15-130 ทรัพย์ที่ไม่มีบุตร สูตรที่ 1



พระไตรปิฎก


๙. ปฐมอปุตตกสูตร
ว่าด้วยทรัพย์ที่ไม่มีบุตร สูตรที่ ๑
[๓๘๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแต่ยังวัน
ถวายอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับพระเจ้าปเสนทิ-
โกศลดังนี้ว่า “เชิญเถิด มหาบพิตร พระองค์เสด็จมาจากไหนแต่ยังวัน”
พระเจ้าปเสนทิโกศลกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คหบดีผู้เป็นเศรษฐี
ในกรุงสาวัตถีนี้ ถึงแก่กรรมแล้ว ข้าพระองค์ให้ขนทรัพย์สมบัติที่ไม่มีบุตรนั้นมาไว้
ในพระราชวังแล้วจึงมาเข้าเฝ้า เฉพาะเงินเท่านั้นมี ๘,๐๐๐,๐๐๐ ส่วนเครื่องเงินนั้น
ไม่ต้องพูดถึง อนึ่ง คหบดีผู้เป็นเศรษฐีนั้นได้บริโภคอาหารเช่นนี้ คือ บริโภค
ปลายข้าวกับน้ำผักดอง ได้ใช้ผ้าเครื่องนุ่งห่มเช่นนี้ คือ นุ่งห่มผ้าเนื้อหยาบที่ตัด
เป็นสามชิ้นเย็บติดกัน ได้ใช้ยานพาหนะเช่นนี้ คือ ใช้รถเก่า ๆ กั้นร่มทำด้วยใบไม้”
[๓๘๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มหาบพิตร ข้อนี้เป็นอย่างนั้น มหาบพิตร ข้อนี้
เป็นอย่างนั้น อสัตบุรุษได้โภคะมากมายแล้ว ไม่ทำตนให้มีความสุขสำราญ ไม่ทำ
มารดาและบิดาให้ได้รับความสุขสำราญ ไม่ทำบุตรและภรรยาให้ได้รับความสุขสำราญ
ไม่ทำทาสและกรรมกรให้ได้รับความสุขสำราญ ไม่ทำมิตรและอำมาตย์ A ให้ได้รับ
ความสุขสำราญ ไม่ตั้งทักษิณาอันมีผลในเบื้องบน มีผลอันดี มีวิบากเป็นสุข
และเป็นไปเพื่อสวรรค์ไว้ในสมณพราหมณ์ทั้งหลาย โภคะเหล่านั้นของเขาที่มิได้ใช้
สอยโดยชอบอย่างนี้ พระราชาทั้งหลายริบไปบ้าง โจรทั้งหลายปล้นไปบ้าง ไฟ
ไหม้บ้าง น้ำพัดไปบ้าง ทายาททั้งหลายผู้ไม่เป็นที่รักนำไปบ้าง เมื่อเป็นเช่นนี้
โภคะเหล่านั้นของเขาที่มิได้ใช้สอยโดยชอบ ย่อมเสียไปเปล่าโดยไม่มีการใช้สอย
มหาบพิตร ในถิ่นอมนุษย์ มีสระโบกขรณีซึ่งมีน้ำใส เย็น จืดสนิท ใสสะอาด
มีท่าน้ำดี น่ารื่นรมย์ น้ำนั้นคนไม่ตักเอาไป ไม่ดื่ม ไม่อาบ หรือไม่ทำตามที่ต้องการ
เมื่อเป็นเช่นนี้ น้ำที่ไม่ได้ใช้สอยโดยชอบนั้น พึงเสียไปเปล่าโดยไม่มีการใช้สอย
แม้ฉันใด มหาบพิตร อสัตบุรุษได้โภคะมากมายแล้ว ไม่ทำตนให้ได้รับความสุข
