01-214 สิกขาบทวิภังค์



พระไตรปิฎก


สิกขาบทวิภังค์
{๑๘๑} [๑๗๒] คำว่า อนึ่ง…ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
อนึ่ง…ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่า ภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
คำว่า จงใจ ได้แก่ รู้อยู่ รู้ดีอยู่ จงใจ ตั้งใจ ล่วงละเมิด
ที่ชื่อว่า กายมนุษย์ ได้แก่ จิตดวงแรกเกิด คือวิญญาณดวงแรกปรากฏขึ้นใน
ครรภ์มารดา จนถึงเวลาตาย อัตภาพในระหว่างนี้ชื่อว่ากายมนุษย์
คำว่า พรากจากชีวิต ได้แก่ ตัดทำลายชีวิตินทรีย์ ตัดความสืบต่อ
คำว่า แสวงหาศัสตราอันจะพรากกายมนุษย์นั้น ได้แก่ แสงหาดาบ หอก
ฉมวก หลาว ค้อน หิน มีด ยาพิษ หรือเชือก
{๑๘๒} คำว่า กล่าวพรรณนาคุณความตาย ได้แก่ แสดงโทษในความมีชีวิตอยู่
พรรณนาคุณความตาย
{๑๘๓} คำว่า ชักชวนเพื่อให้ตาย คือ ชักชวนให้นำมีดมา ให้กินยาพิษหรือให้เอา
เชือกผูกคอตาย
{๑๘๔} คำว่า ท่านผู้เจริญ เป็นคำร้องเรียก
คำว่า จะมีชีวิตอย่างลำบากยากเข็ญนี้ไปทำไม ท่านตายเสียดีกว่า นั้นมี
อธิบายว่า ชีวิตที่ชื่อว่ายากแค้น คือ เทียบชีวิตของคนมั่งคั่ง ชีวิตของคนขัดสนก็ชื่อ
ว่ายากแค้น เทียบชีวิตของคนมีทรัพย์ ชีวิตของคนไม่มีทรัพย์ก็ชื่อว่ายากแค้น
เทียบชีวิตของพวกเทวดา ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลายก็ชื่อว่ายากแค้น
ที่ชื่อว่า ชีวิตลำบาก ได้แก่ ชีวิตคนมือขาด เท้าขาด ทั้งมือและเท้าขาด หูแหว่ง
จมูกวิ่น ทั้งหูแหว่งและจมูกวิ่น มีชีวิตอยู่อย่างยากเข็ญเช่นนี้ไปทำไม ตายเสียดีกว่าอยู่
คำว่า มีจิตใจอย่างนี้ ได้แก่ จิตคือใจ ใจคือจิต
คำว่า มีดำริในใจอย่างนี้ คือ มีความมั่นหมายจะให้ตาย มีเจตจำนงจะ
ให้ตาย มีความประสงค์จะให้ตาย
คำว่า โดยประการต่าง ๆ คือ โดยอาการสูงต่ำ
คำว่า กล่าวพรรณนาคุณความตาย ได้แก่ แสดงโทษของชีวิต พรรณนาคุณ
ความตายว่า หลังจากตายแล้ว ท่านจักไปบังเกิดในสุคติโลกสวรรค์ จักเอิบอิ่มพรั่ง
พร้อมด้วยกามคุณ ๕ อันเป็นทิพย์ในที่นั้น
{๑๘๕} คำว่า ชักชวนเพื่อความตาย คือ ชักชวนให้นำมีดมา ให้กินยาพิษ ให้ใช้
เชือกผูกคอตาย ให้โดดลงบ่อ ลงเหว หรือที่ผาชัน
{๑๘๖} คำว่า แม้ภิกษุนี้ พระผู้มีพระภาค ตรัสเทียบเคียงกับภิกษุ ๒ รูปแรก A
คำว่า เป็นปาราชิก อธิบายว่า ภิกษุผู้จงใจพรากกายมนุษย์เสียจากชีวิต
ย่อมไม่เป็นสมณะไม่เป็นเชื้อสายศากยบุตร เปรียบเหมือนแผ่นศิลาหนาแตกออกเป็น
๒ เสี่ยงจะประสานให้สนิทเป็นเนื้อเดียวกันอีกไม่ได้ ดังนั้นพระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
เป็นปาราชิก
คำว่า หาสังวาสมิได้ อธิบายว่า ที่ชื่อว่า สังวาส ได้แก่ กรรมที่ทำร่วมกัน
อุทเทสที่สวดร่วมกัน ความมีสิกขาเสมอกัน นี้ชื่อว่าสังวาส สังวาสนั้นไม่มีกับภิกษุ
รูปนั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า หาสังวาสมิได้
เชิงอรรถ
A ภิกษุ ๒ รูปแรก คือ พระสุทินกลันทบุตรในปฐมปาราชิก
และพระธนิยกุมภการบุตรในทุติยปาราชิก (วิ.อ. ๑/๑๗๒/๔๘๑)

บาลี



รออัพเดต

อรรถกถา


รออัพเดต

สนทนาธรรม

comments

Comments are closed.