25-529 พระพุทโธวาทที่ตรัสโปรดพระราหุล



พระไตรปิฎก


๑๑. ราหุลสูตร
ว่าด้วยพระพุทโธวาทที่ตรัสโปรดพระราหุล

{๓๒๘} [๓๓๘] (พระผู้มีพระภาคตรัสถามท่านพระราหุลดังนี้)
เพราะความสนิทสนมกันเกินไป
เธอนึกดูหมิ่นบัณฑิต A บ้างหรือไม่
การชูคบเพลิงแก่มวลมนุษย์ B
เธอยังใส่ใจนอบน้อมอยู่หรือไม่
[๓๓๙] (ท่านพระราหุลทูลตอบดังนี้)
ถึงจะมีความสนิทสนมกันมากสักเพียงใด
ข้าพระองค์ก็ไม่เคยนึกดูหมิ่นบัณฑิตเลย
การชูคบเพลิงแก่มวลมนุษย์
ข้าพระองค์ก็ยังใส่ใจนอบน้อมอยู่เสมอ
[๓๔๐] (พระผู้มีพระภาคตรัสโอวาทดังนี้)
เธอละกามคุณ ๕ ซึ่งน่ารัก น่ารื่นรมย์ใจแล้ว
ออกจากเรือนบวชด้วยศรัทธา
จงทำที่สุดแห่งทุกข์เถิด C
[๓๔๑] เธอจงคบกัลยาณมิตร ยินดีเสนาสนะอันสงัด
ปราศจากเสียงอึกทึกครึกโครม
จงเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภค
[๓๔๒] เธอจงอย่าทำความอยากในปัจจัย ๔ เหล่านี้ คือ
จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชที่เกิดขึ้น
เธออย่ากลับมายังโลกนี้อีกเลย
[๓๔๓] เธอจงเป็นผู้สำรวมในปาติโมกข์ และอินทรีย์ ๕
จงเจริญกายคตาสติกัมมัฏฐาน
จงเป็นผู้เบื่อหน่ายในสังสารวัฏให้มาก
[๓๔๔] จงเว้นสุภนิมิตอันเป็นเหตุให้เกิดราคะเสีย
จงเจริญสมาธิจิตด้วยอสุภภาวนา
จนจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง และตั้งมั่นด้วยดี D
[๓๔๕] จงเจริญกัมมัฏฐานที่ไม่มีนิมิต จงละมานานุสัยกิเลส
เพราะละมานะได้นั่นเอง เธอก็จะเป็นผู้สงบระงับ
ทราบว่า พระผู้มีพระภาคตรัสสอนท่านพระราหุลด้วยคาถาเหล่านี้อยู่เนือง ๆ
ด้วยประการฉะนี้
ราหุลสูตรที่ ๑๑ จบ
เชิงอรรถ
A บัณฑิต ในที่นี้พระผู้มีพระภาคตรัสหมายเอาพระสารีบุตร (ขุ.สุ.อ. ๒/๓๓๘/๑๕๗)
B การชูคบเพลิง ในที่นี้หมายถึงการแสดงธรรม (ขุ.สุ.อ. ๒/๓๓๘/๑๕๗)
C ดูเทียบ ขุ.เถร. (แปล) ๒๖/๑๙๕/๓๖๖
D มีอารมณ์เป็นหนึ่ง หมายถึงแน่วแน่ด้วยอุปจารสมาธิ ตั้งมั่นด้วยดี
หมายถึงตั้งมั่นแนบแน่นด้วยอัปปนาสมาธิ (ขุ.สุ.อ. ๒/๓๔๔/๑๖๐)

บาลี



รออัพเดต

อรรถกถา


รออัพเดต

สนทนาธรรม

comments

Got anything to say? Go ahead and leave a comment!