15-131 ทรัพย์ที่ไม่มีบุตร สูตรที่ 2



พระไตรปิฎก


๑๐. ทุติยอปุตตกสูตร
ว่าด้วยทรัพย์ที่ไม่มีบุตร สูตรที่ ๒
[๓๙๐] ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลได้เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแต่ยังวัน
ถวายอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับพระเจ้า
ปเสนทิโกศลดังนี้ว่า “เชิญเถิด มหาบพิตร พระองค์เสด็จมาจากไหนแต่ยังวัน”
พระเจ้าปเสนทิโกศลกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คหบดีผู้เป็นเศรษฐี
ในกรุงสาวัตถีนี้ ถึงแก่กรรมแล้ว ข้าพระองค์ให้ขนทรัพย์สมบัติที่ไม่มีบุตรนั้นมาไว้
ในพระราชวังแล้วก็มาเข้าเฝ้า เฉพาะเงินเท่านั้นมี ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ ส่วนเครื่องเงินนั้น
ไม่ต้องพูดถึง อนึ่ง คหบดีผู้เป็นเศรษฐีนั้น ได้บริโภคอาหารเช่นนี้ คือ บริโภคปลายข้าว
กับน้ำผักดอง ได้ใช้ผ้าเครื่องนุ่งห่มเช่นนี้ คือ นุ่งห่มผ้าเนื้อหยาบที่ตัดเป็นสามชิ้น
เย็บติดกัน ได้ใช้ยานพาหนะเช่นนี้ คือ ใช้รถเก่า ๆ กั้นร่มทำด้วยใบไม้”
[๓๙๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มหาบพิตร ข้อนี้เป็นอย่างนั้น มหาบพิตร ข้อนี้
เป็นอย่างนั้น เรื่องเคยมีมาแล้ว คหบดีผู้เป็นเศรษฐีนั้น ได้สั่งให้จัดเตรียม
บิณฑบาตถวายพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าพระนามว่าตครสิขีว่า ‘ท่านทั้งหลาย จงถวาย
อาหารบิณฑบาตแก่สมณะ’ แล้วลุกจากอาสนะเดินจากไป ภายหลังได้มีความ
เสียดายว่า ‘อาหารบิณฑบาตนี้ให้ทาสหรือกรรมกรบริโภคยังดีกว่า’ นอกจากนี้
เขายังปลิดชีวิตบุตรน้อยคนเดียวของพี่ชาย เพราะทรัพย์สมบัติเป็นเหตุอีกด้วย
มหาบพิตร ด้วยผลของกรรมที่คหบดีผู้เป็นเศรษฐีนั้น สั่งให้จัดเตรียมอาหาร
บิณฑบาตถวายพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าพระนามว่าตครสิขี เขาจึงบังเกิดในสุคติโลก
