02-130 สิกขาบทวิภังค์



พระไตรปิฎก


สิกขาบทวิภังค์
{๙๘}[๕๗๓] คำว่า ก็…แก่ภิกษุผู้เดินทางไกล ได้แก่ ภิกษุผู้เดินทาง
คำว่า ขนเจียมเกิดขึ้น คือ เกิดจากสงฆ์ จากคณะ จากญาติ จากมิตร
หรือที่เป็นของบังสุกุล หรือที่ได้มาด้วยทรัพย์ของตน
คำว่า ต้องการ คือ เมื่อต้องการก็รับไว้ได้
คำว่า ครั้นรับแล้ว… พึงนำไปเองตลอดระยะ ๓ โยชน์เป็นอย่างมาก คือ
นำไปเองได้ ๓ โยชน์
คำว่า เมื่อไม่มีคนนำไปให้ ความว่า ไม่มีคนอื่น คือ สตรี บุรุษ คฤหัสถ์
หรือบรรพชิต คอยช่วยนำไป
คำว่า ถ้าเมื่อไม่มีคนนำไปให้ นำไปไกลกว่านั้น อธิบายว่า ภิกษุย่างเท้าที่ ๑
ผ่าน ๓ โยชน์ไป ต้องอาบัติทุกกฏ ย่างเท้าที่ ๒ ผ่านไป ขนเจียมทั้งหลายเป็นนิสสัคคีย์
ภิกษุยืนอยู่ภายในระยะ ๓ โยชน์ โยนขนเจียมออกนอกระยะ ๓ โยชน์ ขนเจียม
ทั้งหลายเป็นนิสสัคคีย์ ภิกษุซ่อนขนเจียมในยานพาหนะหรือในห่อของของผู้อื่นที่เขา
ไม่รู้ ย่างเท้าไปเกิน ๓ โยชน์ ขนเจียมทั้งหลายเป็นนิสสัคคีย์ คือเป็นของจำต้อง
สละแก่สงฆ์ แก่คณะหรือแก่บุคคล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละขนเจียมที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้

บาลี



รออัพเดต

อรรถกถา


รออัพเดต

สนทนาธรรม

comments

Comments are closed.