01-571 สิกขาบทวิภังค์



พระไตรปิฎก


สิกขาบทวิภังค์
{๖๒๒} [๔๓๗] คำว่า ก็ภิกษุ…หมู่บ้านหรือนิคมแห่งใดแห่งหนึ่ง ความว่า หมู่
บ้านก็ดี นิคมก็ดี เมืองก็ดี ชื่อว่าหมู่บ้านและนิคม
คำว่า อยู่อาศัย คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร
เนื่องในหมู่บ้านและนิคมนั้น
ชื่อว่า ตระกูล หมายถึงตระกูล ๔ ได้แก่ ตระกูลกษัตริย์ ตระกูลพราหมณ์
ตระกูลแพศย์และตระกูลศูทร
คำว่า ประทุษร้ายตระกูล คือ ประทุษร้ายตระกูลด้วยดอกไม้ ผลไม้ แป้ง ดิน
เหนียว ไม้สีฟัน ไม้ไผ่ การแพทย์หรือการสื่อสาร
คำว่า มีความประพฤติเลวทราม คือ ปลูกไม้ดอกเองบ้าง ใช้ผู้อื่นปลูกบ้าง
รดน้ำเองบ้าง ใช้ผู้อื่นรดบ้าง เก็บดอกไม้เองบ้าง ใช้ผู้อื่นเก็บบ้าง ร้อยดอกไม้เองบ้าง
ใช้ผู้อื่นร้อยบ้าง
{๖๒๓} คำว่า เขาได้เห็นและได้ยินกันทั่ว คือ กลุ่มชนที่อยู่เฉพาะหน้าชื่อว่า ได้เห็น
กลุ่มชนที่อยู่ลับหลัง ชื่อว่าได้ยิน
คำว่า ตระกูลทั้งหลายที่เธอประทุษร้าย คือ เมื่อก่อนชาวบ้านมีศรัทธา
กลับกลายเป็นผู้ไม่มีศรัทธา เมื่อก่อนเลื่อมใสกลับกลายเป็นผู้ไม่เลื่อมใส เพราะภิกษุนั้น
คำว่า เขาได้เห็นและได้ยินกันทั่ว คือ กลุ่มชนที่อยู่เฉพาะหน้าชื่อว่าได้เห็น
กลุ่มชนที่อยู่ลับหลังชื่อว่าได้ยิน
{๖๒๔} คำว่า ภิกษุนั้น ได้แก่ ภิกษุผู้ประทุษร้ายตระกูล
คำว่า อันภิกษุทั้งหลาย ได้แก่ อันภิกษุเหล่าอื่น
อธิบายว่า ภิกษุผู้ได้เห็น ผู้ได้ยินพึงว่ากล่าวตักเตือนภิกษุผู้ประทุษร้ายตระกูลว่า
“ท่านประทุษร้ายตระกูล ประพฤติเลวทราม ความประพฤติเลวทรามของท่าน เขา
ได้เห็นและได้ยินกันทั่ว ตระกูลทั้งหลายที่ท่านประทุษร้าย เขาก็ได้เห็นและได้ยินกันทั่ว
ท่านจงออกจากอาวาสนี้ อย่าอยู่ที่นี้”
ภิกษุนั้นอันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวตักเตือน ก็โต้ตอบภิกษุทั้งหลายว่า “พวก
ภิกษุลำเอียงเพราะความพอใจ ลำเอียงเพราะความขัดเคือง ลำเอียงเพราะความหลง
ลำเอียงเพราะความกลัว ขับภิกษุบางรูป ไม่ขับบางรูป เพราะอาบัติอย่างเดียวกัน”
{๖๒๕} คำว่า ภิกษุนั้น ได้แก่ ภิกษุผู้ที่ถูกลงโทษนั้น
คำว่า อันภิกษุทั้งหลาย ได้แก่ อันภิกษุเหล่าอื่น
อธิบายว่า ภิกษุผู้ได้เห็น ผู้ได้ยินพึงว่ากล่าวตักเตือนภิกษุผู้ประทุษร้ายตระกูลว่า
“ท่านอย่าพูดอย่างนั้น ภิกษุทั้งหลายไม่ลำเอียงเพราะความพอใจ ไม่ลำเอียงเพราะ
ความขัดเคือง ไม่ลำเอียงเพราะความหลง ไม่ลำเอียงเพราะความกลัว ท่านประทุษ
ร้ายตระกูล ประพฤติเลวทราม ความประพฤติเลวทรามของท่าน เขาได้เห็นและได้
ยินกันทั่ว ตระกูลทั้งหลายที่ท่านประทุษร้าย เขาก็ได้เห็นและได้ยินกันทั่ว ท่านจง
ออกจากอาวาสนี้ อย่าอยู่ที่นี้” พึงว่ากล่าวตักเตือนแม้ครั้งที่ ๒ พึงว่ากล่าวตักเตือน
เธอแม้ครั้งที่ ๓ ถ้าเธอสละได้ นั่นเป็นการดี ถ้าไม่สละ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้ง
หลายได้ยินแล้วไม่ว่ากล่าวตักเตือน ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุนั้นอันภิกษุทั้งหลายพึง
