15-199 เทวหิตพราหมณ์



พระไตรปิฎก


๓. เทวหิตสูตร
ว่าด้วยเทวหิตพราหมณ์
[๖๘๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคทรงพระประชวร
ด้วยโรคลม ท่านพระอุปวาณะเป็นอุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาค ครั้งนั้น พระผู้มี
พระภาครับสั่งเรียกท่านพระอุปวาณะมาตรัสว่า “อุปวาณะ เอาเถิด เธอจงจัดหา
น้ำร้อนสำหรับเรา”
ท่านพระอุปวาณะทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว ครองอันตรวาสก ถือบาตรและ
จีวร เข้าไปยังที่อยู่ของเทวหิตพราหมณ์แล้วยืนนิ่งอยู่ ณ ที่สมควร
[๖๘๓] เทวหิตพราหมณ์ได้เห็นท่านพระอุปวาณะยืนนิ่งอยู่ ณ ที่สมควรแล้ว ได้
กล่าวกับท่านพระอุปวาณะด้วยคาถาว่า
ท่านเป็นสมณะโล้น ครองผ้าสังฆาฏิยืนนิ่งอยู่
ท่านปรารถนาอะไร แสวงหาอะไร มาเพื่อขออะไร
[๖๘๔] ท่านพระอุปวาณะตอบว่า
พระสุคตมุนีเป็นพระอรหันต์ในโลก
ทรงพระประชวรด้วยโรคลม
พราหมณ์ ถ้าท่านมีน้ำร้อน
ขอท่านจงถวายแด่พระสุคตมุนีด้วยเถิด
อาตมภาพปรารถนาจะนำไปถวายพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ผู้ควรบูชาสักการะ และนับถือกว่าบรรดาพระอริยบุคคล
ที่ควรบูชาสักการะ และนับถือเหล่านั้น
[๖๘๕] ครั้งนั้น เทวหิตพราหมณ์ให้บุรุษถือกาน้ำร้อนและห่อน้ำอ้อยตามไปถวายท่าน
พระอุปวาณะ ลำดับนั้น ท่านพระอุปวาณะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้ว
ทูลให้สรงสนาน และใช้น้ำร้อนละลายน้ำอ้อยแล้วถวายพระผู้มีพระภาค
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงหายจากพระอาการประชวร
[๖๘๖] ต่อมาเทวหิตพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจพอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
บุคคลพึงให้ไทยธรรม ณ ที่ไหน
ทานที่บุคคลให้ ณ ที่ไหน มีผลมาก
ทักษิณาสำเร็จผลอย่างไรแก่บุคคลผู้บูชาอย่างไร
[๖๘๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
มุนีผู้บรรลุอภิญญา คือรู้ปุพเพนิวาสญาณอย่างแจ่มแจ้ง
เห็นสวรรค์และอบาย ทั้งบรรลุความสิ้นชาติ A แล้ว
บุคคลพึงให้ไทยธรรมในมุนีนี้ ทานที่ให้แล้วในมุนีนี้มีผลมาก
ทักษิณาสำเร็จผลอย่างนี้แก่บุคคลผู้บูชาอย่างนี้แล
[๖๘๘] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว เทวหิตพราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่
พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอพระโคดมผู้
เจริญโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
เทวหิตสูตรที่ ๓ จบ
เชิงอรรถ
A ดูเชิงอรรถข้อ ๑๙๔ หน้า ๒๗๓ ในเล่มนี้

