02-007 สิกขาบทวิภังค์



พระไตรปิฎก


สิกขาบทวิภังค์
{๓}[๔๖๓] คำว่า เมื่อจีวร…สำเร็จแล้ว หมายความว่า จีวรของภิกษุเสร็จแล้ว
สูญหายแล้ว ฉิบหายแล้ว ถูกไฟไหม้เสียแล้ว หรือภิกษุหมดหวังว่าจะได้ผ้ามาเย็บ
เป็นจีวร
คำว่า เมื่อกฐินเดาะแล้ว หมายความว่า กฐินเดาะด้วยมาติกาอย่างใด
อย่างหนึ่งในมาติกา ๘ A หรือสงฆ์เดาะกฐินในระหว่าง B
คำว่า ๑๐ วันเป็นอย่างมาก คือ ครอบครองไว้ได้ ๑๐ วันเป็นอย่างมาก
ชื่อว่า อติเรกจีวร ได้แก่ จีวรที่ไม่ได้อธิษฐาน C ไม่ได้วิกัป D
ที่ชื่อว่า จีวร ได้แก่ จีวร ๖ ชนิด E อย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งมีขนาดพอที่จะทำ
วิกัปได้เป็นอย่างต่ำ
คำว่า ให้เกินกำหนดนั้นไป ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ ความว่า เมื่อรุ่ง
อรุณวันที่ ๑๑ จีวรผืนนั้นเป็นนิสสัคคีย์ คือ เป็นของจำต้องสละแก่สงฆ์ แก่คณะ
หรือแก่บุคคล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้
เชิงอรรถ
A มาติกา คือหัวข้อแห่งการเดาะกฐิน ๘ ประการ คือ
(๑) ปักกมนันติกา กฐินเดาะกำหนดด้วยการที่ภิกษุหลีกไป ไม่คิดจะกลับ
(๒) นิฏฐานันติกา กฐินเดาะกำหนดด้วยการที่ภิกษุนำผ้าไปนอกสีมา
แล้วตัดเย็บจีวร ไม่คิดจะกลับ
(๓) สันนิฏฐานันติกา กฐินเดาะกำหนดด้วยการที่ภิกษุนำผ้าไปนอกสีมา
แล้วตกลงใจ จะไม่ตัดเย็บจีวร และไม่คิดจะกลับ
(๔) นาสนันติกา กฐินเดาะกำหนดด้วยการที่ภิกษุนำผ้าไปนอกสีมา
ตัดเย็บเป็นจีวร ไม่คิดจะกลับ ผ้าที่ตัดเย็บเป็นจีวรเสียหายไป
(๕) สวนันติกา กฐินเดาะกำหนดด้วยการ ที่ภิกษุนำผ้าไปนอกสีมา
คิดว่าจะกลับ ตัดเย็บจีวรเสร็จแล้วได้ฟังข่าวว่า กฐินในวัดของตนเดาะเสียแล้ว
(๖) อาสาวัจเฉทิกา กฐินเดาะกำหนดด้วยการที่ภิกษุหลีกไปนอกสีมา
ด้วยหวังว่าจะได้ผ้า รอคอยผ้าจนหมดหวัง
(๗) สีมาติกกันติกา กฐินเดาะกำหนดด้วยการที่ภิกษุนำผ้าไปตัดเย็บจีวร
อยู่นอกสีมา คิดจะกลับ แต่อยู่นอกสีมาจนกระทั่งกฐินเดาะ
(๘) สหุพภารา กฐินเดาะกำหนดด้วยการที่ภิกษุนำผ้าไปตัดเย็บจีวรอยู่
นอกสีมาคิดว่า จะกลับ จะกลับ
แต่สงฆ์ในวัดของตนพร้อมใจกันเดาะกฐินเสียก่อน (วิ.ม. ๕/๓๑๐/๙๕)
B สงฆ์เดาะกฐินในระหว่าง คือสงฆ์กรานกฐินแล้ว ยังไม่พ้นเขตจีวรกาล
มีทายกต้องการจะถวายอกาลจีวร มาขอให้สงฆ์เดาะกฐิน
คือยกเลิกอานิสงส์กฐินในระหว่างจีวรกาล (ก่อนหมดเขตอานิสงส์กฐิน)
พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้เดาะกฐินได้
(วิ.ภิกขุนี. ๓/๙๒๕/๙๒๖/๑๒๑/๑๒๒)
C อธิษฐาน คือการตั้งเอาไว้หรือตั้งใจกำหนดเอาไว้ ได้แก่
ตั้งใจกำหนดเอาไว้ว่าจะเป็นของประจำตัวชนิดนั้น ๆ เช่น ไตรจีวร บาตร วิธีอธิษฐาน
ใช้กายคือมือสัมผัส หรือเปล่งวาจาก็ได้ (วิ.ป. ๘/๓๒๒/๒๖๑, วิ.อ. ๒/๔๖๙/๑๔๗)
D เรื่องเดียวกัน คำว่า วิกัป คือทำให้เป็นของสองเจ้าของ
คือขอให้ภิกษุสามเณรรูปอื่นร่วมเป็นเจ้าของสิ่งที่
วิกัปนั้น ทำให้ไม่ต้องอาบัติ แม้จะเก็บไว้เกินกำหนด
E จีวร ๖ ชนิด คือ โขมะ(จีวรผ้าเปลือกไม้) กัปปาสิกะ (จีวรผ้าฝ้าย)
โกเสยยะ (จีวรผ้าไหม) กัมพละ (จีวร ผ้าขนสัตว์) สาณะ (จีวรผ้าป่าน)
ภังคะ (จีวรผ้าผสม) (วิ.อ. ๒/๔๖๒-๔๖๓/๑๔๒)

บาลี



รออัพเดต

อรรถกถา


รออัพเดต

สนทนาธรรม

comments

Comments are closed.