15-177 ผู้ประมาท



พระไตรปิฎก


๖. ปมาทสูตร
ว่าด้วยผู้ประมาท
[๕๘๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคทรงหลีกเร้นประทับพักผ่อนอยู่ในที่พักกลางวัน
ครั้งนั้น สุพรหมปัจเจกพรหม และสุทธาวาสปัจเจกพรหมเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ได้ยืนพิงบานประตูคนละข้าง ลำดับนั้น สุพรหมปัจเจกพรหมได้กล่าว
กับสุทธาวาสปัจเจกพรหมดังนี้ว่า “ท่านผู้นิรทุกข์ ไม่ใช่เวลาอันควรที่จะเข้าเฝ้า
พระผู้มีพระภาคก่อน พระผู้มีพระภาคทรงหลีกเร้นประทับพักผ่อนอยู่ในที่พักกลางวัน
ก็พรหมโลกโน้นบริบูรณ์และเบิกบานแล้ว แต่พรหมในพรหมโลกนั้นย่อมอยู่ด้วยความ
ประมาท มาเถิด พวกเราจักเข้าไปพรหมโลก พึงให้พรหมนั้นสลดใจ” สุทธาวาส-
ปัจเจกพรหมได้รับคำของสุพรหมปัจเจกพรหมว่า “อย่างนั้น ท่านผู้นิรทุกข์”
ครั้งนั้น สุพรหมปัจเจกพรหมและสุทธาวาสปัจเจกพรหม ได้หายตัวจาก
เบื้องพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคไปปรากฏในพรหมโลกนั้น เปรียบเหมือนบุรุษ
ผู้มีกำลัง ฯลฯ ฉะนั้น พรหมนั้นได้เห็นพรหมเหล่านั้นกำลังมาแต่ไกลเทียว ได้กล่าว
กับพรหมเหล่านั้นว่า “ท่านผู้นิรทุกข์ เชิญเถิด พวกท่านมาจากไหนกันหรือ”
พรหมเหล่านั้นกล่าวว่า “ท่านผู้นิรทุกข์ พวกเรามาจากสำนักของพระผู้มี
พระภาค ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น อนึ่ง ท่านจะไปสู่ที่บำรุง
ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าบ้างไหมล่ะ”
[๕๘๗] เมื่อพรหมทั้ง ๒ นั้นกล่าวแล้วเช่นนี้ พรหมนั้นอดกลั้นคำนั้นไม่ได้ จึงเนรมิต
ตนเป็น ๑,๐๐๐ แล้วได้กล่าวคำนี้กับสุพรหมปัจเจกพรหมว่า “ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านเห็น
อิทธานุภาพเห็นปานนี้ของเราหรือไม่”
สุพรหมปัจเจกพรหมกล่าวว่า “เราเห็นอิทธานุภาพเห็นปานนี้ของท่านแล้ว”
พรหมนั้นกล่าวว่า “เรานั้นเป็นผู้มีฤทธิ์มากอย่างนี้ มีอานุภาพมากอย่างนี้
จักไปสู่ที่บำรุงของสมณะหรือพราหมณ์อื่นทำไม”
[๕๘๘] ลำดับนั้น สุพรหมปัจเจกพรหมเนรมิตตนเป็น ๒,๐๐๐ องค์ แล้วได้กล่าวคำนี้
กับพรหมว่า “ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านเห็นอิทธานุภาพเห็นปานนี้ของเราหรือไม่”
พรหมนั้นกล่าวว่า “เราเห็นอิทธานุภาพเห็นปานนี้ของท่านแล้ว”
สุพรหมปัจเจกพรหมกล่าวว่า “พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเท่านั้น มีฤทธิ์
มากกว่า และมีอานุภาพยิ่งใหญ่กว่าท่านและเราด้วย ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านพึงไปสู่
ที่บำรุงของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเถิด”
[๕๘๙] ครั้งนั้น พรหมนั้นได้กล่าวกับสุพรหมปัจเจกพรหมด้วยคาถาว่า
ข้าแต่พรหม วิมานของเราผู้มีฌานนี้นั้นมีรูปครุฑ ๓๐๐ รูป
มีรูปหงส์ ๔๐๐ รูป มีรูปมฤคที่เหมือนเสือโคร่ง ๕๐๐ รูป
ย่อมรุ่งโรจน์ส่องสว่างอยู่ในทิศเหนือ
[๕๙๐] สุพรหมปัจเจกพรหมและสุทธาวาสปัจเจกพรหมกล่าวว่า
วิมานของท่านนั้นถึงจะรุ่งโรจน์
ส่องสว่างอยู่ในทิศเหนือก็จริง
เพราะเห็นโทษในรูป(และ)เพราะเห็นรูปอันหวั่นไหวอยู่ทุกเมื่อ
พระศาสดาผู้มีพระปัญญาดี จึงไม่ทรงยินดีในรูป
[๕๙๑] ครั้งนั้น สุพรหมปัจเจกพรหมและสุทธาวาสปัจเจกพรหม ให้พรหมนั้นสลดใจ
แล้วหายตัวไป ณ ที่นั้นเอง อนึ่ง พรหมนั้นสมัยต่อมาได้ไปสู่ที่บำรุงของพระผู้มี
พระภาคผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว
ปมาทสูตรที่ ๖ จบ

