15-107 โลหิตตัสสเทพบุตร



พระไตรปิฎก


๖. โรหิตัสสสูตร
ว่าด้วยโรหิตัสสเทพบุตร

[๒๙๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
โรหิตัสสเทพบุตรยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์สามารถหรือหนอที่จะทรงรู้ ทรงเห็น หรือทรง
ถึงที่สุดแห่งโลกที่สัตว์ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติด้วยการไป”
[๒๙๖] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “เทพบุตร เราไม่กล่าวที่สุดแห่งโลกที่สัตว์ไม่เกิด
ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติว่า ‘พึงรู้ พึงเห็น พึงถึงได้’ ด้วยการไป”
โรหิตัสสเทพบุตรกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคย
ปรากฏ พระผู้มีพระภาคตรัสเรื่องนี้ไว้ดียิ่งนักว่า เทพบุตร เราไม่กล่าวที่สุด
แห่งโลกที่สัตว์ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติว่า ‘พึงรู้ พึงเห็น พึงถึงได้’
ด้วยการไป
[๒๙๗]ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เรื่องเคยมีแล้ว ข้าพระองค์เป็นฤาษีชื่อโรหิตัสสะ
เป็นบุตรของผู้ใหญ่บ้านเปรียบได้กับนายขมังธนู มีฤทธิ์ เหาะได้ ความเร็วของ
ข้าพระองค์นั้นเปรียบได้กับนายขมังธนู ผู้ยิงธนูแม่นยำ ศึกษามาดีแล้ว ผู้เชี่ยวชาญ
ช่ำชอง ฝึกซ้อมมาดี พึงยิงลูกศรเบาให้ผ่านเงาตาลด้านขวางไปได้โดยไม่ยาก ฉะนั้น
การย่างเท้าแต่ละก้าวของข้าพระองค์เปรียบได้กับระยะทางจากทะเลด้านตะวันออก
ถึงทะเลด้านตะวันตก ฉะนั้น ความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘เราจักถึงที่สุดแห่งโลก
ด้วยการไป’ เกิดแก่ข้าพระองค์นั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์นั้นเพียบพร้อม
ด้วยความเร็วและการย่างเท้าอย่างนี้ เว้นจากการกิน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม
การถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ การหลับ และการบรรเทาความเหน็ดเหนื่อย มีอายุ
๑๐๐ ปี ดำรงชีพอยู่ได้ตั้ง ๑๐๐ ปี ดำเนินไปได้ตั้ง ๑๐๐ ปี ยังไม่ถึงที่สุดแห่งโลก
ก็ตายเสียก่อนในระหว่างทาง
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ พระผู้มีพระภาคตรัส
เรื่องนี้ไว้ดียิ่งนักว่า เทพบุตร เราไม่กล่าวที่สุดแห่งโลกที่สัตว์ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย
ไม่จุติ ไม่อุบัติว่า ‘พึงรู้ พึงเห็น พึงถึงได้’ ด้วยการไป”
[๒๙๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เทพบุตร เราไม่กล่าวที่สุดแห่งโลกที่สัตว์ไม่เกิด
ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติว่า ‘พึงรู้ พึงเห็น พึงถึงได้’ ด้วยการไป เราไม่
กล่าวว่า การที่บุคคลยังไม่ถึงที่สุดแห่งโลกจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
อนึ่ง เราบัญญัติโลก A ความเกิดแห่งโลก B ความดับแห่งโลก C และข้อปฏิบัติ
ที่ให้ถึงความดับแห่งโลก D ในร่างกายที่มีประมาณวาหนึ่ง มีสัญญา มีใจนี้เอง
ไม่ว่าเวลาไหน ที่สุดแห่งโลก
ใครก็ถึงไม่ได้ด้วยการไป
และเมื่อยังไม่ถึงที่สุดแห่งโลก
ย่อมไม่มีการเปลื้องตนจากทุกข์
เพราะเหตุนั้นแล ผู้รู้แจ้งโลก มีปัญญาดี
ถึงที่สุดแห่งโลก อยู่จบพรหมจรรย์
สงบระงับ รู้ที่สุดแห่งโลก
ย่อมไม่หวังทั้งโลกนี้และโลกหน้า E”
โรหิตัสสสูตรที่ ๖ จบ
เชิงอรรถ
A โลก หมายถึงทุกขสัจ (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๔๕/๓๔๕)
B ความเกิดแห่งโลก หมายถึงสมุทัยสัจ (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๔๕/๓๔๕)
C ความดับแห่งโลก หมายถึงนิโรธสัจ (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๔๕/๓๔๕)
D ข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความดับแห่งโลก หมายถึงมัคคสัจ (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๔๕/๓๔๕)
E ดู องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๔๕/๗๓

