบุรุษประเสริฐ”
[๕๙] ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า “ท่านผู้มีอายุ บรรดาบุคคล ๔ ประเภทนั้น
บุคคลผู้มีกิเลสเพียงดังเนินแต่ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘เรามีกิเลสเพียงดังเนิน
ภายในตน’ พึงหวังข้อนี้ได้ คือเขาจักไม่ทำความพอใจให้เกิดขึ้น จักไม่พยายาม
จักไม่ปรารภความเพียรเพื่อละกิเลสเพียงดังเนินนั้น เขาจักเป็นผู้มีราคะ โทสะ โมหะ
มีกิเลสเพียงดังเนิน มีจิตเศร้าหมองตายไป เปรียบเหมือนภาชนะสำริดที่เขานำมา
จากร้านตลาด หรือจากตระกูลช่างทองมีฝุ่นและสนิมจับเกรอะกรัง เจ้าของจะไม่พึง
ใช้สอยและไม่ขัดสีภาชนะสำริดนั้น ซ้ำยังเก็บมันไว้ในที่ที่มีฝุ่นละอองฉะนั้น เมื่อเป็น
เช่นนั้น ต่อมา ภาชนะสำริดนั้นพึงเป็นของเศร้าหมองถูกสนิมจับยิ่งขึ้น”
ท่านพระมหาโมคคัลลานะถามว่า “อย่างนั้นหรือ ท่านผู้มีอายุ”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “อย่างนั้นนั่นแล ท่านผู้มีอายุ บุคคลผู้มีกิเลสเพียง
ดังเนินแต่ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘เรามีกิเลสเพียงดังเนินภายในตน’ พึงหวัง
ข้อนี้ได้ คือเขาจักไม่ทำความพอใจให้เกิดขึ้น จักไม่พยายาม จักไม่ปรารภความเพียร
เพื่อละกิเลสเพียงดังเนินนั้น เขาจักเป็นผู้มีราคะ โทสะ โมหะ มีกิเลสเพียงดังเนิน
มีจิตเศร้าหมองตายไป
บรรดาบุคคล ๔ ประเภทนั้น บุคคลผู้มีกิเลสเพียงดังเนินและรู้ชัดตามความ
เป็นจริงว่า ‘เรามีกิเลสเพียงดังเนินภายในตน’ พึงหวังข้อนี้ได้ คือเขาจักทำความ
พอใจให้เกิดขึ้น จักพยายาม จักปรารภความเพียรเพื่อละกิเลสเพียงดังเนินนั้น
เขาจักเป็นผู้ไม่มีราคะ โทสะ โมหะ ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน มีจิตไม่เศร้าหมอง
ตายไป เปรียบเหมือนภาชนะสำริดที่เขานำมาจากร้านตลาด หรือจากตระกูลช่างทอง
มีฝุ่นและสนิมจับเกรอะกรัง เจ้าของจะพึงใช้สอยและขัดสีภาชนะสำริดนั้น ทั้งไม่
เก็บมันไว้ในที่ที่มีฝุ่นละอองฉะนั้น เมื่อเป็นเช่นนั้น ต่อมาภาชนะสำริดนั้นพึงเป็นของ
บริสุทธิ์ผ่องใส”
ท่านพระมหาโมคคัลลานะถามว่า “อย่างนั้นหรือ ท่านผู้มีอายุ”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “อย่างนั้นนั่นแล ท่านผู้มีอายุ บุคคลผู้มีกิเลสเพียง
ดังเนินและรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘เรามีกิเลสเพียงดังเนินภายในตน’ พึงหวังข้อนี้ได้
คือเขาจักทำความพอใจให้เกิดขึ้น จักพยายาม จักปรารภความเพียรเพื่อละกิเลส
เพียงดังเนินนั้น เขาจักเป็นผู้ไม่มีราคะ โทสะ โมหะ ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน มีจิต
ไม่เศร้าหมองตายไป
บรรดาบุคคล ๔ ประเภทนั้น บุคคลผู้ไม่มีกิเลสเพียงดังเนินและไม่รู้ชัดตามความ
เป็นจริงว่า ‘เราไม่มีกิเลสเพียงดังเนินภายในตน’ พึงหวังข้อนี้ได้ คือเขาจักมนสิการ
สุภนิมิต(เครื่องหมายว่างาม) เพราะมนสิการสุภนิมิตนั้น ราคะจักครอบงำจิตได้ เขาจัก