บาลี



ปมาทสุตฺต
[๕๘๖] สาวตฺถีนิทาน ฯ เตน โข ปน สมเยน ภควา
ทิวาวิหารคโต โหติ ปฏิสลฺลีโน ฯ อถ โข สุพฺรหฺมา จ ปจฺเจกพฺรหฺมา
สุทฺธาวาโส จ ปจฺเจกพฺรหฺมา เยน ภควา เตนุปสงฺกมึสุ
อุปสงฺกมิตฺวา ปจฺเจก ทฺวารพาห อุปนิสฺสาย อฏฺสุ ฯ อถ โข
สุพฺรหฺมา ปจฺเจกพฺรหฺมา สุทฺธาวาส ปจฺเจกพฺรหฺมาน เอตทโวจ
อกาโล โข ตาว มาริส ภควนฺต ปยิรุปาสิตุ ทิวาวิหารคโต
ภควา ปฏิสลฺลีโน จ อมุ ๑ จ พฺรหฺมโลโก อิทฺโธ เจว ผีโต จ
พฺรหฺมา จ ตตฺถ ปมาทวิหาร วิหรติ อายาม มาริส เยน
โส พฺรหฺมโลโก เตนุปสงฺกมิสฺสาม อุปสงฺกมิตฺวา ต พฺรหฺมาน
สเวเชยฺยามาติ ฯ เอว มาริสาติ โข สุทฺธาวาโส ปจฺเจกพฺรหฺมา
สุพฺรหฺมุโน ปจฺเจกพฺรหฺมุโน ปจฺจสฺโสสิ ฯ อถ โข สุพฺรหฺมา
ปจฺเจกพฺรหฺมา สุทฺธาวาโส จ ปจฺเจกพฺรหฺมา เสยฺยถาปิ นาม
พลวา ปุริโส ฯเปฯ เอวเมว ภควโต ปุรโต อนฺตรหิตา ตสฺมึ
พฺรหฺมโลเก ปาตุรเหสุ ฯ อทฺทสา โข โส พฺรหฺมา เต พฺรหฺมาโน
ทูรโตว อาคจฺฉนฺเต ทิสฺวาน เต พฺรหฺมาโน เอตทโวจ หนฺท
กุโต นุ ตุเมฺห มาริสา อาคจฺฉถาติ ฯ อถ ๒ โข มย มาริส
อาคจฺฉาม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส สนฺติกา
คจฺฉสิ ๓ ปน ตฺว มาริส ตสฺส ภควโต อุปฏฺาน อรหโต
สมฺมาสมฺพุทฺธสฺสาติ ฯ
[๕๘๗] เอว วุตฺเต ๔ โข โส พฺรหฺมา ต วจน อนธิวาเสนฺโต
สหสฺสกฺขตฺตุ อตฺตาน อภินิมฺมินิตฺวา สุพฺรหฺมาน ปจฺเจกพฺรหฺมาน
เอตทโวจ ปสฺสสิ เม โน ตฺว มาริส เอวรูป อิทฺธานุภาวนฺติ ฯ
ปสฺสามิ โข ๕ ตฺยาห มาริส เอวรูป อิทฺธานุภาวนฺติ ฯ โส ขฺวาห
มาริส เอวมหิทฺธิโก เอวมหานุภาโว กสฺส อฺสฺส สมณสฺส
วา พฺราหฺมณสฺส วา อุปฏฺาน คมิสฺสามีติ ฯ
[๕๘๘] อถ โข สุพฺรหฺมา ปจฺเจกพฺรหฺมา ทฺวิสหสฺสกฺขตฺตุ
อตฺตาน อภินิมฺมินิตฺวา ๖ พฺรหฺมาน เอตทโวจ ปสฺสสิ เม โน
ตฺว มาริส เอวรูป ต อิทฺธานุภาวนฺติ ฯ ปสฺสามิ โข ตฺยาห
มาริส เอวรูป อิทฺธานุภาวนฺติ ฯ ตยา จ โข มาริส มยา จ
เสฺวว ภควา มหิทฺธิกตโร เจว มหานุภาโว จ อาคจฺเฉยฺยาสิ ๗
ตฺว มาริส ตสฺส ภควโต อุปฏฺาน อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺสาติ ฯ
[๕๘๙] อถ โข โส พฺรหฺมา สุพฺรหฺมาน ปจฺเจกพฺรหฺมาน
คาถาย อชฺฌภาสิ
ตโย สุปณฺณา จตุโร จ หสา
พฺยคฺฆีนิสา ปฺจสตา จ ฌายิโน
ตยิท วิมาน ชลเต จ พฺรเหฺม
โอภาสย อุตฺตรสฺส ทิสายนฺติ ฯ
[๕๙๐] กิฺจาปิ เต ต ชลตี ๘ วิมาน
โอภาสย อุตฺตรสฺส ทิสาย
รูเป รณ ทิสฺวา สทา ปเวธิต
ตสฺมา น รูเป รมตี สุเมโธติ ฯ
[๕๙๑] อถ โข สุพฺรหฺมา จ ปจฺเจกพฺรหฺมา สุทฺธาวาโส
จ ปจฺเจกพฺรหฺมา ต พฺรหฺมาน สเวเชตฺวา ตตฺเถวนฺตรธายึสุ ฯ
อคมาสิ จ ๙ โส พฺรหฺมา อปเรน สมเยน ภควโต อุปฏฺาน อรหโต
สมฺมาสมฺพุทฺธสฺสาติ ฯ