บาลี



เทวหิตสุตฺต
[๖๘๒] สาวตฺถิย วิหรติ เชตวเน … เตน โข ปน สมเยน
ภควา วาเตหาพาธิโก โหติ ฯ อายสฺมา จ อุปวาโณ ภควโต
อุปฏฺาโก โหติ ฯ อถ โข ภควา อายสฺมนฺต อุปวาณ อามนฺเตสิ
อิงฺฆ เม ตฺว อุปวาณ อุโณฺหทก ชานาหีติ ฯ เอว ภนฺเตติ
โข อายสฺมา อุปวาโณ ภควโต ปฏิสฺสุตฺวา นิวาเสตฺวา ปตฺตจีวรมาทาย
เยน เทวหิตสฺส พฺราหฺมณสฺส นิเวสน เตนุปสงฺกมิ
อุปสงฺกมิตฺวา ตุณฺหีภูโต เอกมนฺต อฏฺาสิ ฯ
[๖๘๓] อทฺทสา โข เทวหิโต พฺราหฺมโณ อายสฺมนฺต อุปวาณ
ตุณฺหีภูต เอกมนฺต ิต ทิสฺวาน อายสฺมนฺต อุปวาณ คาถาย
อชฺฌภาสิ
ตุณฺหีภูโต ภว ติฏฺ มุณฺโฑ สงฺฆาฏิปารุโต
กึ ปตฺถยาโน กึ เอส กึ นุ ยาจิตุมาคโตติ ฯ
[๖๘๔] อรห สุคโต โลเก วาเตหาพาธิโก มุนิ
สเจ อุโณฺหทก อตฺถิ มุนิโน เทหิ พฺราหฺมณ
ปูชิโต ปูชเนยฺยาน สกฺกเรยฺยาน สกฺกโต
อปจิโต อปจิเนยฺยาน ๑ ตสฺส อิจฺฉามิ หาตเวติ ฯ
[๖๘๕] อถ โข เทวหิโต พฺราหฺมโณ อุโณฺหทกสฺส กาช ปุริเสน
คาหาเปตฺวา ผาณิตสฺส จ ปุฏ จ อายสฺมโต อุปวาณสฺส ปาทาสิ ฯ
อถ โข อายสฺมา อุปวาโณ เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ อุปสงฺกมิตฺวา
ภควนฺต อุโณฺหทเกน นฺหาเปตฺวา อุโณฺหทเกน ผาณิต อาโลเฬตฺวา
ภควโต ปาทาสิ ฯ อถ โข ภควโต โส อาพาโธ ปฏิปฺปสฺสมฺภิ ฯ
[๖๘๖] อถ โข เทวหิโต พฺราหฺมโณ เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ
อุปสงฺกมิตฺวา ภควตา สทฺธึ สมฺโมทิ สมฺโมทนีย กถ สาราณีย
วีติสาเรตฺวา เอกมนฺต นิสีทิ ฯ เอกมนฺต นิสินฺโน โข เทวหิโต
พฺราหฺมโณ ภควนฺต คาถาย อชฺฌภาสิ
กตฺถ ทชฺชา เทยฺยธมฺม กตฺถ ทินฺน มหปฺผล
กถ หิ ยชมานสฺส กตฺถ ๒ อิชฺฌติ ทกฺขิณาติ ฯ
[๖๘๗] ปุพฺเพนิวาส โย เวทิ สคฺคาปายฺจ ปสฺสติ
อโถ ชาติกฺขย ปตฺโต อภิฺา โวสิโต มุนิ
เอตฺถ ทชฺชา เทยฺยธมฺม เอตฺถ ทินฺน มหปฺผล
เอว หิ ยชมานสฺส เอว อิชฺฌติ ทกฺขิณาติ ฯ
[๖๘๘] เอว วุตฺเต เทวหิโต พฺราหฺมโณ ภควนฺต เอตทโวจ
อภิกฺกนฺต โภ โคตม อภิกฺกนฺต โภ โคตม ฯเปฯ อุปาสก ม
ภว โคตโม ธาเรตุ อชฺชตคฺเค ปาณุเปต สรณงฺคตนฺติ ฯ

