15-198 อุทยพราหมณ์



พระไตรปิฎก


๒. อุทยสูตร
ว่าด้วยอุทยพราหมณ์
[๖๗๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร เสด็จเข้า
ไปยังที่อยู่ของอุทยพราหมณ์ ลำดับนั้น อุทยพราหมณ์ตักข้าวใส่บาตรถวายจนเต็ม
[๖๗๘] แม้ครั้งที่ ๒ ในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและ
จีวร เสด็จเข้าไปยังที่อยู่ของอุทยพราหมณ์ ฯลฯ ลำดับนั้น อุทยพราหมณ์ก็ตักข้าว
ใส่บาตรถวายจนเต็ม
[๖๗๙] แม้ครั้งที่ ๓ ในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและ
จีวร เสด็จเข้าไปยังที่อยู่ของอุทยพราหมณ์ ฯลฯ ลำดับนั้น อุทยพราหมณ์ก็ตักข้าว
ใส่บาตรถวายจนเต็มแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระสมณโคดมนี้ติด
ในรสจึงเสด็จมาบ่อย ๆ”
[๖๘๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
กสิกรย่อมหว่านพืชบ่อย ๆ
ฝนย่อมตกบ่อย ๆ ชาวนาย่อมไถนาบ่อยๆ
แว่นแคว้นย่อมสมบูรณ์ด้วยธัญชาติบ่อย ๆ
ผู้ขอย่อมขอบ่อย ๆ ทานบดีย่อมให้บ่อย ๆ
ครั้นให้บ่อย ๆ แล้ว ก็เข้าถึงสวรรค์บ่อย ๆ
ผู้ต้องการน้ำนมย่อมรีดน้ำนมบ่อย ๆ
ลูกโคย่อมเข้าหาแม่โคบ่อย ๆ
บุคคลย่อมลำบากและดิ้นรนบ่อย ๆ
คนเขลาย่อมเข้าถึงครรภ์บ่อย ๆ
สัตว์ย่อมเกิดและตายบ่อย ๆ
บุคคลทั้งหลายย่อมนำซากศพไปป่าช้าบ่อย ๆ
ส่วนผู้มีปัญญาดุจแผ่นดินย่อมไม่เกิดบ่อย ๆ
เพราะได้มรรคแล้วไม่มีภพใหม่อีกต่อไป
[๖๘๑] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว อุทยพราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอพระโคดม
ผู้เจริญโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจน
ตลอดชีวิต”
อุทยสูตรที่ ๒ จบ

บาลี



อุทยสุตฺต
[๖๗๗] สาวตฺถีนิทาน ฯ อถ โข ภควา ปุพฺพณฺหสมย
นิวาเสตฺวา ปตฺตจีวรมาทาย เยน อุทยสฺส พฺราหฺมณสฺส นิเวสน
เตนุปสงฺกมิ ฯ อถ โข อุทโย พฺราหฺมโณ ภควโต ปตฺต
โอทเนน ปูเรสิ ฯ
[๖๗๘] ทุติยมฺปิ โข ภควา ปุพฺพณฺหสมย นิวาเสตฺวา ปตฺตจีวรมาทาย
เยน อุทยสฺส พฺราหฺมณสฺส นิเวสน เตนุปสงฺกมิ ฯ
ทุติยมฺปิ โข อุทโย พฺราหฺมโณ ภควโต ปตฺต โอทเนน ปูเรสิ ฯ
[๖๗๙] ตติยมฺปิ โข ภควา ปุพฺพณฺหสมย นิวาเสตฺวา ปตฺตจีวรมาทาย
เยน อุทยสฺส พฺราหฺมณสฺส นิเวสน เตนุปสงฺกมิ ฯ
ตติยมฺปิ โข อุทโย พฺราหฺมโณ ภควโต ปตฺต โอทเนน ปูเรตฺวา
ภควนฺต เอตทโวจ ปกฏฺกฺวาย สมโณ โคตโม ปุนปฺปุน
อาคจฺฉตีติ ฯ
[๖๘๐] ปุนปฺปุน เจว วปนฺติ พีช
ปุนปฺปุน วสฺสติ เทวราชา
ปุนปฺปุน เขตฺต กสนฺติ กสฺสกา
ปุนปฺปุน ธฺมุเปนฺติ รฏฺ
ปุนปฺปุน ยาจกา ยาจยนฺติ
ปุนปฺปุน ทานปตี ททนฺติ
ปุนปฺปุน ทานปตี ททิตฺวา
ปุนปฺปุน สคฺคมุเปนฺติ าน
ปุนปฺปุน ขีรณิกา ทุหนฺติ
ปุนปฺปุน วจฺโฉ อุเปติ มาตร
ปุนปฺปุน กิลมติ ผนฺทติ จ
ปุนปฺปุน คพฺภมุเปติ มนฺโท
ปุนปฺปุน ชายติ มิยฺยติ จ
ปุนปฺปุน สีวถิก หรนฺติ
มคฺคฺจ ลทฺธา อปุนพฺภวาย
ปุนปฺปุน ชายติ ภูริปฺโติ ฯ
[๖๘๑] เอว วุตฺเต อุทโย พฺราหฺมโณ ภควนฺต เอตทโวจ
อภิกฺกนฺต โภ โคตม อภิกฺกนฺต โภ โคตม ฯเปฯ อุปาสก ม
ภว โคตโม ธาเรตุ อชฺชตคฺเค ปาณุเปต สรณงฺคตนฺติ ฯ