เป็นผู้มีราคะ โทสะ โมหะ มีกิเลสเพียงดังเนิน มีจิตเศร้าหมองตายไป เปรียบเหมือน
ภาชนะสำริดที่เขานำมาจากร้านตลาด หรือจากตระกูลช่างทอง เป็นของบริสุทธิ์ผ่องใส
แต่เจ้าของไม่ได้ใช้สอย ทั้งไม่ขัดสีภาชนะสำริดนั้น ซ้ำยังเก็บมันไว้ในที่ที่มีฝุ่นละออง
ฉะนั้น เมื่อเป็นเช่นนั้น ต่อมาภาชนะสำริดนั้นพึงเป็นของเศร้าหมอง สนิมจับได้”
ท่านพระมหาโมคคัลลานะถามว่า “อย่างนั้นหรือ ท่านผู้มีอายุ”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “อย่างนั้นนั่นแล ท่านผู้มีอายุ บุคคลผู้ไม่มีกิเลส
เพียงดังเนินและไม่รู้ตามความเป็นจริงว่า ‘เราไม่มีกิเลสเพียงดังเนินภายในตน’
พึงหวังข้อนี้ได้ คือเขาจักมนสิการสุภนิมิต เพราะมนสิการสุภนิมิตนั้น ราคะจัก
ครอบงำจิตได้ เขาจักเป็นผู้มีราคะ โทสะ โมหะ มีกิเลสเพียงดังเนิน มีจิตเศร้า
หมองตายไป
บรรดาบุคคล ๔ ประเภทนั้น บุคคลผู้ไม่มีกิเลสเพียงดังเนินและรู้ชัดตามความ
เป็นจริงว่า ‘เราไม่มีกิเลสเพียงดังเนินภายในตน’ พึงหวังข้อนี้ได้ คือเขาจักไม่
มนสิการสุภนิมิต เพราะไม่มนสิการสุภนิมิตนั้น ราคะจักไม่ครอบงำจิต เขาจักเป็น
ผู้ไม่มีราคะ โทสะ โมหะ ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน มีจิตไม่เศร้าหมองตายไป
เปรียบเหมือนภาชนะสำริดที่เขานำมาจากร้านตลาด หรือจากตระกูลช่างทองเป็นของ
บริสุทธิ์ผ่องใส เจ้าของใช้สอยและขัดสีภาชนะสำริดนั้น ทั้งไม่เก็บมันไว้ในที่ที่มีฝุ่นละออง
ฉะนั้น เมื่อเป็นเช่นนั้น ต่อมา ภาชนะสำริดนั้นพึงเป็นของบริสุทธิ์ผ่องใสยิ่งนัก”
ท่านพระมหาโมคคัลลานะถามว่า “อย่างนั้นหรือ ท่านผู้มีอายุ”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “อย่างนั้นนั่นแล ท่านผู้มีอายุ บุคคลผู้ไม่มีกิเลส
เพียงดังเนินและรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘เราไม่มีกิเลสเพียงดังเนินภายในตน’ พึงหวัง
ข้อนี้ได้ คือเขาจักไม่มนสิการสุภนิมิต เพราะไม่มนสิการสุภนิมิตนั้น ราคะจักไม่
ครอบงำจิต เขาจักเป็นผู้ไม่มีราคะ โทสะ โมหะ ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน มีจิตไม่
เศร้าหมองตายไป
ท่านโมคคัลลานะ นี้แลเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ที่บรรดาบุคคล ๒ ประเภทผู้มี
กิเลสเพียงดังเนินเหมือนกันนี้ บุคคลหนึ่งบัณฑิตกล่าวว่า ‘เป็นบุรุษต่ำทราม’ แต่
อีกบุคคลหนึ่งบัณฑิตกล่าวว่า ‘เป็นบุรุษประเสริฐ’ และนี้แลเป็นเหตุ เป็นปัจจัย
ที่บรรดาบุคคล ๒ ประเภทผู้ไม่มีกิเลสเพียงดังเนินเหมือนกันนี้ บุคคลหนึ่งบัณฑิต
กล่าวว่า ‘เป็นบุรุษต่ำทราม’ แต่อีกบุคคลหนึ่งบัณฑิตกล่าวว่า ‘เป็นบุรุษประเสริฐ’
เชิงอรรถ
A ดูเชิงอรรถที่ ๕ ข้อ ๕๒ (ภยเภรวสูตร) หน้า ๔๑ ในเล่มนี้
B ตน ในที่นี้หมายถึงจิตตสันดาน (ม.มู.อ. ๑/๕๗/๑๕๑,๖๕/๑๖๙)

บาลี



รออัพเดต

อรรถกถา


รออัพเดต

สนทนาธรรม

comments

Comments are closed.