15-180 ตุทุปัจเจกพรหม



พระไตรปิฎก


๙. ตุทุพรหมสูตร
ว่าด้วยตุทุปัจเจกพรหม
[๕๙๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
สมัยนั้น โกกาลิกภิกษุอาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ครั้นเมื่อราตรีผ่านไป
ตุทุปัจเจกพรหมมีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างทั่วพระเชตวัน เข้าไปหา
โกกาลิกภิกษุจนถึงที่อยู่ ยืนอยู่กลางอากาศได้กล่าวกับโกกาลิกภิกษุดังนี้ว่า “ท่าน
โกกาลิกะ ท่านจงทำจิตให้เลื่อมใสในท่านพระสารีบุตรและท่านพระโมคคัลลานะเถิด
เพราะท่านพระสารีบุตรและท่านพระโมคคัลลานะ เป็นผู้มีศีลเป็นที่รัก”
โกกาลิกภิกษุถามว่า “ผู้มีอายุ ท่านเป็นใคร”
ตุทุปัจเจกพรหมตอบว่า “เราเป็นตุทุปัจเจกพรหม”
โกกาลิกภิกษุกล่าวว่า “ผู้มีอายุ ท่านได้รับพยากรณ์จากพระผู้มีพระภาคว่า
เป็นอนาคามีแล้วมิใช่หรือ เมื่อเป็นเช่นนี้ ทำไมท่านจึงมาที่นี้อีก ท่านจงเห็นว่า
ความผิดนี้ของท่านมีอยู่เถิด”
[๕๙๗] ตุทุปัจเจกพรหมได้กล่าวว่า
ผรุสวาจา (คำหยาบ) เป็นเหมือนผึ่ง
เครื่องตัดตนของคนพาลผู้กล่าวคำชั่ว
ย่อมเกิดที่ปากของบุรุษ
ผู้ใดสรรเสริญคนที่ควรติเตียน
หรือติเตียนคนที่ควรสรรเสริญ
ผู้นั้นชื่อว่าสั่งสมความผิดไว้ด้วยปาก
ย่อมไม่ประสบความสุข เพราะความผิดนั้น
การปราชัยด้วยทรัพย์
ในการเล่นการพนันจนหมดตัวนี้
เป็นความผิดเพียงเล็กน้อย
แต่การที่บุคคลมีใจประทุษร้าย
ในบุคคลผู้ดำเนินไปดีแล้วนี้เท่านั้น
เป็นความผิดมากกว่า
บุคคลผู้ตั้งวาจาและใจอันชั่ว ติเตียนพระอริยะ
ย่อมเข้าถึงนรกสิ้น ๑๓๖,๐๐๐ นิรัพพุทกัป A
กับอีก ๕ อัพพุทกัป B
ตุทุพรหมสูตรที่ ๙ จบ
เชิงอรรถ
A นิรัพพุทกัป เป็นจำนวนกัปที่ใช้สังขยา (การกำหนดนับ) จำนวนสูง (ตามนัย องฺ.ทสก.อ. ๓/๘๙/๓๖๖)
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายว่า เท่ากับ ๑ มี ๐ ตามหลัง ๖๓ ตัว บ้างว่า ๑๐๐ ล้าน
B ดู องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๘๙/๒๐

บาลี



ตุทุพฺรหฺมสุตฺต
[๕๙๖] สาวตฺถิย … เตน โข ปน สมเยน โกกาลิโก ภิกฺขุ
อาพาธิโก โหติ ทุกฺขิโต พาฬฺหคิลาโน ฯ อถ โข ตุทุปจฺเจกพฺรหฺมา ๓
อภิกฺกนฺตาย รตฺติยา อภิกฺกนฺตวณฺโณ เกวลกปฺป เชตวน
โอภาเสตฺวา เยน โกกาลิโก ภิกฺขุ เตนุปสงฺกมิ อุปสงฺกมิตฺวา เวหาส
ิโต โกกาลิก ภิกฺขุ เอตทโวจ ปสาเทหิ โกกาลิก สารีปุตฺตโมคฺคลฺลาเนสุ
จิตฺต เปสลา สารีปุตฺตโมคฺคลฺลานาติ ฯ โกสิ
ตฺว อาวุโสติ ฯ อห ตุทุปจฺเจกพฺรหฺมาติ ๑ ฯ กินฺนุ ๒ ตฺว อาวุโส
ภควตา อนาคามี พฺยากโต กถฺจรหิ ๓ อิธาคโตติ ฯ ปสฺส
ยาวฺจ เต อิท อปรทฺธนฺติ ฯ
[๕๙๗] ปุริสสฺส หิ ชาตสฺส กุธารี ๔ ชายเต มุเข
ยาย ฉินฺทติ อตฺตาน พาโล ทุพฺภาสิต ภณ
โย นินฺทิย ปสสติ ต วา นินฺทติ โย ปสสิโย
วิจินาติ มุเขน โส กลึ กลินา เตน สุข น วินฺทติ
อปฺปมตฺโต ๕ อย กลิ โย อกฺเขสุ ธนปราชโย
สพฺพสฺสาปิ สหาปิ อตฺตนา
อยเมว มหนฺตตโร กลิ
โย สุคเตสุ มน ปโทสเย ฯ
สต สหสฺสาน นิรพฺพุทาน
ฉตฺตึสติ ปฺจ จ อพฺพุทานิ
ยมริเย ๖ ครหี นิรย อุเปติ
วาจ มนฺจ ปณิธาย ปาปกนฺติ ฯ

******************

๑ ม. ตุรู … ฯ ๒ โป. ม. ยุ. นนุ ฯ
๓ ม. ยุ. อถ กิฺจรหิ ฯ ๔ ม. ยุ. กุารี ฯ
๕ ม. ยุ. อปฺปมตฺตโถ ฯ ๖ ม. ยุ. ยมริยครหี ฯ