สวรรค์ ๗ ครั้ง ด้วยเศษผลของกรรมนั้นเหมือนกัน ได้เป็นเศรษฐีในกรุงสาวัตถีนี้
แหละถึง ๗ ครั้ง
มหาบพิตร ด้วยผลของกรรมที่คหบดีผู้เป็นเศรษฐีนั้นถวายอาหารบิณฑบาตแล้ว
ภายหลังได้มีความเสียดายว่า ‘อาหารบิณฑบาตนี้ให้ทาสหรือกรรมกรบริโภค
ยังดีกว่า’ เขาจึงไม่คิดอยากบริโภคอาหารอันมากมาย ไม่คิดอยากใช้ผ้าเครื่องนุ่งห่ม
อันมากมาย ไม่คิดอยากใช้ยานพาหนะอย่างโอ่อ่า ไม่คิดอยากบริโภคกาม-
คุณ ๕ ที่ดี ๆ
มหาบพิตร อนึ่ง ด้วยผลของกรรมที่คหบดีผู้เศรษฐีนั้นปลิดชีวิตบุตรน้อย
คนเดียวของพี่ชาย เพราะทรัพย์สมบัติเป็นเหตุ เขาจึงถูกไฟเผาอยู่ในนรกหลายปี
หลายร้อยปี หลายพันปี หลายแสนปี ด้วยเศษผลของกรรมนั้นเหมือนกัน
ทรัพย์สมบัติที่ไม่มีบุตรรับเอา จึงถูกขนเข้าคลังหลวงนี้เป็นครั้งที่ ๗
มหาบพิตร ก็บุญเก่าของคหบดี ผู้เป็นเศรษฐีนั้นหมดสิ้นแล้ว และบุญใหม่ก็
ไม่ได้สะสมไว้ ในวันนี้ คหบดีผู้เป็นเศรษฐีนั้นถูกไฟเผาอยู่ในมหาโรรุวนรก”
พระเจ้าปเสนทิโกศลทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คหบดีผู้เป็นเศรษฐี
บังเกิดในมหาโรรุวนรกอย่างนั้นหรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อย่างนั้น มหาบพิตร คหบดีผู้เป็นเศรษฐี
บังเกิดในมหาโรรุวนรกแล้ว”
[๓๙๒] พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ฯลฯ จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
ข้าวเปลือก ทรัพย์ เงินทอง
สิ่งของที่หวงแหนอย่างใดอย่างหนึ่ง
หรือทาส กรรมกร คนรับใช้
และผู้อาศัยที่มีอยู่ ทั้งหมดนั้นเขานำไปไม่ได้
จำต้องละทิ้งไว้ทั้งหมด
อนึ่ง บุคคลทำกรรมใดทางกาย
ทางวาจา หรือทางใจ
กรรมนั้นแลเป็นสมบัติของเขา
ทั้งเขาจะนำกรรมนั้นไปได้
อนึ่งกรรมนั้นย่อมติดตามเขาไป
ดุจเงาติดตามตัวไป ฉะนั้น
เพราะฉะนั้น บุคคลควรทำกรรมดี
สะสมไว้เป็นสมบัติในโลกหน้า
เพราะบุญเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายในโลกหน้า
ทุติยอปุตตกสูตรที่ ๑๐ จบ

