15-079 เสบียง



พระไตรปิฎก


๙. ปาเถยยสูตร
ว่าด้วยเสบียง
[๒๑๕] เทวดาทูลถามว่า
อะไรเล่ารวบรวมไว้ซึ่งเสบียง
อะไรเล่าเป็นบ่อเกิดแห่งโภคทรัพย์ทั้งหลาย
อะไรเล่าผลักไสนรชนไป อะไรเล่าละได้ยากในโลก
สัตว์เป็นอันมากติดอยู่ในอะไรเล่า เหมือนนกติดบ่วง ฉะนั้น
[๒๑๖] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
ศรัทธารวบรวมไว้ซึ่งเสบียง
สิริเป็นบ่อเกิดแห่งโภคทรัพย์ทั้งหลาย
ความอยากผลักไสนรชนไป
ความอยากละได้ยากในโลก
สัตว์เป็นอันมากติดอยู่ในความอยาก เหมือนนกติดบ่วง ฉะนั้น
ปาเถยยสูตรที่ ๙ จบ

บาลี



ปาเถยฺยสุตฺต
[๒๑๕] กึสุ พนฺธติ ปาเถยฺย กึสุ โภคานมาสโย
กึสุ นร ปริกสฺสติ กึสุ โลกสฺมิ ทุชฺชห
กิสฺมึ พทฺธา ปุถู สตฺตา ปาเสน สกุณี ยถาติ ฯ
[๒๑๖] สทฺธา พนฺธติ ปาเถยฺย สิริ โภคานมาสโย
อิจฺฉา นร ปริกสฺสติ อิจฺฉา โลกสฺมิ ทุชฺชหา
อิจฺฉาพทฺธา ปุถู สตฺตา ปาเสน สกุณี ยถาติ ฯ

 

อรรถกถา


อรรถกถาปาเถยยสูตา
พึงทราบวินิจฉัยในปาเถยยสูตรที่ ๙ ต่อไป :-
บทว่า ศรัทธาย่อมรวบรวมไว้ซึ่งสะเบียง อธิบายว่า บุคคล
ยังศรัทธาให้เกิดขึ้นแล้ว ย่อมให้ทาน ย่อมรักษาศีล ย่อมทำอุโบสถกรรม
ด้วยเหตุนี้แหละ พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ศรัทธาย่อมรวบรวมไว้ซึ่ง
สะเบียง ดังนี้. บทว่า สิริ ได้แก่ ความเป็นใหญ่. บทว่า อาสโย ได้แก่
เป็นที่อาศัย. จริงอยู่ โภคะทั้งหลายย่อมมาจากทางบกบ้าง ทางน้ำบ้าง
มุ่งหน้าเฉพาะผู้เป็นใหญ่เท่านั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
สิริเป็นที่มานอนแห่งโภคทรัพย์ ดังนี้. บทว่า ปริกสฺสติ ได้แก่ ย่อม
ฉุดคร่าไป.
จบอรรถกถาปาเถยยสูตรที่ ๙

สนทนาธรรม

comments

Got anything to say? Go ahead and leave a comment!