******************

๑ ม. ยุ. อสุโก ฯ
๒ ม. อาคตา โข มย มาริส อมฺห … ฯ ๓ ม. ยุ. คจฺเฉยฺยาสิ ฯ ๔ เอว วุตฺโต ฯ
๕ ยุ. โน ฯ ๖ ม. ยุ. เอตฺถนฺตเร ต อิติ ทิสฺสติ ฯ ๗ ม. ยุ. คจฺเฉยฺยาสิ ฯ
๘ ม. ยุ. ชลเต ฯ ๙ อคมาสิ จ โข โส ฯ

อรรถกถา


อรรถกถาปมาทสูตร
ในปมาทสูตรที่ ๖ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ปจฺเจกํ ทฺวารพาหํ ความว่า ได้ยืนพิงบานประตูองค์ละบาน
เหมือนคนเฝ้าประตู. บทว่า อิทฺโธ ความว่า พรั่งพร้อมด้วยความสุขใจฌาน.
บทว่า ผีโต ได้แก่ บานสะพรั่งด้วยดอกไม้คืออภิญญา. บทว่า อนธิวาเสนฺโต
ได้แก่ อดกลั้นไม่ได้. บทว่า เอตทโวจ ความว่า นั่งในท่ามกลางพรหม
เนรมิตเหล่านั้น ได้กล่าวคำนี้ว่า ปสฺสสิ เม เป็นต้น
ในคาถาว่า ตโย สุปณฺณา เป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้. บทว่า
สตะ ในบทว่า ปญฺจสตา พึงประกอบโดยรูปหรือโดยแถว. จะว่าโดยรูป
ก่อน บทว่า ตโย สุปณฺณา ได้แก่ รูปครุฑ ๓๐๐. บทว่า จตุโร จ
หํสา ได้แก่รูปหงส์ ๔๐๐. บทว่า พยคฺฆินิสา ปญฺจสตา ได้แก่ มฤค-
บางเหล่าเช่นกับเสือโคร่ง ชื่อว่า พยัคฆินิสา. รูปมฤคที่เหมือนเสือโคร่ง
เหล่านั้นมีจำนวน ๕๐๐. ว่าโดยแถว บทว่า ตโย สุปณฺณา ได้แก่ครุฑ
๓๐๐ แถว. บทว่า จตุโร หํสา ได้แก่หงส์ ๔๐๐ แถว. บทว่า พยคฺฆินิสา
ปญฺจสตา ได้แก่มฤคเหมือนเสือโคร่ง ๕๐๐ แถว. ด้วยบทว่า ฌายิโน
พรหมแสดงว่า ในวิมานของเราผู้ได้ฌานมีความรุ่งโรจน์ขนาดนี้. บทว่า
โอภาสยํ ได้แก่ สว่างไสว. บทว่า อุตฺตรสฺสํ ทิสายํ ความว่า ได้ยินว่า
วิมานทองใหญ่นั้น ปรากฏในทิศอุดร แต่ที่ ๆ มหาพรหมเหล่านั้นสถิตอยู่
เพราะฉะนั้น จึงกล่าวอย่างนี้. ก็พรหมนั้นมีความประสงค์ดังนี้ว่า เราอยู่ใน
วิมานทองเห็นปานนี้ จักไปสู่ที่บำรุงใครอื่นเล่า. บทว่า รูเป รณํ ทสฺวา
ได้แก่ เห็นโทษกล่าวคือเกิด แก่ และแตกดับในรูปะ บทว่า สทา ปเวธิตํ
ความว่า เห็นรูปที่หวั่นไหวและถูกวิโรธิปัจจัยมีความหนาวเป็นต้น กระทบอยู่
เป็นนิตย์. บทว่า ตสฺมา น รูเป รมตี สุเมโธ ความว่า เห็นโทษในรูป
และเห็นรูปที่หวั่นไหวอยู่ทุกเมื่อ เพราะฉะนั้น พระศาสดาผู้มีเมธาดี คือ
ผู้มีปัญญาดี จึงไม่ยินดีในรูป.
จบอรรถกถาปมาทสูตรที่ ๖

สนทนาธรรม

comments

Got anything to say? Go ahead and leave a comment!