บาลี



ทุติยาปุตฺตกสุตฺต
[๓๙๐] อถ โข ราชา ปเสนทิโกสโล ทิวาทิวสฺส เยน ภควา
เตนุปสงฺกมิ อุปสงฺกมิตฺวา ภควนฺต อภิวาเทตฺวา เอกมนฺต นิสีทิ ฯ
เอกมนฺต นิสินฺน โข ราชาน ปเสนทิโกสล ภควา เอตทโวจ หนฺท
กุโต นุ ตฺว มหาราช อาคจฺฉสิ ทิวาทิวสฺสาติ ฯ อิธ ภนฺเต
สาวตฺถิย เสฏฺี คหปติ กาลกโต ตมห อปุตฺตก สาปเตยฺย
ราชนฺเตปุร อติหริตฺวา อาคจฺฉามิ สต ภนฺเต สตสหสฺสานิ
หิรฺสฺเสว โก ปน วาโท รูปิยสฺส ตสฺส โข ปน ภนฺเต
เสฏฺิสฺส คหปติสฺส เอวรูโป ภตฺตโภโค อโหสิ กณาชก ภุฺชติ
พิลงฺคทุติย เอวรูโป วตฺถโภโค อโหสิ สาณ ธาเรติ ติปกฺขวสน
เอวรูโป ยานโภโค อโหสิ ชชฺชรรถเกน ยาติ ปณฺณจฺฉตฺตเกน
ธาริยมาเนนาติ ฯ
[๓๙๑] เอวเมต มหาราช เอวเมต มหาราช ภูตปุพฺพ โส
มหาราช เสฏฺี คหปติ ตครสิขึ นาม ปจฺเจกสมฺพุทฺธ ปิณฺฑปาเตน
ปฏิปาเทสิ เทถ สมณสฺส ปิณฺฑนฺติ วตฺวา อุฏฺายาสนา ปกฺกามิ
ทตฺวา จ ปน ปจฺฉา วิปฺปฏิสารี อโหสิ วรเมต ปิณฺฑปาต
ทาสา วา กมฺมกรา วา ภุฺเชยฺยุนฺติ ภาตุ จ ปน เอก ปุตฺตก
สาปเตยฺยสฺส การณา ชีวิตา โวโรเปสิ ฯ ย โข โส มหาราช
เสฏฺี คหปติ ตครสิขึ ปจฺเจกสมฺพุทฺธ ปิณฺฑปาเตน ปฏิปาเทสิ
ตสฺส กมฺมสฺส วิปาเกน สตฺตกฺขตฺตุ สุคตึ สคฺค โลก อุปปชฺชิ
ตสฺเสว กมฺมสฺส วิปากาวเสเสน อิมิสฺสาเยว สาวตฺถิยา สตฺตกฺขตฺตุ
เสฏฺิตฺต กาเรสิ ฯ ย โข โส มหาราช เสฏฺี คหปติ ทตฺวา
ปจฺฉา วิปฺปฏิสารี อโหสิ วรเมต ปิณฺฑปาต ทาสา วา กมฺมกรา
วา ภุฺเชยฺยุนฺติ ตสฺส กมฺมสฺส วิปาเกน นาสฺสุฬาราย ภตฺตโภคาย
จิตฺต นมติ นาสฺสุฬาราย วตฺถโภคาย จิตฺต นมติ นาสฺสุฬาราย
ยานโภคาย จิตฺต นมติ นาสฺสุฬาราน ปฺจนฺน กามคุณาน
โภคาย จิตฺต นมติ ฯ ย โข โส มหาราช เสฏฺี คหปติ ภาตุ จ
ปน เอก ปุตฺตก สาปเตยฺยสฺส การณา ชีวิตา โวโรเปสิ ตสฺส
กมฺมสฺส วิปาเกน พหูนิ วสฺสานิ พหูนิ วสฺสสตานิ พหูนิ วสฺสสหสฺสานิ
พหูนิ วสฺสสตสหสฺสานิ นิรเย ปจฺจิตฺถ ตสฺเสว วสฺสสตานิ พหูนิ ๑
กมฺมสฺส วิปากาวเสเสน อิท ๒ สตฺตม อปุตฺตก สาปเตยฺย ราชโกส
ปเวเสนฺติ ฯ ตสฺส โข ปน มหาราช เสฏฺิสฺส คหปติสฺส ปุราณฺจ
ปุฺ ปริกฺขีณ นวฺจ ปุฺ อนุปจิต ฯ อชฺช ปน มหาราช
เสฏฺี คหปติ มหาโรรุเว นิรเย ปจฺจตีติ ฯ เอว ภนฺเต เสฏฺี
คหปติ มหาโรรุว นิรย อุปปนฺโนติ ฯ เอว มหาราช เสฏฺี
คหปติ มหาโรรุว นิรย ๓ อุปปนฺโนติ ฯ
[๓๙๒] อิทมโวจ ฯเปฯ
ธฺ ธน รชต ชาตรูป ปริคฺคห วาปิ ยทตฺถิ กิฺจิ
ทาสา กมฺมกรา เปสฺสา เย จสฺส อนุชีวิโน
สพฺพนฺนาทาย คนฺตพฺพ สพฺพ นิกฺขีปคามิน
ยฺจ กโรติ กาเยน วาจาย อุท เจตสา
ต หิ ตสฺส สก โหติ ตฺจ อาทาย คจฺฉติ
ตฺจสฺส อนุค โหติ ฉายาว อนุปายินี
ตสฺมา กเรยฺย กลฺยาณ นิจย สมฺปรายิก
ปุฺานิ ปรโลกสฺมึ ปติฏฺา โหนฺติ ปาณินนฺติ ฯ

