15-076 สิ่งที่ไม่ทรุดโทรม



พระไตรปิฎก


๖. นชีรติสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ไม่ทรุดโทรม
[๒๐๙] เทวดาทูลถามว่า
อะไรเล่าย่อมทรุดโทรม
อะไรเล่าย่อมไม่ทรุดโทรม
อะไรเล่าท่านเรียกว่าทางผิด
อะไรเล่าเป็นอันตรายต่อธรรม
อะไรเล่าสิ้นไปตามคืนและวัน
อะไรเล่าเป็นมลทินของพรหมจรรย์
อะไรเล่ามิใช่น้ำ แต่เป็นเครื่องชำระล้าง
ในโลกมีช่องกี่ช่อง ที่จิตตั้งอยู่ไม่ได้
ข้าพระองค์มาเพื่อทูลถามพระผู้มีพระภาค
ว่าจะรู้ข้อความนั้นได้อย่างไร
[๒๑๐] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
รูปของสัตว์ทั้งหลายย่อมทรุดโทรม
ชื่อและโคตรย่อมไม่ทรุดโทรม
ราคะท่านเรียกว่าทางผิด
ความโลภเป็นอันตรายต่อธรรม
วัยสิ้นไปตามคืนและวัน
หญิงเป็นมลทินของพรหมจรรย์ หมู่สัตว์นี้ข้องอยู่ในหญิงนั่น
ตบะและพรหมจรรย์นั้นมิใช่น้ำ แต่เป็นเครื่องชำระล้าง
ในโลกมีช่องอยู่ ๖ ช่อง ที่จิตตั้งอยู่ไม่ได้ คือ
ความเกียจคร้าน ๑ ความประมาท ๑ ความไม่ขยัน ๑
ความไม่สำรวม ๑ ความมักหลับ ๑ ความอ้างเลสไม่ทำงาน ๑
พึงเว้นช่องทั้ง ๖ เสีย โดยประการทั้งปวงเถิด
นชีรติสูตรที่ ๖ จบ

บาลี



นชีรติสุตฺต
[๒๐๙] กึสุ ๑ ชีรติ กึ น ชีรติ กึสุ อุปฺปโถติ วุจฺจติ
กึสุ ธมฺมาน ปริปนฺโถ กึสุ รตฺตินฺทิวกฺขโย
กึ มล พฺรหฺมจริยสฺส กึ สินานมโนทก
กติ โลกสฺมิ ฉิทฺทานิ ยตฺถ จิตฺต น ติฏฺติ
ภควนฺต ๒ ปุฏฺุมาคมฺม กถ ชาเนมุ ต มยนฺติ ฯ
[๒๑๐] รูป ชีรติ มจฺจาน นามโคตฺต น ชีรติ
…………… ราโค อุปฺปโถติ วุจฺจติ
โลโภ ธมฺมาน ปริปนฺโถ วโย รตฺตินฺทิวกฺขโย
อิตฺถี มล พฺรหฺมจริยสฺส เอตฺถาย สชฺชเต ปชา
ตโป จ พฺรหฺมจริยฺจ ต สินานมโนทก
ฉ โลกสฺมิ ฉิทฺทานิ ยตฺถ จิตฺต ๓ น ติฏฺติ
อาลสฺยฺจ ปมาโท จ อนุฏฺานมสยโม
นิทฺทา ตนฺที จ เต ฉิทฺเท สพฺพโส ต วิวชฺชเยติ ฯ

******************

๑ โป. ม. ยุ. กึ ฯ ๒ โป. ยุ. ภวนฺต ฯ ๓ ม. วิตฺต ฯ

อรรถกถา


อรรถกถานชีรติสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในนชีรติสูตร ที่ ๖ ต่อไป :-
บทว่า นามแลโคตรย่อมไม่ทรุดโทรม ความว่า นามและโคตร
ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายในอดีต จนถึงทุกวันนี้ บัณฑิตยังกล่าวอยู่ เพราะ
ฉะนั้น นามและโคตรนั้น จึงตรัสว่า ย่อมไม่ทรุดโทรม. อนึ่ง โบราณาจารย์
กล่าวว่า เมื่อเวลาผ่านไปนาน ๆ นามและโคตรนั้นจักไม่ปรากฏ แต่สภาวะ
ที่ทรุดโทรมย่อมไม่มีเลย. บทว่า อาลสฺยํ แปลว่า ความเกียจคร้าน คือว่า
ด้วยความเกียจคร้านอันใด ดุจบุคคลผู้ยืนอยู่ในที่อันตนยืนอยู่นั่นแหละ นั่งแล้ว
ก็นั่งอยู่นั่นแหละ ถึงผมทั้งหลายอันตั้งอยู่ในที่สูงเปียกชุ่มอยู่ก็ไม่กระทำ (ไม่
สนใจทำ). บทว่า ปมาโท ความว่า ชื่อว่า ความประมาทเพราะหลับหรือด้วย
อำนาจแห่งกิเลส. บทว่า อนุฏฺฐานํ ได้แก่ ไม่มีความเพียรเป็นเครื่องทำ
การงานในเวลาแห่งการงาน. บทว่า อุสญฺโม คือว่า ไม่มีความระวังศีล
มีอาจาระอันทอดทิ้งเสียแล้ว. บทว่า นิทฺทา อธิบายว่า เมื่อเดินก็ดี ยืนอยู่
ก็ดี นั่งแล้วก็ดี ย่อมหลับ เพราะความเป็นผู้มากด้วยความหลับ ก็จะป่วย
กล่าวไปไยถึงการนอนเล่า. บทว่า ตนฺที ได้แก่ ความเกียจคร้านอันจรมา
ด้วยอำนาจแห่งความกระหายจัดเป็นต้น. บทว่า เต นิทฺเท แปลว่า ช่อง
เหล่านั้น ได้แก่ ช่องทั้ง ๖. บทว่า สพฺพโส แปลว่า โดยประการทั้งปวง.
บทว่า ตํ แปลว่า สักว่า เป็นนิบาต. บทว่า วิวชฺชเย แปลว่า พึงเว้น
คือ พึงละเสีย.
จบอรรถกถานชีรติสูตรที่ ๖

สนทนาธรรม

comments

Got anything to say? Go ahead and leave a comment!