15-043 ข้าว



พระไตรปิฎก


๓. อันนสูตร
ว่าด้วยข้าว
[๑๓๙] เทวดากล่าวว่า
เทวดาและมนุษย์ทั้งสองพวก
ต่างก็พอใจข้าวด้วยกันทั้งนั้น
ส่วนผู้ที่ไม่พอใจข้าว ชื่อว่ายักษ์โดยแท้
[๑๔๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ชนเหล่าใดมีใจเลื่อมใสให้ข้าวนั้นด้วยศรัทธา
ข้าวนั้นเองย่อมค้ำชูชนเหล่านั้นทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
เพราะเหตุนั้น บุคคลพึงกำจัดความตระหนี่
ครอบงำมลทินแล้วให้ทานเถิด
เพราะบุญเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายในโลกหน้า
อันนสูตรที่ ๓ จบ

บาลี



อนฺนสุตฺต
[๑๓๙] อนฺนเมวาภินนฺทนฺติ อุภเย ๑ เทวมานุสา
อถ โข ๒ นาม โส ยกฺโข ย อนฺน นาภินนฺทตีติ ฯ
[๑๔๐] เย น ททนฺติ สทฺธาย วิปฺปสนฺเนน เจตสา
ตเมว อนฺน ภชติ อสฺมึ โลเก ปรมฺหิ จ
ตสฺมา วิเนยฺย มจฺเฉร ทชฺชา ทาน มลาภิภู
ปุฺานิ ปรโลกสฺมึ ปติฏฺา โหนฺติ ปาณินนฺติ ฯ

******************

๑ สี. ยุ. อุภโย ฯ ๒ ม. ยุ. อถ โก ฯ

อรรถกถา


อรรถกถาอันนสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในอันนสูตรที่ ๓ ต่อไป :-
บทว่า อภินนฺทติ แปลว่า ย่อมปรารถนา. บทว่า ภชติ แปลว่า
ย่อมมาถึงเขา คือว่า อานิสงส์นั้นย่อมติดตามไปข้างหลัง ราวกะอานิสงส์ที่ติดตาม
จิตตคหบดี และพระสีวลีเถระเป็นต้น. บทว่า ตสฺมา อธิบายว่า เพราะ
การให้อาหารนั่นแหละ ย่อมงามไปในโลกนี้และในโลกหน้า เพราะเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า บุคคลพึงนำความตระหนี่ออก พึงข่มความ
ตระหนี่ซึ่งเป็นมลทินแล้วให้ทาน. คำที่เหลือ มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาอันนสูตรที่ ๓

สนทนาธรรม

comments

Got anything to say? Go ahead and leave a comment!