******************

๑ โป. ม. ยุ. วสฺสสตานิ พหูนิ น ทิสฺสนฺติ ฯ ๒ สี อิธ ฯ ๓ ยุ. มหาโรรุเว
นิรเย ฯ

อรรถกถา


อรรถกถาทุติยาปุตตกสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในทุติยาปุตตกสูตรที่ ๑๐ ต่อไป :-
บทว่า ปิณฺฑปาเตน ปฏิปาเทสิ ได้แก่ประกอบไว้กับบิณฑบาต
อธิบายว่า ได้ถวายบิณฑบาต. บทว่า ปกฺกามิ ได้แก่ไปโดยกิจบางอย่างคือ
โดยกิจมีเข้าเฝ้าพระราชาเป็นต้น. บทว่า ปจฺฉา วิปฺปฏิสารี อโหสิ ความ
ว่า ได้ยินว่า เศรษฐีนั้นพบพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น แม้ในวันอื่นๆ
แต่เขามิได้เกิดจิตคิดจะถวายทาน. ในวันนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าพระนาม
ว่า ตครสิขี บุตรคนที่ ๓ ของนางปทุมวดีเทวี พระองค์นี้ ยับยั้งอยู่ด้วยสุข
เกิดแต่ผลสมาบัติ ณ ภูเขาคันธมาทน์ ลุกขึ้น ณ เวลาเช้า บ้วนโอษฐ์ ณ
สระอโนดาด นุ่งสบงสีแดงดังน้ำชาด คาดประคดเอว ถือบาตรจีวร เข้า
จตุตถฌานอันเป็นบาทแห่งอภิญญา เหาะไปด้วยฤทธิ์ลงที่ประตูนครห่มจีวรแล้ว
ถือบาตร ถึงประตูเรือนของเศรษฐีตามลำดับ ด้วยอากัปปะอาการมีก้าวไปเป็น
ต้นที่น่าเลื่อมใสประหนึ่งวางของมีค่าพันหนึ่งที่ประตูนครสำหรับชาวนครทั้ง
หลาย วันนั้น เศรษฐีตื่นแต่เช้าตรู่ บริโภคอาหารอันประณีต ปูอาสนะ ณ
ซุ้มประตูเรือน นั่งทำความสะอาดฟันอยู่ เศรษฐีนั้นเห็นพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า
แล้ว เกิดจิตคิดจะถวายทาน เพราะวันนั้นเศรษฐีบริโภคอาหารเช้าแล้วนั่งอยู่
จึงเรียกภรรยามาสั่งว่า เจ้าจงถวายบิณฑบาตแก่สมณะผู้นี้แล้วก็หลีกไป.
ภรรยาเศรษฐีคิดว่า โดยเวลาถึงเพียงเท่านี้ เราไม่เคยได้ยินคำว่าเจ้าจง
ถวายทานแก่ผู้นี้ แต่วันนี้ เศรษฐี แม้เมื่อสั่งให้ถวายทาน ก็มิได้สั่งให้ถวายแก่ผู้
นั้นผู้นี้ แต่ให้ถวายทานแก่พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าผู้ปราศจากราคโทสและโมหะ
ผู้คายกิเลส ผู้ปลงภาระแล้ว จำเราจักไม่ถวายทานสิ่งนั้นสิ่งนี้ แต่จักถวายบิณ-
ฑบาตอันประณีต นางออกจากเรือนแล้วไหว้พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าด้วยเบญ-
จางคประดิษฐ์แล้วรับบาตรนิมนต์ให้นั่งเหนืออาสนะที่จัดไว้ ณ ภายในนิเวศน์
ปรุงอาหารด้วยข้าวสารข้าวสาลีอันบริสุทธิ์ดี กำหนดกับที่ควรเคี้ยวและแกงที่พอ
สมกับ ประดับของหอมไว้ข้างนอกบรรจงวางไว้ในมือทั้งสองของพระปัจเจก
พุทธเจ้าแล้วไหว้ พระปัจเจกพุทธเจ้ายังไม่ฉันด้วยคิดจะทำการสงเคราะห์ พระ-