บาลี



โรหิตสฺสสุตฺต
[๒๙๕] สาวตฺถิย วิหรติ … เอกมนฺต ิโต โข โรหิตสฺโส
เทวปุตฺโต ภควนฺต เอตทโวจ ยตฺถ นุ โข ภนฺเต น ชายติ
น ชิยฺยติ น มิยฺยติ น จวติ น อุปปชฺชติ สกฺกา นุ โข โส ภนฺเต
คมเนน โลกสฺส อนฺโต าตุ วา ทฏฺ วา ปาปุณิตุ วาติ ฯ
[๒๙๖] ยตฺถ โข อาวุโส น ชายติ น ชิยฺยติ น มิยฺยติ น
จวติ น อุปปชฺชติ นาหนฺต คมเนน โลกสฺส อนฺต าเตยฺย
ทฏฺเยฺย ปตฺเตยฺยนฺติ วทามีติ ฯ อจฺฉริย ภนฺเต อพฺภูต ภนฺเต
ยาว สุภาสิตฺจิท ภนฺเต ภควตา ยตฺถ โข อาวุโส น ชายติ
น ชิยฺยติ น มิยฺยติ น จวติ น อุปปชฺชติ นาหนฺต คมเนน
โลกสฺส อนฺต าเตยฺย ทฏฺเยฺย ปตฺเตยฺยนฺติ วทามีติ ฯ
[๒๙๗] ภูตปุพฺพาห ภนฺเต โรหิตสฺโส นาม อิสิ อโหสึ
โภชปุตฺโต อิทฺธิมา เวหาสงฺคโม ฯ ตสฺส มยฺห ภนฺเต เอวรูโป
ชโว อโหสิ เสยฺยถาปิ นาม ทฬฺหธมฺโม ธนุคฺคโห สิกฺขิโต
กตหตฺโถ กตโยคฺโค กตุปาสโน ลหุเกน อสเนน อปฺปกสิเรเนว
ติริย ตาลจฺฉาย อติปาเตยฺย ฯ ตสฺส มยฺห ภนฺเต เอวรูโป ปทวีติหาโร
อโหสิ เสยฺยถาปิ ๑ ปุรตฺถิมา สมุทฺทา ปจฺฉิโม สมุทฺโท ฯ
ตสฺส มยฺห ภนฺเต เอวรูป อิจฺฉาคต อุปฺปชฺชิ อห คมเนน
โลกสฺส อนฺต ปาปุณิสฺสามีติ ฯ โส ขฺวาห ภนฺเต เอวรูเปน
ชเวน สมนฺนาคโต เอวรูเปน จ ปทวีติหาเรน อฺเตฺรว อสิตขายิต ๒
อฺตฺร อุจฺจารปสฺสาวกมฺมา อฺตฺร นิทฺทากิลมถปฏิวิโนทนา
วสฺสสตายุโก วสฺสสตชีวี วสฺสสต คนฺตฺวา
อปฺปตฺวาว ๓ โลกสฺส อนฺต อนฺตราว กาลกโต ฯ อจฺฉริย ภนฺเต
อพฺภูต ภนฺเต ยาว สุภาสิตฺจิท ภนฺเต ภควตา ยตฺถ โข อาวุโส
น ชายติ น ชิยฺยติ น มิยฺยติ น จวติ น อุปปชฺชติ นาหนฺต
คมเนน โลกสฺส อนฺต าเตยฺย ทฏฺเยฺย ปตฺเตยฺยนฺติ วทามีติ ฯ
[๒๙๘] ยตฺถ ๔ โข อาวุโส น ชายติ น ชิยฺยติ น มิยฺยติ น
จวติ น อุปปชฺชติ นาหนฺต คมเนน โลกสฺส อนฺต าเตยฺย
ทฏฺเยฺย ปตฺเตยฺยนฺติ วทามิ น จ ปนาห ๕ อาวุโส อปฺปตฺวา
โลกสฺส อนฺต ทุกฺขสฺส อนฺตกิริย วทามิ อปิจาห ๖ อาวุโส
อิมสฺมึเยว พฺยามมตฺเต กเฬวเร สสฺมฺหิ สมนเก โลกฺจ
ปฺเปมิ ๗ โลกสมุทยฺจ โลกนิโรธฺจ โลกนิโรธคามินิฺจ
ปฏิปทนฺติ ฯ
คมเนน น ปตฺตพฺโพ โลกสฺสนฺโต กุทาจน
น จ อปฺปตฺวา โลกนฺต ทุกฺขา อตฺถิ ปโมจน
ตสฺมา หเว โลกวิทู สุเมโธ
โลกนฺตคู วุสิตพฺรหฺมจริโย
โลกสฺส อนฺต สมิตาวิ ตฺวา
นาสึสติ โลกมิม ปรฺจาติ ฯ