อรรถกถา


อรรถกถาอุทยสูตรที่ ๒
ในอุทยสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า โอทเนน ปูเรสิ ความว่า พราหมณ์เอาข้าวพร้อมด้วยแกง
และกับที่เขาจัดไว้เพื่อคนใส่บาตรจนเต็มถวาย. ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงตรวจดูโลกเวลาใกล้รุ่ง ทรงเห็นพราหมณ์นั้น ทรงปฏิบัติพระสรีระแต่
เช้าทีเดียว เสด็จเข้าพระคันธกุฎี ทรงปิดประตูแล้วประทับนั่ง ทรงเห็นโภชนะ
ที่เขายกเข้าไปไว้ใกล้พราหมณ์ ลำพังพระองค์เดียวเท่านั้นทรงคล้องบาตรที่
จะงอยบ่า เสด็จออกจากพระคันธกุฎี เสด็จถึงประตูพระนครทรงนำบาตรออก
แล้วเสด็จเข้าภายในพระนคร ทรงดำเนินไปตามลำดับ ประทับยืนอยู่ที่ซุ้มประตู
บ้านพราหมณ์. พราหมณ์เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วได้ถวายโภชนะที่เขาจัด
แจงมาเพื่อตน. คำว่า โอทเนน ปูเรสิ นี้ท่านกล่าวหมายเอาโภชนะนั้น . บทว่า
ทุติยมฺปิ ได้แก่แม้ในวันที่ ๒. บทว่า ตติยมฺปิ ได้แก่แม้ในวันที่ ๓ ได้ยิน
ว่า ในระหว่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปประตูเรือนพราหมณ์ติด ๆ กัน
ตลอด ๓ วัน ไม่มีใคร ๆ ที่สามารถจะลุกขึ้นรับบาตรได้. มหาชนได้ยืนแลดู
อยู่เหมือนกัน.
บทว่า เอตทโวจ ความว่า พราหมณ์แม้ถวายจนเต็มบาตรตลอด ๓
วัน ก็มิได้ถวายด้วยศรัทธา. พราหมณ์บริโภคโดยมิได้ถวายแม้เพียงภิกษาแก่
บรรพชิตที่มายืนอยู่ยังประตูเรือน แต่ได้ถวายเพราะกลัวถูกติเตียนว่า บรรพชิต
มายืนถึงประตูเรือนแล้ว แม้เพียงภิกษาก็ไม่ถวาย กินเสียเอง ดังนี้. และเมื่อ
ถวาย ๒ วันแรกถวายแล้วมิได้พูดอะไร ๆ เลย กับเข้าบ้าน. ทั้งพระผู้มีพระ
ภาคเจ้ามิได้ตรัสอะไร ๆ เหมือนกัน เสด็จหลีกไป แต่ในวันที่ ๓ พราหมณ์ไม่
อาจจะอดกลั้นไว้ได้ จึงได้กล่าวคำนี้ว่า ปกฏฺโก ดังนี้เป็นต้น. แม้พระผู้
มีพระภาคเจ้าก็ได้เสด็จไปจนถึงครั้งที่ ๓ ก็เพื่อจะทรงให้เขาเปล่งวาจานั้นนั่นเอง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปกฏฺฐโก ได้แก่ติดในรส.
