12-004 กำหนดภูมิตามนัยที่ 3 ว่าด้วยพระขีณาสพ



พระไตรปิฎก


กำหนดภูมิตามนัยที่ ๓ ว่าด้วยพระขีณาสพ
{๔} [๘] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดเป็นอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว A
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้น
ภวสังโยชน์ B แล้ว หลุดพ้นเพราะรู้โดยชอบ แม้ภิกษุนั้นก็รู้ยิ่งปฐวีโดยความเป็นปฐวี
ครั้นรู้ยิ่งปฐวีโดยความเป็นปฐวีแล้ว ไม่กำหนดหมายซึ่งปฐวี ไม่กำหนดหมายในปฐวี
ไม่กำหนดหมายนอกปฐวี ไม่กำหนดหมายปฐวีว่าเป็นของเรา ไม่ยินดีปฐวี
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เรากล่าวว่า ‘เพราะเขากำหนดรู้แล้ว’
ฯลฯ รู้ยิ่งอาโป … เตโช … วาโย … ภูต … เทวดา … ปชาบดี … พรหม …
อาภัสสรพรหม … สุภกิณหพรหม … เวหัปผลพรหม … อภิภูสัตว์ …
อากาสานัญจายตนพรหม … วิญญาณัญจายตนพรหม … อากิญจัญญายตนพรหม
… เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม … รูปที่ตนเห็น … เสียงที่ตนได้ยิน … อารมณ์
ที่ตนทราบ … อารมณ์ที่ตนรู้แจ้ง … ความที่จิตที่เป็นฌานสมาบัติเป็นอันเดียวกัน …
ความที่กามจิตต่างกัน … สักกายะทั้งปวง … รู้ยิ่งนิพพานโดยความเป็นนิพพาน
ครั้นรู้ยิ่งนิพพานโดยความเป็นนิพพานแล้ว ไม่กำหนดหมายซึ่งนิพพาน ไม่กำหนด
หมายในนิพพาน ไม่กำหนดหมายนอกนิพพาน ไม่กำหนดหมายนิพพานว่าเป็น
ของเรา ไม่ยินดีนิพพาน
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เรากล่าวว่า ‘เพราะเขากำหนดรู้แล้ว’
กำหนดภูมิตามนัยที่ ๓ ว่าด้วยพระขีณาสพ จบ
เชิงอรรถ
A อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว หมายถึงอยู่จบธรรมเป็นเครื่องอยู่ร่วมกับครูบ้าง ธรรมเป็นเครื่องอยู่ร่วมคือ
อริยมรรคบ้าง ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระอริยะ ๑๐ ประการบ้าง (ม.มู.อ. ๑/๘/๔๗)
B สิ้นภวสังโยชน์แล้ว หมายถึงสังโยชน์ ๑๐ ประการ คือ (๑) กามราคะ (๒) ปฏิฆะ (๓) มานะ (๔) ทิฏฐิ
(๕) วิจิกิจฉา (๖) สีลัพพตปรามาส (๗) ภวราคะ (๘) อิสสา (๙) มัจฉริยะ (๑๐) อวิชชา
สังโยชน์เหล่านี้ เรียกว่า ภวสังโยชน์ เพราะผูกพันหมู่สัตว์ไว้ในภพน้อยภพใหญ่ (ม.มู.อ. ๑/๘/๔๗)

บาลี



รออัพเดต

อรรถกถา


รออัพเดต

สนทนาธรรม

comments

Comments are closed.