******************

๑ โป. ม. เสยฺยถาปิ นาม ฯ ๒ โป. ม. ยุ. อสิตปีตขายิตสายิตา ฯ ๓ ยุ. จ ฯ
๔ โป. ม. ยุ. ยตฺถ โข … ปตฺเตยฺยนฺติ วทามีติ น ทิสฺสติ ฯ ๕ ม. ยุ. น โข
#ปนาห ฯ ๖ ม. ยุ. อปิ ขฺวาห ฯ ๗ ปฺาเปมีติ วา ปาโ ฯ

 

อรรถกถา


อรรถกถาโรหิตัสสสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในโรหิตัสสสูตรที่ ๖ ต่อไป :-
บทว่า ยตฺถ เป็นสัตตมีวิภัตติ ลงในโอกาสหนึ่งแห่งโลกจักรวาล.
คำว่า น จวติ น อุปปชฺชติ นี้ ท่านถือเอาด้วยอำนาจ การจุติปฏิสนธิ
ในภพต่อ ๆ ไป. บทว่า คมเนน ได้แก่ ด้วยการเดินไปด้วยเท้า พระ-
ศาสดาตรัสว่า นาหนฺตํ โลกสฺส อนฺตํ ดังนี้ ทรงหมายถึงที่สุดแห่งสังขารโลก.
ในบทว่า าเตยฺยํ เป็นต้น ความว่า พึงรู้พึงเห็นพึงถึง เทพบุตรทูลถาม
ถึงที่สุดแห่งโลกจักรวาล ด้วยประการฉะนี้ พระศาสดาตรัสถึงที่สุดแห่งสังขาร
โลก. แต่เทพบุตรนั้นร่าเริงด้วยสำคัญว่า คำพยากรณ์ของพระศาสดา สมกับ
ปัญหาของตน จึงกล่าวว่า น่าอัศจรรย์เป็นต้น. บทว่า ทฬฺหธมฺโม แปลว่า
มีธนูมั่น คือประกอบด้วยธนูขนาดเยี่ยม. บทว่า ธนฺคฺคโห แปลว่า อาจารย์
ฝึกธนู. บทว่า สุสิกฺขิโต ได้แก่ ศึกษาศิลปธนูมา ๑๒ ปี. บทว่า กตหตฺโถ
ได้แก่ ชื่อว่า ชำนาญมือ เพราะสามารถยิงปลายขนทรายได้ แม้ในระยะ
อุสภะหนึ่ง. บทว่า กตุปาสุโน ได้แก่ยิงธนูชำนาญ ประลองศิลปะมาแล้ว.
บทว่า อสเนน ได้แก่ลูกธนู. บทว่า อติปาเตยฺย ได้แก่พึงผ่าน. เทพบุตร
แสดงคุณสมบัติคือความเร็วของตนว่า ลูกธนูนั้นพึงผ่านเงาตาลเพียงใด
ข้าพระองค์ก็ผ่านจักรวาลไปโดยกาล [ชั่วขณะ] เพียงนั้น. ด้วยบทว่า ปุริมา
สมุทฺทา ปจฺฉิโม เทพบุตรกล่าวว่า ข้าพระองค์ย่างเท้าก้าวได้ไกล ทำนอง
ไกลจากสมุทรด้านตะวันออกจดสมุทรด้านตะวันตก. ได้ยินว่า เทพบุตรนั้น
