15-018 ความละอายแก่ใจ



พระไตรปิฎก


๘. หิริสูตร
ว่าด้วยหิริ
[๓๘] เทวดากล่าวว่า
คนผู้กีดกัน(อกุศลธรรม)ได้ด้วยหิริ มีอยู่น้อยในโลก
ภิกษุใดหลบหลีกนินทาได้ ตื่นตัวอยู่
เหมือนม้าชั้นดีหลบแส้ได้
ภิกษุเช่นนั้นมีอยู่น้อย
[๓๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ภิกษุเหล่าใดผู้กีดกัน(อกุศลธรรม)ได้ด้วยหิริ
มีสติ ประพฤติธรรมอยู่ทุกเมื่อ ถึงที่สุดแห่งทุกข์ A
ย่อมดำเนินไปอย่างสม่ำเสมอในที่ที่ไม่สม่ำเสมอ
ภิกษุเหล่านั้นมีอยู่น้อย
หิริสูตรที่ ๘ จบ
เชิงอรรถ
A ถึงที่สุดแห่งทุกข์ หมายถึงบรรลุนิพพานอันเป็นที่สุดแห่งวัฏทุกข์ (สํ.ส.อ. ๑/๑๘/๓๗)

บาลี



หิริสุตฺต
[๓๘] หิรินิเสโธ ปุริโส โกจิ โลกสฺมิ วิชฺชติ
โย นิทฺท อปโพเธติ อสฺโส ภโทฺร กสามิวาติ ฯ
[๓๙] หิรินิเสธา ตนุยา เย จรนฺติ สทา สตา
อนฺต ทุกฺขสฺส ปปฺปุยฺย จรนฺติ วิสเม สมนฺติ ฯ

อรรถกถา


อรรถกถาหิริสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในหิริสูตรที่ ๘ ต่อไป :-
ชนใดย่อมเกียดกันอกุศลธรรมทั้งหลายด้วยหิริ เพราะเหตุนั้น ชนนั้น
จึงชื่อว่าผู้เกียดกันอกุศลธรรมด้วยหิริ. บทว่า โกจิ โลกสฺมึ วิชฺชติ นี้
เทวดาทูลถามว่า ใครๆ เห็นปานนี้ยังมีอยู่หรือ. บทว่า โย นินฺทํ อปโพเธติ
แปลว่า บุคคลใดเมื่อนำความครหา (ความชั่ว) ออกย่อมรู้.
บทว่า อสฺโส ภโทฺร กสามิว อธิบายว่า ม้าอาชาไนยตัวเจริญ
เมื่อสารถีนำแซ่ออกย่อมรู้ ย่อมไม่ให้แซ่ตกไปในตน เพราะเห็นเงาแห่งปฏัก
เป็นราวกะแทงอยู่ ฉันใด ภิกษุใด เมื่อไม่ให้อักโกสนวตถุ (เรื่องด่า)
อันเป็นจริงตกไปในตน ชื่อว่านำความนินทาออก เมื่อนำออกย่อมรู้ เทวดา
ทูลถามว่า พระขีณาสพเห็นปานนี้ สักองค์หนึ่งมีอยู่หรือ. แต่ว่า บุคคลผู้ชื่อว่า
พ้นจากการด่าด้วยถ้อยคำอันไม่เป็นจริง ย่อมไม่มี. บทว่า ตนุยา แปลว่า
น้อย อธิบายว่า ชื่อว่า พระขีณาสพทั้งหลายเกียดกันอกุศลธรรมทั้งหลายด้วย
หิริเที่ยวไปอยู่ มีน้อย. บทว่า สทา สตา ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยความ
ไพบูลย์แห่งสติตลอดกาลเป็นนิตย์. บทว่า อนฺตํ ทุกฺขสฺส ปปฺปุยฺย ได้แก่
บรรลุพระนิพพานอันเป็นธรรมที่สิ้นสุดของวัฏทุกข์. คำที่เหลือ มีนัยตามที่
กล่าวแล้วนั่นแหละ.
จบอรรถกถาหิริสูตรที่ ๘

สนทนาธรรม

comments

Got anything to say? Go ahead and leave a comment!