อรรถกถา


อรรถกถาตุทุพรหมสูตร
ในตุทุพรหมสูตรที่ ๙ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อาพาธิโก ความว่า ผู้มีอาพาธด้วยอาพาธอันมาในอนันตร
สูตรโดยนัยว่า สาสปมตฺตีหิ ปิฬกาหิ เป็นต้น. บทว่า พาฬฺหคิลาโน
ได้แก่มีความป่วยไข้มีประมาณยิ่ง. บทว่า ตุทุ ความว่า พระอุปัชฌาย์ ของ
ภิกษุโกกาลิก ชื่อว่า ตุทุ เถระบรรลุอนาคามิผลแล้วบังเกิดในพรหมโลก.
ตุทุพรหมนั้น ได้ทราบข่าวบาปกรรม ของภิกษุโกกาลิกตั้งต้นแต่ภุมมัฏฐกเทวดา
โดยเล่าสืบ ๆ กันจนถึงพรหมโลกว่า ภิกษุโกกาลิกกล่าวตู่พระอัครสาวกด้วย
อันติมวัตถุ ทำกรรมอันไม่สมควรแล้ว จึงมาปรากฏต่อหน้าภิกษุโกกาลิกนั้นด้วย
หมายใจว่า เมื่อเราเห็นอยู่ เธออย่าเป็นคนกำพร้า [ปราศจากพวก] ต้องเสีย
หายไป. เราจักเตือนเธอเพื่อให้จิตเลื่อมใสในพระเถระ ท่านหมายเอาตุทุพรหมนั้น
จึงกล่าวว่า ตุทุปัจเจกพรหม. บทว่า เปสลา แปลว่า ผู้มีศีลเป็นที่รัก . บทว่า
โกสิ ตฺวํ อาวุโส ความว่า นอนลืมตาฝ้าฟาง จึงกล่าวอย่างนี้. บทว่า
ปสฺส ยาวญฺจเต ความว่า โกกาลิกะกล่าวว่า ท่านจงเห็นข้อที่ท่านผิด
เพียงไร ท่านไม่เห็นฝีใหญ่ที่หน้าผากของตน เห็นกระผมที่ควรตักเตือนด้วย
เพราะฝีเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาด
ครั้งนั้น ตุทุพรหมรู้ว่า โกกาลิกนี้ได้ประสบสิ่งที่ตนไม่เคยเห็น [ไม่มี
ประสบการณ์ เป็นคนกำพร้าจักไม่เชื่อคำของใคร ๆ เหมือนกลืนยาพิษอยู่
ในลำคอ จึงกล่าวกะโกกาลิกว่า ปุริสสฺส หิ เป็นต้น . บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า กุธารี ได้แก่วาจาหยาบเช่นผึ่ง [ขวาน]. บทว่า ฉินฺทติ ได้แก่ตัด
รากกล่าวคือกุศลทีเดียว. บทว่า นินฺทิยํ ได้แก่บุคคลทุศีลที่ควรตำหนิ. ด้วย
บทว่า ปุสํสติ ท่านกล่าวสรรเสริญในอรรถอันสูงสุดว่าพระขีณาสพ. บทว่า
ตํ วา นินฺทตฺ โย ปสํสิโย ความว่า อีกอย่างหนึ่ง กล่าวโจทย์พระขีณาสพ
ผู้ที่ควรสรรเสริญ. ด้วยอันติมวัตถุ ว่าผู้นี้เป็นผู้ทุศีล. บทว่า วิจินาติ มุเขน
โส กลึ ความว่า ผู้นั้นชื่อว่าก่อความผิดด้วยปาก. บทว่า กลินา เตน ความ
ว่า ย่อมไม่ประสบความสุขเพราะความผิดนั้น. ก็การสรรเสริญผู้ที่ควรติและ
การติผู้ที่ควรสรรเสริญ มีผลเท่ากันแล.
บทว่า สพฺพสฺสาปิ สหาปิ อตฺตนา ความว่า ความปราชัยเสีย
ทรัพย์เพราะการพนันทั้งหลาย พร้อมทั้งสิ่งของของตนทั้งหมดก็ดี พร้อมทั้ง
ตนเองก็ดี เป็นความผิดเพียงเล็กน้อย. บทว่า โย สุคเตสุ ความว่า ก็ผู้ใด
พึงมีจิตคิดประทุษร้ายในเหล่าบุคคลผู้ปฏิบัติดี ความประทุษร้ายแห่งจิตของผู้
นั้นเป็นโทษมากกว่าโทษในการพนันนั้น.
บัดนี้ เมื่อจะแสดงความประทุษร้ายแห่งจิตนั้นว่ามีโทษมากกว่า
จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า สตํ สหสฺสานํ ดังนี้. บรรดาเหล่านั้น บทว่า สตํ
สหสฺสานํ ได้แก่จำนวนแสนนิรัพพุทะ. [นิรัพพุทะ ๑ เท่ากับจำนวน ๑ มีสูญ
ตามหลัง ๖๓ ตัว ถ้าแสนนิรัพพุทะเป็นเท่าไร]. บทว่า ฉตฺตึสติ ได้แก่ อีก
๓๖ นิรัพพุทะ. บทว่า ปญฺจ จ ได้แก่จำนวน ๕ อัพพุทะ. บทว่า ยมริเย
ครหี ความว่า ในข้อทีผู้ติเตียนพระอริยะย่อมตกนรก มีอายุประมาณเท่านี้.
จบอรรถกถาตุทุพรหมสูตรที่ ๙

สนทนาธรรม

comments

Got anything to say? Go ahead and leave a comment!