25-545 กาม



พระไตรปิฎก


๔. อัฏฐกวรรค หมวดว่าด้วยการไม่ติดอยู่ในกาม
กามสูตร A ว่าด้วยเรื่องกาม

(พระผู้มีพระภาคตรัสแก่พราหมณ์ผู้เป็นชาวนา ณ กรุงสาวัตถีดังนี้)
{๔๐๘} [๗๗๓] ถ้ากาม B นั้นสำเร็จด้วยดีแก่สัตว์นั้น ผู้อยากได้กามอยู่
สัตว์นั้นได้กามตามที่ต้องการแล้ว
ย่อมเป็นผู้อิ่มใจแน่แท้
[๗๗๔] ถ้าเมื่อสัตว์นั้นอยากได้กามอยู่ เกิดความพอใจแล้ว
กามเหล่านั้นเสื่อมไป
สัตว์นั้นย่อมเจ็บปวด เหมือนถูกลูกศรแทง
[๗๗๕] ผู้ใดละกามได้ เหมือนคนเดินเลี่ยงหัวงู
ผู้นั้นมีสติ ล่วงพ้นตัณหาที่ชื่อว่า วิสัตติกา C นี้ในโลก
[๗๗๖] นรชนใดปรารถนาเนือง ๆ ซึ่งไร่นา ที่ดิน เงิน โค ม้า
ทาส บุรุษ สตรี พวกพ้อง หรือกามเป็นอันมาก
[๗๗๗] กิเลสทั้งหลายอันไม่มีกำลังครอบงำนรชนนั้น
อันตรายทั้งหลาย D ย่ำยีนรชนนั้น
เพราะอันตรายนั้น ทุกข์จึงติดตามนรชนนั้นไป
เหมือนน้ำไหลเข้าเรือรั่ว ฉะนั้น
[๗๗๘] เพราะฉะนั้น สัตว์เกิด E พึงมีสติทุกเมื่อ ละกามทั้งหลายได้
ครั้นละกามเหล่านั้นได้แล้ว พึงข้ามโอฆะได้
เหมือนคนวิดน้ำเรือแล้วไปถึงฝั่งได้ ฉะนั้น
กามสูตรที่ ๑ จบ
เชิงอรรถ
A ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑-๖/๑-๒๓
B กาม ในที่นี้หมายถึงวัตถุกาม (ขุ.สุ.อ. ๒/๗๗๓/๓๔๖)
C ดูเชิงอรรถที่ ๒ หน้า ๘๙ ในเล่มนี้
D อันตราย มี ๒ อย่าง (๑) อันตรายที่ปรากฏ คือ ราชสีห์ เสือโคร่ง เป็นต้น
(๒) อันตรายที่ไม่ปรากฏ คือ กายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต เป็นต้น
ในที่นี้หมายถึงอันตรายที่ไม่ปรากฏ (ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๕/๑๖-๑๗,
ขุ.สุ.อ. ๒/๗๗๗/๓๔๗)
E สัตว์เกิด หมายถึงนรชน มานพ บุรุษ บุคคล ผู้มีชีวิต ผู้เป็นไปตามกรรม
(ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๖/๒๓)

บาลี



รออัพเดต

อรรถกถา


รออัพเดต

สนทนาธรรม

comments

Got anything to say? Go ahead and leave a comment!