คุมตัวมาสู่ท่ามกลางสงฆ์ว่ากล่าวตักเตือนว่า “ท่านอย่าพูดอย่างนั้น ภิกษุทั้งหลาย
ไม่ลำเอียงเพราะความพอใจ ไม่ลำเอียงเพราะความขัดเคือง ไม่ลำเอียงเพราะ
ความหลง ไม่ลำเอียงเพราะความกลัว ท่านประทุษร้ายตระกูล ประพฤติเลวทราม
ความประพฤติเลวทรามของท่าน เขาได้เห็นและได้ยินกันทั่ว ตระกูลทั้งหลายที่ท่าน
ประทุษร้าย เขาก็ได้เห็นและได้ยินกันทั่ว ท่านจงออกจากอาวาสนี้ อย่าอยู่ที่นี้”
พึงว่ากล่าวตักเตือนเธอแม้ครั้งที่ ๒ พึงว่ากล่าวตักเตือนเธอแม้ครั้งที่ ๓ ถ้าเธอ
สละได้ นั่นเป็นการดี ถ้าไม่สละ ต้องอาบัติทุกกฏ สงฆ์พึงสวดสมนุภาสน์เธอ
วิธีสวดสมนุภาสน์ และกรรมวาจาสวดสมนุภาสน์
{๖๒๖} สงฆ์พึงสวดสมนุภาสน์ภิกษุนั้นอย่างนี้ คือ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศ
ให้สงฆ์ทราบว่า
[๔๓๘] ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้ ถูกสงฆ์ทำปัพพาชนีย
กรรมแล้วใส่ความภิกษุทั้งหลายว่ามีความลำเอียงเพราะความพอใจ มีความลำเอียง
เพราะความขัดเคือง มีความลำเอียงเพราะความหลง มีความลำเอียงเพราะความกลัว
ภิกษุนั้นไม่ยอมสละเรื่องนั้น ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงสวดสมนุภาสน์ภิกษุชื่อนี้ เพื่อ
ให้สละเรื่องนั้น นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้ถูกสงฆ์ทำปัพพาชนียกรรมแล้ว
ใส่ความภิกษุทั้งหลายว่า มีความลำเอียงเพราะความพอใจ มีความลำเอียงเพราะ
ความขัดเคือง มีความลำเอียงเพราะความหลง มีความลำเอียงเพราะความกลัว
ภิกษุนั้นไม่ยอมสละเรื่องนั้น สงฆ์สวดสมนุภาสน์เธอเพื่อให้สละเรื่องนั้น ท่านรูปใด
เห็นด้วยกับการสวดสมนุภาสน์ภิกษุชื่อนี้เพื่อให้สละเรื่องนั้น ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่าน
รูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่ ๓ ว่า
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ฯลฯ ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
ภิกษุชื่อนี้สงฆ์สวดสมนุภาสน์แล้วเพื่อให้สละเรื่องนั้น สงฆ์เห็นด้วย เพราะ
ฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
{๖๒๗} [๔๓๙] จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย
จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ต้องอาบัติสังฆาทิเสส เมื่อเธอต้องอาบัติสังฆาทิเสส
อาบัติทุกกฏ(ที่ต้อง) เพราะญัตติ อาบัติถุลลัจจัย(ที่ต้อง) เพราะกรรมวาจา ๒ ครั้ง
ย่อมระงับไป
คำว่า เป็นสังฆาทิเสส ความว่า สำหรับอาบัตินั้น สงฆ์เท่านั้นให้ปริวาส ชัก
เข้าหาอาบัติเดิม ให้มานัตและเรียกเข้าหมู่ คณะทำไม่ได้ ภิกษุรูปเดียวก็ทำไม่ได้
ฉะนั้น จึงตรัสว่า “เป็นสังฆาทิเสส”
คำว่า เป็นสังฆาทิเสส นั้น เป็นการขนานนาม เป็นคำเรียกหมวดอาบัตินั้น
โดยอ้อมนั่นเอง เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกว่า “เป็นสังฆาทิเสส”

บาลี



รออัพเดต

อรรถกถา


รออัพเดต

สนทนาธรรม

comments

Comments are closed.