******************

๑ ม. ยุ. อปเจยฺยาน ฯ ๒ ม. ยุ. กถ ฯ

อรรถกถา


อรรถกถาเทวหิตสูตร
ในสูตรที่ ๓ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-
บทว่า วาเตหิ ได้แก่ ด้วยลมในท้อง. เล่ากันมาว่า เมื่อพระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงกระทำทุกกรกิริยา ๖ พรรษา ทรงนำเอาถั่วเขียวและถั่วพู
เป็นต้นอย่างละฟายมือนาเสวย ลมในพระอุทรกำเริบเพราะเสวยไม่ดีและบรรทม
ลำบาก. สมัยต่อมา ทรงบรรลุพระสัมโพธิญาณแล้ว แม้เสวยโภชนะประณีต
อาพาธนั้นก็ยังปรากฏตัวเป็นระยะ ๆ คำนี้ท่านกล่าวหมายเอาอาพาธนั้น . บทว่า
อุปฏฺาโก โหติ ความว่า เป็นอุปัฏฐากในคราวยังไม่มีอุปัฏฐากประจำ
ตอนปฐมโพธิกาล. ได้ยินว่า ในเวลานั้น บรรดาพระอสีติมหาเถระ ผู้ที่ไม่
เคยเป็นอุปัฏฐากของพระศาสดาไม่มี. ก็พระเถระเหล่านี้ คือ พระนาคสุมนะ
พระอุปวาณะ พระสุนักขัตตะ พระจุนทะ พระสมณุทเทสะ พระสาคตะ
พระเมฆิยะ เป็นอุปัฏฐากที่มีชื่อมาในบาลี แต่ในเวลานี้ พระอุปวาณเถระ
ลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ ได้อุปัฏฐากพระผู้มีพระภาคเจ้าทุกอย่าง เช่นกวาดบริเวณ
ถวายไม้ชำระพระทนต์ จัดถวายน้ำสรง ถือบาตรจีวรตามเสด็จ. บทว่า
อุปสงฺกมิ ด้วยยามว่า ได้ยินว่า ตลอดเวลา ๒๐ ปี ในปฐมโพธิกาล ป่าปราศจาก
ควันไฟ แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ยังมิได้ทรงอนุญาต ที่ต้มน้ำแก่ภิกษุทั้งหลาย
ก็พราหมณ์นั้นให้ทำเตาเป็นแถว ยกภาชนะใหญ่ ๆ ขึ้นตั้งบนเตา ให้ทำน้ำร้อน
แล้วขายน้ำร้อนพร้อมกับผงสำหรับอาบน้ำเป็นต้นเลี้ยงชีพ. ผู้ประสงค์อาบน้ำ
ไปในที่นั้นแล้วให้ราคา (ซื้อ) อาบน้ำลูบไล้ด้วยของหอม ประดับดอกไม้
แล้วหลีกไป. เพราะฉะนั้น พระเถระจึงเข้าไปในที่นั้น.
บทว่า กึ ปตฺถยาโน ได้แก่ ปรารถนาอะไร บทว่า กึ เอสํ
ได้แก่แสวงหาอะไร. บทว่า ปูชิโต ปูชเนยฺยานํ ความว่า พระเถระเริ่ม
กล่าวสดุดีพระทศพลนี้. ท่านกล่าวคำนี้ ไว้ว่า ได้ยินว่า พระเถระไปเพื่อ
คิลานเภสัช กล่าวสรรเสริญภิกษุไข้ ดังนี้. จริงอยู่ พวกมนุษย์ได้ฟังคำ
สรรเสริญแล้ว ย่อมสำคัญเภสัชที่ควรถวายโดยเคารพ. ภิกษุไข้ได้เภสัชอันเป็น
สัปปายะแล้ว ย่อมหายไข้ฉับพลันทีเดียว ความจริงเมื่อจะกล่าว ไม่ควรกล่าว
พาดพิงไปถึงฌานวิโมกข์สมาบัติและมรรคผล. แต่ควรกล่าวอาคมนียปฏิปทา
อย่างนี้ คือ ผู้มีศีล มีความละอาย มักรังเกียจ พหูสูต ทรงไว้ซึ่งนิกายเป็นที่มา