ปัจเจกพุทธเจ้าองค์อื่น ๆ จึงกระทำอนุโมทนาแล้วหลีกไป. เศรษฐีแม้นั้นแล
กำลังเดินมาแต่ข้างนอกเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าถามว่า เราสั่งให้เขาถวาย
บิณฑบาตแก่ท่านแล้วหลีกไป ท่านได้บิณฑบาตแล้วหรือ. พระปัจเจกพุทธเจ้า
ตอบว่า ถูกละ เศรษฐี เราได้แล้ว เศรษฐีหมายใจว่าจะดู จึงชะเง้อคอขึ้นดู.
ขณะนั้นเองกลิ่นบิณฑบาตของพระปัจเจกพุทธเจ้านั้นก็พลุ่งขึ้นกระทบโพรงจมูก.
เขาไม่อาจสำรวมจิตได้ ภายหลังก็มีวิปปฏิสารร้อนใจ
คำว่า วรเมตํ เป็นต้น เป็นการแสดงอาการของความร้อนใจที่เกิด
ขึ้น แต่เขาก็ฆ่าบุตรคนเดียวของพี่ชายเสีย เพราะเหตุแห่งทรัพย์สมบัติ. ได้
ยินว่า ครั้งนั้น เมื่อกองทรัพย์ยังมิได้แบ่งกัน มารดาบิดาและพี่ชายของเขา
ก็ตายไป เขาจึงอยู่ร่วมกับภรรยาของพี่ชาย. แต่พี่ชายของเขามีบุตรอยู่คนหนึ่ง.
เด็กนั้นกำลังเล่นอยู่ที่ถนน คนทั้งหลายก็พูดกันว่า นี้ทาส นี้ทาสี นี้ยาน นี้ทรัพย์
เป็นของ ๆ เจ้า เด็กนั้นก็จับคำของคนเหล่านั้นเอามาพูดว่า บัดนี้ นี้เป็นของ ๆ
เราดังนี้เป็นต้น.
ฝ่ายอาของเด็กนั้นคิดว่า เดี๋ยวนี้ เด็กนี้ยังพูดอย่างนี้ เมื่อแก่ตัวเขาก็
จะพึงตัดกองทรัพย์เสียระหว่างกลาง บัดนี้นี่แหละ เราจำจักต้องทำการที่จะพึง
ทำแก่เด็กนี้. วันหนึ่ง เขาถือมีดสั่งว่า มานี่แน่ลูก เราจะไปป่ากัน แล้วนำเด็ก
นั้นไปป่าฆ่าเด็กนั้น ซึ่งกำลังร้องโหยหวน โยนลงในบ่อกลบด้วยฝุ่น. ท่าน
หมายเอาข้อนี้จึงกล่าวคำนี้. บทว่า สตฺตกฺขตฺตุํ แปลว่า ๗ ครั้ง. ก็ในคำนี้
พึงทราบความ โดยเจตนาต้นและเจตนาหลัง. จริงอยู่ ในการถวายบิณฑบาต
ครั้งหนึ่ง เจตนาคราวเดียว ย่อมไม่ให้ปฏิสนธิสองครั้ง. ก็เศรษฐีนั้น บังเกิด
ในสวรรค์ ๗ ครั้ง ในตระกูลเศรษฐี ๗ ครั้ง ก็ด้วยเจตนาต้นและเจตนาหลัง.
บทว่า ปุราณํ ได้แก่ กรรมคือเจตนาในบิณฑบาตทานที่ถวายแก่พระปัจเจก
พุทธเจ้า.
บทว่า ปริคฺคหํ ได้แก่ สิ่งของที่หวงแหน. บทว่า อนุชีวิโน
ได้แก่ เหล่าตระกูล จำนวน ๕๐ บ้าง ๖๐ บ้าง อาศัยตระกูลใหญ่ตระกูลหนึ่งเลี้ยง
ชีพอยู่. ท่านหมายเอาคนเหล่านั้น จึงกล่าวคำนี้.
บทว่า สพฺพนฺนาทาย คนฺตพฺพํ ได้แก่ พาเอาทรัพย์นั้นทั้งหมด
ไปไม่ได้. บทว่า นิกฺขีปคามินํ ได้แก่ทรัพย์นั้น ทั้งหมดมีอันต้องทิ้งไว้เป็น
สภาพ อธิบายว่า มีอันจำต้องสละเป็นสภาวะทั้งนั้น.
จบอรรถกถาทุติยาปุตตกสูตรที่ ๑๐

สนทนาธรรม

comments

Got anything to say? Go ahead and leave a comment!