พระศาสดาทรงสดับคำของพราหมณ์แล้ว ตรัสว่า ท่านพราหมณ์
ท่านถวายบิณฑบาตตลอด ๓ วัน ยังย่อท้ออยู่ ในโลกมีธรรม ๑๖ ประการที่
ควรทำบ่อย ๆ ดังนี้ เพื่อจะทรงแสดงธรรมเหล่านั้น จึงทรงเริ่มพระธรรม
เทศนานี้ว่า ปุนปฺปุนํ เจว วปนฺติ พีชํ ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า
ปุนปฺปุนํ เจว วปนฺติ ท่านกล่าวไว้ในสัสสวารหนึ่งแล้ว แม้ในสัสสวารอื่น ๆ
ชาวนาย่อมหว่านโดยไม่ท้อแท้เลยว่า เท่านี้พอละ ดังนี้. บทว่า ปุนปฺปุนํ วสฺสติ
ความว่า มิใช่ตกวันเดียวหยุด. ตกอยู่แล้ว ๆ เล่า ๆ ทุก ๆ วัน ทุก ๆ ปี ชนบท
ย่อมมั่งคั่งด้วยอาการอย่างนี้. พึงทราบนัยแห่งเนื้อความในทุก ๆ บทโดย
อุบายนี้.
ในบทว่า ยาจกา นี้ พระศาสดาทรงแสดงอ้างถึงพระองค์ เพราะความ
ที่พระองค์ทรงฉลาดในเทศนา. บทว่า ขีรณิกา ได้แก่ผู้รีดนมโคเพราะน้ำ
นมเป็นเหตุ. จริงอยู่ ชนเหล่านั้นไม่ปรารถนาน้ำมันคราวเดียวเท่านั้น อธิบาย
ว่า ย่อมปรารถนารีดโคนมบ่อย ๆ. บทว่า กิลมติ ผนฺทติ จ ความว่า
สัตว์นี้ย่อมลำบากและดิ้นรนด้วยอิริยาบถนั้น ๆ. บทว่า คพฺภํ ได้แก่ท้องสัตว์
ดิรัจฉานมีสุนัขบ้านและสุนัขจิ้งจอกเป็นต้น. บทว่า สีวถิกํ ได้แก่ป่าช้า.
อธิบายว่า นำสัตว์ตายแล้วไปในป่าช้านั้นบ่อย ๆ. บทว่า มคฺคญฺจ ลทฺธา
อปุนพฺภวาย ความว่า พระนิพพานชื่อว่ามรรค เพราะไม่เกิดอีก อธิบายว่า
ได้พระนิพพานนั้น.
บทว่า เอวํ วุตฺเต ความว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับยืนอยู่
ระหว่างถนนนั่นแหละ ทรงแสดงปุนัปปุนธรรม ๑๖ ประการ ได้ตรัสอย่างนี้.
บทว่า เอตทโวจ ความว่า ในที่สุดเทศนา พราหมณ์พร้อมด้วยบุตรภรรยา
พวกมิตรและญาติ เลื่อมใส ถวายบังคมแทบพระยุคลบาทของพระผู้มีพระ
ภาคเจ้า กล่าวคำนี้ว่า อภิกฺกนฺตํ โภ เป็นต้น.
จบอรรถกถาอุทยสูตรที่ ๒

สนทนาธรรม

comments

Got anything to say? Go ahead and leave a comment!