25-475 ผู้ถูกสักการะครอบงำจิต



พระไตรปิฎก


๒. สักการสูตร
ว่าด้วยผู้ถูกสักการะครอบงำจิต

{๒๕๙} [๘๑] แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว พระสูตรนี้ พระอรหันต์
กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
“ภิกษุทั้งหลาย เราได้เห็นเหล่าสัตว์ที่ถูกสักการะครอบงำย่ำยีจิต หลังจากตายแล้ว
จะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
เราได้เห็นเหล่าสัตว์ที่ถูกความเสื่อมสักการะครอบงำย่ำยีจิต หลังจากตายแล้ว
จะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
เราได้เห็นเหล่าสัตว์ที่ถูกสักการะและความเสื่อมสักการะทั้งสองครอบงำย่ำยีจิต
หลังจากตายแล้ว จะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
คำที่ว่า ‘เราได้เห็นเหล่าสัตว์ที่ถูกสักการะครอบงำย่ำยีจิต หลังจากตายแล้ว
จะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เราได้เห็นเหล่าสัตว์ที่ถูกความเสื่อมสักการะ
ครอบงำย่ำยีจิต หลังจากตายแล้ว จะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เราได้
เห็นเหล่าสัตว์ที่ถูกสักการะและความเสื่อมสักการะทั้งสองครอบงำย่ำยีจิต หลังจาก
ตายแล้ว จะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก’ นั้น เราหาได้กล่าวเพราะรับ
ฟังมาจากสมณะหรือพราหมณ์อื่น ๆ ไม่
ภิกษุทั้งหลาย แท้จริงแล้ว เรารู้เอง เห็นเอง ทราบเองทั้งนั้น จึงกล่าวคำนี้ว่า
‘เราได้เห็นเหล่าสัตว์ที่ถูกสักการะครอบงำย่ำยีจิต หลังจากตายแล้ว จะไปเกิดในอบาย
ทุคติ วินิบาต นรก เราได้เห็นเหล่าสัตว์ที่ถูกความเสื่อมสักการะครอบงำย่ำยีจิต
หลังจากตายแล้ว จะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เราได้เห็นเหล่าสัตว์ที่ถูก
สักการะและความเสื่อมสักการะทั้งสองครอบงำย่ำยีจิต หลังจากตายแล้ว จะไปเกิด
ในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความดังกล่าวมานี้แล้ว ในพระสูตรนั้น จึงตรัส
คาถาประพันธ์ดังนี้
สมาธิของภิกษุใด ผู้มีปกติอยู่ด้วยความไม่ประมาท
ย่อมหวั่นไหวด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ
(๑) ด้วยมีผู้สักการะ (๒) ด้วยไม่มีผู้สักการะ
ภิกษุนั้นผู้เข้าฌาน มีความเพียรต่อเนื่อง
พิจารณาเห็นด้วยปัญญาที่สุขุม
ยินดีในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปาทาน A
นักปราชญ์ทั้งหลายเรียกว่า สัตบุรุษ B
แม้เนื้อความนี้ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้แล
สักการสูตรที่ ๒ จบ
เชิงอรรถ
A ธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปาทาน หมายถึงอรหัตตผลอันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปาทาน ๔ ประการ คือ
(๑) กามุปาทาน (ความยึดมั่นในกาม) (๒) ทิฏฐุปาทาน (ความยึดมั่นในทิฏฐิ) (๓) สีลัพพตุปาทาน (ความ
ยึดมั่นในศีลและวัตร) (๔) อัตตวาทุปาทาน (ความยึดมั่นในอัตตวาทะ) (ขุ.อิติ.อ. ๘๑/๒๘๖) และดู ที.ปา.
๑๑/๓๑๒/๒๐๕ ประกอบ
B ขุ.เถร. (แปล) ๒๖/๑๐๑๐-๑๐๑๑/๕๐๕

บาลี



รออัพเดต

อรรถกถา


รออัพเดต

สนทนาธรรม

comments

Got anything to say? Go ahead and leave a comment!