ยืนที่ขอบปากจักรวาลทิศตะวันออก ย่างเท้าแรกก้าวเลยขอบปากจักรวาลทิศ-
ตะวันตกไป ย่างเท้าที่สองออก ก็ก้าวเลยขอบปากจักรวาลอื่น ๆ ไป. บทว่า
อิจฺฉาคตํ แปลว่า ความอยากได้นั่นเอง. เทพบุตรแสดงความไม่ชักช้าด้วย
บทว่า อญฺเตฺรว ได้ยินว่า โรหิตัสสฤษีนั้น ในเวลาไปภิกขาจาร เคี้ยว
ไม้ชำระฟัน ชื่อนี้คลดาแล้วบ้วนปากที่สระอโนดาด ถึงอุตตรกุรุทวีปแล้วออก
หาอาหาร นั่งที่ชอบปากจักรวาล ฉันอาหาร ณ ที่นั้น พักชั่วครู่ก็เหาะไปเร็วอีก.
บทว่า วสฺสสตายุโก ได้แก่ ยุคนั้น เป็นยุคที่มนุษย์มีอายุยืน. แต่โรหิตัสสฤษี
นี้ เริ่มเดินทางเมื่ออายุเหลือ ๑๐๐ ปี. บทว่า วสฺสสตชีวี ได้แก่เป็นอยู่
โดยไม่มีอันตรายตลอด ๑๐๐ ปีนั้น. บทว่า อนฺตราว กาลกโต ได้แก่ยัง
ไม่ทันถึงที่สุดโลกจักรวาลก็ตายเสียในระหว่าง ก็โรหิตตัสสฤษีนั้นแม้ทำกาละใน
ภพนั้น ก็มาบังเกิดในจักรวาลนี้นี่แล. บทว่า อปฺปตฺวา ได้แก่ ยังไม่ถึงที่
สุดแห่งสังขารโลก. บทว่า ทุกฺขสฺส ได้แก่ วัฏทุกข์. บทว่า อนฺตกิริยํ
ได้แก่ การทำที่สุด. บทว่า กเฬวเร ได้แก่ ในอัตภาพ. บทว่า สสญฺมฺหิ
สมนเก ได้แก่มีสัญญา มีจิต. บทว่า โลกํ ได้แก่ทุกขสัจ. บทว่า โลกสมุทยํ
ได้แก่ สมุทัยสัจ. บทว่า โลกนิโรธํ ได้แก่ นิโรธสัจ. บทว่า ปฏิปทํ
ได้แก่ มรรคสัจ ด้วยประการฉะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า ดูก่อน
ผู้มีอายุ เราไม่บัญญัติสัจจะ ๔ นี้ลงในหญ้าและไม้เป็นต้น แต่เราบัญญัติลงใน
กายที่ประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ นี้เท่านั้น. บทว่า สมิตาวี ได้แก่สงบบาป.
บทว่า นาสึสติ ได้แก่ ไม่ปรารถนา.
จบอรรถกถาโรหิตัสสสูตรที่ ๖

สนทนาธรรม

comments

Got anything to say? Go ahead and leave a comment!