01-581 บทภาชนีย์



พระไตรปิฎก


บทภาชนีย์
ปฏิญญาตกรณะ A
เห็นกำลังนั่งเสพเมถุน

[๔๔๖] ถ้าอุบาสิกานั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ากำลังนั่งเสพ
เมถุนกับมาตุคาม” และภิกษุนั้นก็ยอมรับการนั่งนั้น พึงปรับตามอาบัติ
ถ้าอุบาสิกานั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ากำลังนั่งเสพเมถุนกับ
มาตุคาม” ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “อาตมานั่งจริง แต่ไม่ได้เสพเมถุนธรรม” พึง
ปรับอาบัติเพราะนั่ง
ถ้าอุบาสิกานั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ากำลังนั่งเสพเมถุนกับ
มาตุคาม” ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “อาตมาไม่ได้นั่ง แต่นอน” พึงปรับอาบัติ
เพราะนอน
{๖๓๖} ถ้าอุบาสิกานั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ากำลังนั่งเสพเมถุนกับ
มาตุคาม” ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “อาตมาไม่ได้นั่ง แต่ยืนอยู่” ไม่พึงปรับอาบัติ
เห็นกำลังนอนเสพเมถุน
{๖๓๗} [๔๔๗] ถ้าอุบาสิกานั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ากำลังนอน
เสพเมถุนกับมาตุคาม” และภิกษุนั้นยอมรับการนอนนั้น พึงปรับตามอาบัติ
ถ้าอุบาสิกานั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ากำลังนอนเสพเมถุนกับ
มาตุคาม” ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “อาตมานอนจริง แต่ไม่ได้เสพเมถุน” พึง
ปรับอาบัติเพราะนอน
ถ้าอุบาสิกานั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ากำลังนอนเสพเมถุนกับ
มาตุคาม” ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “อาตมาไม่ได้นอน แต่นั่งอยู่” พึงปรับอาบัติ
เพราะนั่ง
ถ้าอุบาสิกานั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ากำลังนอนเสพเมถุนกับ
มาตุคาม” ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “อาตมาไม่ได้นอน แต่ยืนอยู่” ไม่พึงปรับอาบัติ
เห็นกำลังนั่งถูกต้องกาย
{๖๓๘} [๔๔๘] ถ้าอุบาสิกานั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ากำลังนั่งถูก
ต้องกายกับมาตุคาม” และภิกษุนั้นยอมรับการนั่งนั้น พึงปรับตามอาบัติ
ถ้าอุบาสิกานั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ากำลังนั่งถูกต้องกายกับ
มาตุคาม” ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “อาตมานั่งจริง แต่ไม่ได้ถูกต้องกาย” พึงปรับ
อาบัติเพราะการนั่ง ฯลฯ “อาตมาไม่ได้นั่ง แต่นอนอยู่” พึงปรับอาบัติเพราะนอน
ฯลฯ “อาตมาไม่ได้นั่ง แต่ยืนอยู่” ไม่พึงปรับอาบัติ
เห็นกำลังนอนถูกต้องกาย
{๖๓๙} ถ้าอุบาสิกานั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ากำลังนอนถูกต้องกาย
กับมาตุคาม” และภิกษุนั้นยอมรับการนอนนั้น พึงปรับตามอาบัติ
ถ้าอุบาสิกานั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ากำลังนอนถูกต้องกาย
กับมาตุคาม” ถ้าภิกษุกล่าวอย่างนี้ว่า “อาตมานอนจริง แต่ไม่ได้ถูกต้องกาย” พึง
ปรับอาบัติเพราะนอน ฯลฯ “อาตมาไม่ได้นอนแต่นั่งอยู่” พึงปรับอาบัติเพราะนั่ง
ฯลฯ “อาตมาไม่ได้นอน แต่ยืนอยู่” ไม่พึงปรับอาบัติ
เห็นนั่งในที่ลับ
{๖๔๐} [๔๔๙] ถ้าอุบาสิกานั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ดิฉันเห็นพระคุณเจ้านั่งบนอาสนะ
ที่กำบังในที่ลับพอจะทำการได้กับมาตุคามสองต่อสอง” และภิกษุนั้นยอมรับการนั่ง
นั้น พึงปรับอาบัติเพราะนั่ง ฯลฯ “อาตมาไม่ได้นั่ง แต่นอนอยู่” พึงปรับอาบัติ
เพราะนอน ฯลฯ “อาตมาไม่ได้นั่ง แต่ยืนอยู่” ไม่พึงปรับอาบัติ
เห็นนอนในที่ลับ
{๖๔๑} [๔๕๐] ถ้าอุบาสิกานั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ดิฉันเห็นพระคุณเจ้านอนบนอาสนะ
ที่กำบังในที่ลับพอจะทำการได้กับมาตุคามสองต่อสอง” และภิกษุนั้นยอมรับการ
นอนนั้น พึงปรับอาบัติเพราะนอน ฯลฯ “อาตมาไม่ได้นอน แต่นั่งอยู่” พึงปรับอาบัติ
เพราะนั่ง ฯลฯ “อาตมาไม่ได้นอน แต่ยืนอยู่” ไม่พึงปรับอาบัติ
{๖๔๒} คำว่า อนิยต คือ ไม่แน่ว่าจะเป็นปาราชิก เป็นสังฆาทิเสส หรือเป็นปาจิตตีย์
{๖๔๓} [๔๕๑] ภิกษุยอมรับการไป ยอมรับการนั่ง ยอมรับอาบัติ พึงปรับตามอาบัติ
ภิกษุยอมรับการไป ไม่ยอมรับการนั่ง ยอมรับอาบัติ พึงปรับตามอาบัติ
ภิกษุยอมรับการไป ยอมรับการนั่ง ไม่ยอมรับอาบัติ พึงปรับอาบัติเพราะนั่ง
ภิกษุยอมรับการไป ไม่ยอมรับการนั่ง ไม่ยอมรับอาบัติ ไม่พึงปรับอาบัติ
ภิกษุไม่ยอมรับการไป ยอมรับการนั่ง ยอมรับอาบัติ พึงปรับตามอาบัติ
ภิกษุไม่ยอมรับการไป ไม่ยอมรับการนั่ง ยอมรับอาบัติ พึงปรับตามอาบัติ
ภิกษุไม่ยอมรับการไป ยอมรับการนั่ง ไม่ยอมรับอาบัติ พึงปรับอาบัติเพราะนั่ง
ภิกษุไม่ยอมรับการไป ไม่ยอมรับการนั่ง ไม่ยอมรับอาบัติ ไม่พึงปรับอาบัติ
ปฐมอนิยตสิกขาบท จบ
เชิงอรรถ
A คำว่า ปฏิญญาตกรณะ แปลว่า ทำตามรับ
ได้แก่ปรับอาบัติตามปฏิญญาของจำเลยผู้รับความจริง, สารภาพความจริง

บาลี



รออัพเดต

อรรถกถา


รออัพเดต

สนทนาธรรม

comments

Comments are closed.