ผู้ตามรักษาอริยวงศ์. บทว่า ปูชเนยฺยานํ ความว่า พระอสีติมหาเถระ ชื่อว่า
ปูชเนยฺยา เพราะโลกพร้อมทั้งเทวโลกควรบูชา. ท่านเหล่านั้นนั่นแล ชื่อว่า
สกฺกเรยฺยา เพราะควรสักการะ ชื่อว่า อปจิเนยฺยา เพราะควรทำความ
นอบน้อมแก่ท่านเหล่านั้นทีเดียว. พระเถระเมื่อประกาศคุณของพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้านั้นว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้อันเทวดาและมนุษย์เหล่านั้นบูชา
สักการะนอบน้อม ดังนี้ จึงกล่าวอย่างนี้. บทว่า หาตเว แปลว่า เพื่อนำไป.
บทว่า ผาณิตสฺส จ ปูฏํ ได้แก่ก้อนน้ำอ้อยใหญ่ที่ปราศจากขี้เถ้า
ได้ยินว่า พราหมณ์นั้น ถามว่า พระสมณโคดมทรงไม่สบายเป็นอะไร ได้
ทราบว่า ลมในท้อง จึงกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น พวกเรารู้จักยาในเรื่องนี้ ต่อแต่นี้
ขอท่านจงเอาน้ำหน่อยหนึ่งละลายน้ำอ้อยนี้ ถวายให้ทรงดื่มในเวลาสรงเสร็จ
พระเสโทจักซึมออกภายนอกพระสรีระด้วยน้ำร้อน ลมในท้องจักหายด้วยยานี้
ด้วยประการฉะนี้ พระสนณโคดมจักทรงสำราญ ด้วยอาการดัง ว่ามาน ดังนี้แล้ว
จึงได้ถวายใส่ลงในบาตรพระเถระ.
บทว่า อุปสงฺกมิ ความว่า ได้ยินว่า เมื่ออาพาธนั้นสงบแล้ว ได้
เกิดเรื่องพิสดารว่า เทวหิตพราหมณ์ถวายเภสัชแด่พระตถาคต โรคสงบเพราะ
เภสัชนั้นนั่นเอง น่าอัศจรรย์ ทานของพราหมณ์เป็นบรมทาน. พราหมณ์
ผู้ประสงค์ชื่อเสียง ได้ฟังดังนั้นแล้ว เกิดโสมนัสว่า กิตติศัพท์ของเรานี้ขจรไป
แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้เอง ประสงค์จะให้เขารู้เรื่องที่ตนกระทำแล้ว ในขณะ
นั้นเอง เข้าไปเฝ้าทำความคุ้นเคยในพระทศพล.
บทว่า ทชฺชา แปลว่า พึงให้. บทว่า กถํ หิ ยชมานสฺส ได้แก่
บูชาด้วยเหตุอะไร. บทว่า อิชฺฌติ ได้แก่มีผลมาก. บทว่า โย เวทิ ความว่า
ได้กระทำผู้ที่รู้ทั่วถึงให้ปรากฏชัด. ปาฐะว่า โย เวติ ดังนี้ก็มี. อธิบายว่า
ผู้ใดย่อมรู้ คือรู้ทั่วถึง. บทว่า ปสฺสติ ได้แก่ ย่อมเห็นด้วยทิพยจักษุ. บทว่า
ชาติกฺขยํ ได้แก่พระอรหัต. บทว่า อภิญฺา โวสิโต ความว่า อยู่จบ
พรหมจรรย์ คือถึงที่สุดพรหมจรรย์ คือความเป็นผู้ทำกิจเสร็จแล้ว เพราะรู้.
บทว่า เอวํ หิ ยชมานสฺส ความว่า บูชาอยู่ด้วยอาการนี้ คืออาการบูชา
พระขีณาสพ.
จบอรรถกถาเทวหิตสูตรที่ ๓

สนทนาธรรม

comments

Got anything to say? Go ahead and leave a comment!