15-113 ธรรมที่ไม่เกิดประโยชน์แก่บุรุษ



พระไตรปิฎก


๒. ปุริสสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ไม่เกิดประโยชน์แก่บุรุษ
[๓๒๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมเหล่าไหนเมื่อเกิดขึ้นภายใน(จิต)ของบุรุษ ย่อมเกิดขึ้น
เพื่อไม่เป็นประโยชน์ เพื่อความทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่ผาสุก”
[๓๒๙] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “มหาบพิตร ธรรม ๓ ประการ เมื่อเกิดขึ้น
ภายใน(จิต)ของบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อไม่เป็นประโยชน์ เพื่อความทุกข์ เพื่อความ
อยู่ไม่ผาสุก
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. โลภธรรม (ธรรมคือโลภะ) เมื่อเกิดขึ้นภายใน(จิต)ของบุรุษ ย่อม
เกิดขึ้นเพื่อไม่เป็นประโยชน์ เพื่อความทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่ผาสุก
๒. โทสธรรม (ธรรมคือโทสะ) เมื่อเกิดขึ้นภายใน(จิต)ของบุรุษ ย่อม
เกิดขึ้นเพื่อไม่เป็นประโยชน์ เพื่อความทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่ผาสุก
๓. โมหธรรม (ธรรมคือโมหะ) เมื่อเกิดขึ้นภายใน(จิต)ของบุรุษ ย่อม
เกิดขึ้นเพื่อไม่เป็นประโยชน์ เพื่อความทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่ผาสุก
ธรรม ๓ ประการนี้แล เมื่อเกิดขึ้นภายใน(จิต)ของบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อไม่เป็น
ประโยชน์ เพื่อความทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่ผาสุก”
[๓๓๐] พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ฯลฯ จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
โลภะ โทสะ และโมหะเกิดขึ้นภายในตน
ย่อมทำร้ายบุรุษผู้มีจิตเลวทราม
เหมือนขุยไผ่กำจัดต้นไผ่ ฉะนั้น A
ปุริสสูตรที่ ๒ จบ
เชิงอรรถ
A ดูเทียบข้อ ๑๓๔ หน้า ๑๖๗ ในเล่มนี้

บาลี



ปุริสสุตฺต
[๓๒๘] สาวตฺถิย อาราเม … อถ โข ราชา ปเสนทิโกสโล
เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ อุปสงฺกมิตฺวา ภควนฺต อภิวาเทตฺวา
เอกมนฺต นิสีทิ ฯ เอกมนฺต นิสินฺโน โข ราชา ปเสนทิโกสโล
ภควนฺต เอตทโวจ กติ นุ โข ภนฺเต ปุริสสฺส ธมฺมา อชฺฌตฺต
อุปฺปชฺชมานา อุปฺปชฺชนฺติ อหิตาย ทุกฺขาย อผาสุวิหารายาติ ฯ
[๓๒๙] ตโย โข มหาราช ปุริสสฺส ธมฺมา อชฺฌตฺต อุปฺปชฺชมานา
อุปฺปชฺชนฺติ อหิตาย ทุกฺขาย อผาสุวิหาราย กตเม ตโย
โลโภ โข มหาราช ปุริสสฺส ธมฺโม อชฺฌตฺต อุปฺปชฺชมาโน
อุปฺปชฺชติ อหิตาย ทุกฺขาย อผาสุวิหาราย โทโส โข มหาราช
ปุริสสฺส ธมฺโม อชฺฌตฺต อุปฺปชฺชมาโน อุปฺปชฺชติ อหิตาย ทุกฺขาย
อผาสุวิหาราย โมโห โข มหาราช ปุริสสฺส ธมฺโม อชฺฌตฺต
อุปฺปชฺชมาโน อุปฺปชฺชติ อหิตาย ทุกฺขาย อผาสุวิหาราย อิเม โข
มหาราช ตโย ปุริสสฺส ธมฺมา อชฺฌตฺต อุปฺปชฺชมานา อุปฺปชฺชนฺติ
อหิตาย ทุกฺขาย อผาสุวิหารายาติ ฯ
[๓๓๐] อิทมโวจ ฯเปฯ
โลโภ โทโส จ โมโห จ ปุริส ปาปเจตส
หึสนฺติ อตฺตสมฺภูตา ตจสารว สปฺผลนฺติ ๑ ฯ

******************

๑ ม. ยุ. สมฺผลนฺติ ฯ

อรรถกถา


อรรถกถาปุริสสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในปุริสสูตรที่ ๒ ต่อไป :-
บทว่า อภิวาเทตฺวา ความว่า พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงอภิวาท
ในสูตรนี้ ก็เพราะทรงถึงสรณะแล้วในสูตรก่อน. บทว่า อชฺฌตฺตํ ได้แก่
ภายในตัวเอง อธิบายว่า เกิดขึ้นในสันดานของตน. บรรดาอกุศลมูล ๓ มี
โลภะเป็นต้น โลภะมีลักษณะละโมบ โทสะมีลักษณะขัดเคือง โมหะมีลักษณะ
ลุ่มหลง. บทว่า หึสนฺติ ได้แก่ เบียดเบียน ทำให้เสียหาย ทำให้พินาศ.
บทว่า อตฺตสมฺภูตา แปลว่า เกิดแล้วในตน. บทว่า ตจสารํว สมฺผลํ
ความว่า ผลของตัวเอง ย่อมเบียน คือ ทำต้นไม้ที่มีเปลือกเป็นแก่น ไม่ว่า
ต้นไผ่หรือต้นอ้อให้พินาศ ฉันใด อกุศลมูลทั้งหลาย ก็เบียน คือทำให้พินาศ
ฉันนั้น.
จบอรรถกถาปริสสูตรที่ ๒

สนทนาธรรม

comments

Got anything to say? Go ahead and leave a comment!