สำราญ ฯลฯ เมื่อเป็นเช่นนี้ โภคะเหล่านั้นของเขาที่มิได้ใช้สอยโดยชอบ ย่อมเสีย
ไปเปล่าโดยไม่มีการใช้สอย ฉันนั้นเหมือนกัน
[๓๘๘] มหาบพิตร ส่วนสัตบุรุษได้โภคะมากมายแล้ว ทำตนให้ได้รับความสุขสำราญ
ทำมารดาและบิดาให้ได้รับความสุขสำราญ ทำบุตรและภรรยาให้ได้รับความสุขสำราญ
ทำทาสและกรรมกรให้ได้รับความสุขสำราญ ทำมิตรและอำมาตย์ให้ได้รับความสุข
สำราญ ตั้งทักษิณาอันมีผลในเบื้องบน มีผลอันดี มีวิบากเป็นสุข เป็นไปเพื่อสวรรค์
ไว้ในสมณพราหมณ์ทั้งหลาย โภคะเหล่านั้นของเขาที่ใช้สอยโดยชอบอยู่อย่างนี้
พระราชาทั้งหลายก็ริบไปไม่ได้ โจรทั้งหลายก็ปล้นเอาไปไม่ได้ ไฟก็ไหม้ไม่ได้
น้ำก็พัดไปไม่ได้ ทายาททั้งหลายผู้ไม่เป็นที่รักก็นำไปไม่ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ โภคะ
เหล่านั้นของเขาที่ใช้สอยอยู่โดยชอบ ย่อมมีการใช้สอย ไม่เสียไปเปล่า
มหาบพิตร ในที่ไม่ไกลจากหมู่บ้าน หรือนิคม มีสระโบกขรณี ซึ่งมีน้ำใส
เย็น จืดสนิท ใสสะอาด มีท่าน้ำดี น่ารื่นรมย์ น้ำนั้นคนตักไปบ้าง ดื่มบ้าง อาบบ้าง
ทำตามที่ต้องการบ้าง เมื่อเป็นเช่นนี้ น้ำที่ใช้สอยอยู่โดยชอบนั้น ชื่อว่ามีการใช้สอย
ไม่เสียไปเปล่า แม้ฉันใด มหาบพิตร สัตบุรุษได้โภคะมากมายแล้ว ทำตนให้ได้รับ
ความสุขสำราญ ฯลฯ เมื่อเป็นเช่นนี้ โภคะเหล่านั้นของเขาที่ใช้สอยอยู่โดยชอบ
ย่อมมีการใช้สอย ไม่เสียไปเปล่า ฉันนั้นเหมือนกัน”
[๓๘๙] พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ฯลฯ จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
น้ำเย็นในถิ่นอมนุษย์ที่ไม่ได้ใช้สอย
ย่อมเหือดแห้งไป ฉันใด
ทรัพย์ที่คนชั่วได้แล้ว ตนเองไม่ได้ใช้
และไม่ให้คนอื่นใช้ ก็เสียไปเปล่า ฉันนั้น
ส่วนวิญญูชนผู้มีปัญญานั้น ได้โภคะแล้ว
ย่อมใช้สอยและประกอบกิจการงาน
เขาเป็นคนอาจหาญ เลี้ยงดูหมู่ญาติ ไม่ถูกติเตียน
ย่อมเข้าถึงแดนสวรรค์
ปฐมอปุตตกสูตรที่ ๙ จบ
เชิงอรรถ
A มิตร หมายถึงคนรู้จักกันเพราะการใช้ของในเรือนร่วมกัน เช่น ให้ของแก่กันและกันหรือรับของจากกัน
อำมาตย์ หมายถึงผู้ทำกิจร่วมกัน เช่น ปรึกษาหารือกัน ไปด้วยกัน นั่งด้วยกันเป็นต้น (สํ.สฬา.อ. ๓ /
๑๐๑๖/๓๖๗, สํ.ฏีกา ๒/๗๖/๖๒๙)

