15-077 ความเป็นใหญ่



พระไตรปิฎก


๗. อิสสรสูตร
ว่าด้วยความเป็นใหญ่
[๒๑๑] เทวดาทูลถามว่า
อะไรเล่าเป็นใหญ่ในโลก
อะไรเล่าเป็นสิ่งสูงสุดบรรดาภัณฑะทั้งหลาย
อะไรเล่าเป็นดังสนิมศัสตราในโลก
อะไรเล่าเป็นเสนียดจัญไรในโลก
ใครนำของไปย่อมถูกห้าม แต่ใครนำของไปกลับเป็นที่รัก
ใครมาบ่อย ๆ บัณฑิตย่อมยินดี
[๒๑๒] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
อำนาจเป็นใหญ่ในโลก
หญิงเป็นสิ่งสูงสุดบรรดาภัณฑะทั้งหลาย
ความโกรธเป็นดังสนิมศัสตราในโลก
พวกโจรเป็นเสนียดจัญไรในโลก
โจรนำของไปย่อมถูกห้าม แต่สมณะนำของไปกลับเป็นที่รัก
สมณะมาบ่อย ๆ บัณฑิตย่อมยินดี
อิสสรสูตรที่ ๗ จบ

บาลี



อิสฺสรสุตฺต
[๒๑๑] กึสุ อิสฺสริย โลเก กึสุ ภณฺฑานมุตฺตม
กึสุ สตฺถมล ๑ โลเก กึสุ โลกสฺมิมพฺพุท
กึสุ หรนฺต วาเรนฺติ หรนฺโต ๒ ปน โก ปิโย
กึสุ ปุนปฺปุนายนฺต อภินนฺทนฺติ ปณฺฑิตาติ ฯ
[๒๑๒] วโส ๓ อิสฺสริย โลเก อิตฺถี ภณฺฑานมุตฺตม
โกโธ สตฺถมล โลเก โจรา โลกสฺมิมพฺพุทา
โจร หรนฺต วาเรนฺติ หรนฺโต สมโณ ปิโย
สมณ ปุนปฺปุนายนฺต อภินนฺทนฺติ ปณฺฑิตาติ ฯ

******************

๑ สี. สตฺถมลนฺติปิ สตฺถามลนฺติปิ ปาโ ฯ ๒ สี. หเรนฺต … หเรนฺโต ฯ
๓ สี. วโย ฯ

อรรถกถา


อรรถกถาอิสสรสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในอิสสรสูตรที่ ๗ ต่อไป:-
บทว่า สตฺถมลํ ได้แก่ ศัสตราที่มีสนิมเกาะแล้ว. บทว่า กึสุ
หรนฺตํ วาเรนฺติ คือย่อมป้องกันมิให้นำไป. บทว่า วโส ได้แก่ ความ
เป็นไปทั่วแห่งอำนาจ. บทว่า อิตฺถี ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
หญิง เป็นสูงสุดแห่งภัทฑะทั้งหลายคือเป็นภัณฑะอันประเสริฐ เพราะเป็น
ภัณฑะที่ไม่พึงทอดทิ้ง. อีกอย่างหนึ่ง พระโพธิสัตว์ทั้งหลายและพระเจ้า
จักรพรรดิแม้ทั้งหมด ย่อมเกิดในท้องของมารดาเท่านั้น เพราะฉะนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า หญิงเป็นสูงสุด แห่งภัณฑะทั้งหลาย ดังนี้.
บทว่า โกโธ สตฺถมลํ อธิบายว่า ความโกรธเช่นกับด้วยศัสตรา
อันสนิมเกาะกินแล้ว. อีกอย่างหนึ่ง เป็นสนิมของศัสตราคือ ปัญญา เพราะฉะนั้น
จึงตรัสว่า สนิมของศัสตรา ดังนี้. บทว่า อพฺพุทํ ได้แก่ เป็นเหตุแห่ง
ความพินาศ อธิบายว่า พวกโจรเป็นผู้ทำความพินาศในโลก. บทว่า หรนฺโต
ความว่า ถือเอาวัตถุทั้งหลายมีสลากภัตเป็นต้นไปอยู่. จริงอย่างนั้น สมณะ
เมื่อนำวัตถุทั้งหลายมีสลากภัตเป็นต้นเหล่านั้นอันมนุษย์ทั้งหลาย สละถวายแล้ว
ในเวลาที่ตั้งไว้นั่นแหละไป ชื่อว่า ย่อมเป็นที่รักของมนุษย์เหล่านั้น. เมื่อ
สมณะไม่นำวัตถุไป พวกมนุษย์ย่อมเป็นผู้วิปปฏิสาร (เดือดร้อน) เพราะ
อาศัยความเสื่อมจากบุญ (ที่จะได้).
จบอรรถกถาอิสสรสูตรที่ ๗

สนทนาธรรม

comments

Got anything to say? Go ahead and leave a comment!