15-086 ทามลิเทพบุตร



พระไตรปิฎก


๕. ทามลิสูตร
ว่าด้วยทามลิเทพบุตร
[๒๒๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้นเมื่อราตรีผ่านไป ทามลิเทพบุตรมีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้
สว่างทั่วพระเชตวัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่
ณ ที่สมควร
[๒๓๐] ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
พราหมณ์ผู้ไม่เกียจคร้านพึงทำความเพียรนี้
เพราะละกามทั้งหลายได้ (และ) เพราะความเพียรนั้น
เขาจึงไม่หวังภพ
[๒๓๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ทามลิเทพบุตร กิจไม่มีแก่พราหมณ์ A
เพราะพราหมณ์ทำกิจเสร็จแล้ว
ตราบใดบุคคลยังไม่ได้ท่าจอดในแม่น้ำทั้งหลาย
ตราบนั้นเขายังต้องเพียรด้วยตัวเองทุกอย่าง
แต่เมื่อได้ท่าจอดแล้ว ยืนอยู่บนบก
เขาเป็นผู้ถึงฝั่งแล้วจึงไม่ต้องเพียรอีก
ทามลิเทพบุตร นี้เป็นข้ออุปมาสำหรับพราหมณ์
ผู้สิ้นอาสวะแล้ว ผู้มีปัญญาเครื่องบริหาร ผู้มีฌาน
เพราะเขาถึงที่สุดแห่งชาติและมรณะ
เป็นผู้ถึงฝั่งแล้วจึงไม่ต้องเพียร
ทามลิสูตรที่ ๕ จบ
เชิงอรรถ
A พราหมณ์ ในที่นี้หมายถึงพระขีณาสพ (สํ.ส.อ. ๑/๘๖/๑๐๐)

บาลี



ทามลิสุตฺต
[๒๒๙] สาวตฺถิย อาราเม … อถ โข ทามลิ ๑ เทวปุตฺโต
อภิกฺกนฺตาย รตฺติยา อภิกฺกนฺตวณฺโณ เกวลกปฺป เชตวน โอภาเสตฺวา
เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ อุปสงฺกมิตฺวา ภควนฺต อภิวาเทตฺวา
เอกมนฺต อฏฺาสิ ฯ
[๒๓๐] เอกมนฺต ิโต โข ทามลิ เทวปุตฺโต ภควโต สนฺติเก
อิม คาถ อภาสิ
กรณียเมต ๒ พฺราหฺมเณน ปธานมกิลาสุนา
กามาน วิปฺปหาเนน น เตนาสึสเต ภวนฺติ ฯ
[๒๓๑] นตฺถิ กิจฺจ พฺราหฺมณสฺส ๓ [ทามลีติ ภควา] กตกิจฺโจ หิ ๔
พฺราหฺมโณ
ยาว น คาธ ลภติ นทีสุ
อายูหติ สพฺพคตฺเตภิ ชนฺตุ
คาธฺจ ลทฺธาน ถเล ิโต โส
นายูหติ ปารคโต หิ โหติ ๕
เอสูปมา ทามลิ พฺราหฺมณสฺส
ขีณาสวสฺส นิปกสฺส ฌายิโน
ปปฺปุยฺย ชาติมรณสฺส อนฺต
นายูหติ ปารคโต หิ โหตีติ ฯ

******************

๑ สี. ทามโล ฯ ๒ ยุ. กรณิยเมตฺถ ฯ ๓ สี. พฺราหฺมณสฺส นตฺถิ กิจฺจสฺสาติปิ
ปาโ ฯ ๔ ม. ติ ฯ ๑ ม. โสว ฯ ยุ. โสติ ฯ

อรรถกถา


อรรถกถาทามลิสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในทามลิสูตรที่ ๕ ต่อไป :-
บทว่า น เตนาสึสเต ภวํ ความว่า เขาไม่ปรารถนาภพใดภพ
หนึ่ง ด้วยเหตุนั้น. เทพบุตรผู้มีความเพียรติดต่อองค์นี้ คิดว่า ความสิ้นสุด
กิจของพระขีณาสพไม่มี ด้วยว่า พระขีณาสพ ทำความเพียรมาตั้งแต่ต้น
เพื่อบรรลุพระอรหัต ต่อมา ก็บรรลุพระอรหัต เพราะเหตุนั้น ท่าน
จงอย่านิ่งเสีย จงทำความเพียร จงบากบั่นในที่นั้น ๆ นั้นแล ดังนี้แล้ว
จึงกล่าวอย่างนี้.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระดำริว่า เทพบุตรองค์นี้ไม่กล่าว
การจบกิจของพระขีณาสพ กล่าวแต่คำสอนของเราว่าเป็นอนิยยานิก ไม่นำสัตว์
ออกจากทุกข์ เราจักแสดงการจบกิจของพระขีณาสพนั้น ดังนี้แล้ว จึงตรัสว่า
นตฺถิ กิจฺจํ ดังนี้เป็นต้น. ได้ยินว่า ในปิฎกทั้งสาม คาถานี้ ไม่แตกต่าง
กัน. ด้วยว่า ขึ้นชื่อว่า โทษของความเพียร พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงแสดง
ไว้ในที่อื่น. แต่ในทามลิสูตรนี้ ทรงปฏิเสธเทพบุตรองค์นี้ จึงตรัสอย่างนี้
เพื่อทรงแสดงการจบกิจของพระขีณาสพว่า เบื้องต้นภิกษุอยู่ป่า ถือเอากัมมัฏ-
ฐานทำความเพียร เพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะสำเร็จเป็นพระขีณาสพ [สิ้นกิเลส
หมด] แล้ว ต่อมา ถ้าเธอประสงค์จะทำความเพียรก็ทำ ถ้าไม่ประสงค์ เธอ
จะอยู่ตามสบาย ก็ได้ ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า คาธํ แปลว่า
ท่าเป็นที่จอด.
จบอรรถกถาทามลิสูตรที่ ๕

สนทนาธรรม

comments

Got anything to say? Go ahead and leave a comment!