บาลี



ปมาปุตฺตกสุตฺต
[๓๘๖] สาวตฺถิย … อถ โข ราชา ปเสนทิโกสโล ทิวาทิวสฺส
เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ อุปสงฺกมิตฺวา ภควนฺต อภิวาเทตฺวา
เอกมนฺต นิสีทิ ฯ เอกมนฺต นิสินฺน โข ราชาน ปเสนทิโกสล
ภควา เอตทโวจ หนฺท กุโต นุ ตฺว มหาราช อาคจฺฉสิ
ทิวาทิวสฺสาติ ฯ อิธ ภนฺเต สาวตฺถิย เสฏฺี คหปติ กาลกโต
ตมห อปุตฺตก สาปเตยฺย ราชนฺเตปุร อติหริตฺวา อาคจฺฉามิ
อสีติ ภนฺเต สตสหสฺสานิ หิรฺสฺเสว โก ปน วาโท รูปิยสฺส
ตสฺส โข ปน ภนฺเต เสฏฺิสฺส คหปติสฺส เอวรูโป ภตฺตโภโค
อโหสิ กณาชก ภุฺชติ พิลงฺคทุติย เอวรูโป วตฺถโภโค อโหสิ
สาณ ธาเรติ ติปกฺขวสน เอวรูโป ยานโภโค อโหสิ ชชฺชรรถเกน
ยาติ ปณฺณจฺฉตฺตเกน ธาริยมาเนนาติ ฯ
[๓๘๗] เอวเมต มหาราช เอวเมต มหาราช อสปฺปุริโส
โข มหาราช อุฬาเร โภเค ลภิตฺวา เนวตฺตาน สุเขติ ปิเณติ
น มาตาปิตโร สุเขติ ปิเณติ น ปุตฺตทาร สุเขติ ปิเณติ น
ทาสกมฺมกรโปริเส สุเขติ ปิเณติ น มิตฺตามจฺเจ สุเขติ ปิเณติ
น สมเณสุ พฺราหฺมเณสุ อุทฺธคฺคิก ทกฺขิณ ปติฏฺาเปติ โสวคฺคิก
สุขวิปาก สคฺคสวตฺตนิก ฯ ตสฺส เต โภเค เอว สมฺมา อปริภุฺชมาเน
ราชาโน วา หรนฺติ โจรา วา หรนฺติ อคฺคิ วา
ฑหติ อุทก วา วหติ อปฺปิยา วา ทายาทา หรนฺติ ฯ เอวส
เต ๑ มหาราช โภคา สมฺมา อปริภุฺชมานา ปริกฺขย คจฺฉนฺติ
โน ปริโภค ฯ เสยฺยถาปิ มหาราช อมนุสฺสฏฺาเน โปกฺขรณี
อจฺโฉทกา สีโตทกา สาโตทกา ๒ เสตกา สุปติตฺถา รมณียา
ตฺชโน ๓ เนว หเรยฺย น ปิเวยฺย น นฺหาเยยฺย ๔ น ยถาปจฺจย วา
กเรยฺย เอวฺหิ ต มหาราช อุทก สมฺมา อปริภุฺชมาน ปริกฺขย ๕
คจฺเฉยฺย โน ปริโภค เอวเมว โข มหาราช อสปฺปุริโส อุฬาเร
โภเค ลภิตฺวา เนวตฺตาน สุเขติ ปิเณติ ฯเปฯ เอวส เต มหาราช
โภคา สมฺมา อปริภุฺชมานา ปริกฺขย คจฺฉนฺติ โน ปริโภค ฯ
[๓๘๘] สปฺปุริโส จ โข มหาราช อุฬาเร โภเค ลภิตฺวา
อตฺตาน สุเขติ ปิเณติ มาตาปิตโร สุเขติ ปิเณติ ปุตฺตทาร
สุเขติ ปิเณติ ทาสกมฺมกรโปริเส สุเขติ ปิเณติ มิตฺตามจฺเจ
สุเขติ ปิเณติ สมเณสุ พฺราหฺมเณสุ อุทฺธคฺคิก ทกฺขิณ ปติฏฺาเปติ
โสวคฺคิก สุขวิปาก สคฺคสวตฺตนิก ฯ ตสฺส เต โภเค เอว สมฺมา
ปริภุฺชมาเน เนว ราชาโน หรนฺติ น โจรา หรนฺติ น อคฺคิ
ฑหติ น อุทก วหติ น อปฺปิยา ทายาทา หรนฺติ ฯ เอวส เต
มหาราช โภคา สมฺมา ปริภุฺชมานา ปริโภค คจฺฉนฺติ โน
ปริกฺขย ฯ เสยฺยถาปิ มหาราช คามสฺส วา นิคมสฺส วา อวิทูเร
โปกฺขรณี อจฺโฉทกา สีโตทกา สาโตทกา เสตกา สุปติตฺถา
รมณียา ตฺชโน หเรยฺยปิ ปิเวยฺยปิ นฺหาเยยฺยปิ ยถาปจฺจยปิ
กเรยฺย เอวฺหิ ต มหาราช อุทก สมฺมา ปริภุฺชมาน ปริโภค
คจฺเฉยฺย โน ปริกฺขย เอวเมว โข มหาราช สปฺปุริโส อุฬาเร
โภเค ลภิตฺวา อตฺตาน สุเชติ ปิเณติ ฯเปฯ เอวส เต โภคา
สมฺมา ปริภุฺชมานา ปริโภค คจฺฉนฺติ โน ปริกฺขยนฺติ ฯ
[๓๘๙] อิทมโวจ ฯเปฯ
อมนุสฺสฏฺาเน อุทก วสิต
ตทเปยฺยมาน ปุริโส สเมติ
เอว ธน กาปุริโส ลภิตฺวา
เนวตฺตนา ปริภุฺชติ ๖ โน ททาติ
ธีโร จ วิฺู อธิคมฺม โภเค
โส ปริภุฺชติ กิจฺจกโร จ โหติ
โส าติสงฺฆ นิสโภ ภริตฺวา
อนินฺทิโต สคฺคมุเปติ านนฺติ ฯ

******************

๑ ยุ. เอว สนฺเต ฯ ๒ สี. อจฺโฉทิกา สีโตทิกา สาโตทิกา ฯ ๓ สี. ราชาโนติปิ
มหาชโนติปิ ปาโ ฯ ๔ สี. ยุ. นหาเยยฺย ฯ ๕ สี. ปริโสส ฯ
๖ ม. ยุ. ภุฺชติ ฯ

อรรถกถา


อรรถกถาปฐมาปุตตกสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในปฐมาปุตตกสูตรที่ ๙ ต่อไป :-
บทว่า ทิวาทิวสฺส แปลว่า วันแห่งวัน อธิบายว่า เวลากลางวัน
(เที่ยงวัน). บทว่า สาปเตยฺยํ แปลว่า ทรัพย์. บทว่า โก ปน วาโท
รูปิยสฺส ความว่า ก็จะป่วยกล่าวไปไยถึงสิ่ง ทั้งที่ทำเป็นแท่ง ต่างโดยเป็น
เงิน ทองแดง เหล็ก สำริดเป็นต้น ทั้งที่เป็นรูปิยภัณฑ์ ต่างโดยเป็นภาชนะ
ใช้สอยเป็นต้น คือจะพูดกำหนดอะไรกันว่า ชื่อมีเท่านี้. บทว่า กณาชกํ
ได้แก่ ข้าวมีรำ (ข้าวกล้อง). บทว่า ทิลงฺคทุติยํ แปลว่า มีน้ำส้มพะอูม
เป็นที่สอง. บทว่า สาณํ ได้แก่ ผ้าที่ทำด้วยเปลือกป่าน. บทว่า ติปกฺข-
วสนํ ได้แก่ ผ้าที่ตัดเป็น ๓ ชิ้น เย็บริมทั้งสองติดกัน.
บทว่า อสปฺปุริโส แปลว่า บุรุษผู้เลว. ทักษิณาชื่อว่า อุทฺธคฺคิกา
ในคำว่า อุทฺธคฺคิกํ เป็นต้น เพราะมีผลในเบื้องบน (สูง) โดยให้ผลใน
ภูมิสูง ๆ ขึ้นไป. ชื่อว่า โสวคฺคิกา เพราะเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่สวรรค์
เหตุให้อุบัติในสวรรค์นั้น. ชื่อว่า สุขวิปากา เพราะทักษิณานั้นมีสุขเป็นวิบาก
ในที่บังเกิดแล้วบังเกิดเล่า. ชื่อว่า สคฺคสํวตฺตนิกา เพราะเป็นที่บังเกิดของ
วิเศษ มีวรรณะทิพย์เป็นต้นอันเลิศดี. อธิบายว่า ทักษิณาทานเห็นปานนี้
ย่อมประดิษฐานอยู่.
บทว่า สาโตทกา ได้แก่ มีน้ำรสอร่อย. บทว่า เสตกา ได้แก่
น้ำอันขาว เพราะน้ำในที่คลื่นแตกกระจาย สีขาว. บทว่า. สุปติตฺถา แปลว่า
มีท่าอันดี. บทว่า ตญฺชโน ความว่า น้ำที่จืดสนิท โดยน่าชนิดใด ชนหา
พึงบรรจุน้ำชนิดนั้นใส่ภาชนะนำไปได้ไม่. บทว่า น ยถาปจฺจยํ กเรยฺย
ความว่า กิจด้วยน้ำใด ๆ บุคคลพึงทำด้วยน้ำ เขาหาพึงทำกิจด้วยน้ำนั้น ๆ
ได้ไม่. บทว่า ตทเปยฺยมานํ แปลว่า น้ำนั้นเขาดื่มไม่ได้. บทว่า กิจฺจกโร
จ โหติ ความว่า ผู้ทำกิจคือการงาน และผู้ทำกิจคือกุศลของตน ย่อมบริโภค
ย่อมประกอบการงานและให้ทาน.
จบอรรถกถาปฐมาปุตตกสูตรที่ ๙

สนทนาธรรม

comments

Got anything to say? Go ahead and leave a comment!