15-017 สมณธรรมที่ทำได้ยาก



พระไตรปิฎก


๗. ทุกกรสูตร
ว่าด้วยสมณธรรมที่ทำได้ยาก
[๓๖] เทวดากล่าวว่า
สมณธรรม คนไม่ฉลาดทำได้ยาก อดทนได้ยาก
เพราะสมณธรรมนั้นมีความคับแคบมาก
สำหรับคนพาลที่อาศัยอยู่
[๓๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
คนพาลประพฤติสมณธรรมเป็นเวลานาน
หากไม่ห้ามจิต เขาตกอยู่ในอำนาจแห่งความดำริ
ก็จะพึงติดขัดในทุกบท A
หากภิกษุยับยั้งความวิตกในใจไว้ได้
เหมือนเต่าหดอวัยวะไว้ในกระดองของตน
ก็จะไม่มีตัณหาและทิฏฐิอาศัย ไม่เบียดเบียนสัตว์อื่น
ดับสนิทแล้ว ไม่พึงว่าร้ายใคร
ทุกกรสูตรที่ ๗ จบ
เชิงอรรถ
A บท ในที่นี้หมายถึงอารมณ์หรืออิริยาบถ ผู้ติดขัดในทุกบท คือ ผู้ติดขัดอยู่ในอารมณ์หรืออิริยาบถที่จะ
เกิดกิเลส (สํ.ส.อ. ๑/๑๗/๓๖)

บาลี



ทุกฺกรสุตฺต
[๓๖] ทุกฺกร ทุตฺติติกฺขฺจ อพฺยตฺเตน จ สามฺ
พหู หิ ตตฺถ สมฺพาธา ยตฺถ พาโล วิสีทตีติ ฯ
[๓๗] กติห จเรยฺย สามฺ จิตฺต เจ น นิวารเย
ปเท ปเท วิสีเทยฺย สงฺกปฺปาน วสานุโค ๑
กุมฺโมว องฺคานิ สเก กปาเล
สโมทห ภิกฺขุ มโนวิตกฺเก
อนิสฺสิโต อฺมเหยาโน
ปรินิพฺพุโต นูปวเทยฺย กฺจีติ ฯ

******************

#๑ โป. ม. อิติสทฺโท อตฺถิ ฯ

อรรถกถา


อรรถกถาทุกกรสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในทุกกรสูตรที่ ๗ ต่อไป :-
บทว่า ทุตฺติติกิขํ ได้แก่ ทนได้ยาก คือ อดกลั้นได้โดยยาก. บทว่า
อพฺยตฺเตน แปลว่า คนพาล. บทว่า สามญฺํ แปลว่า ธรรมของสมณะ
อธิบายว่า เทวดาย่อมแสดงคำนี้ว่า กุลบุตรผู้ฉลาด ฝึกสมณธรรมอันใด ๑๐
ปีบ้าง ๒๐ ปีบ้าง ๖๐ ปีบ้าง แม้ถือการฝึกอย่างยิ่งคือ กดเพดานด้วยลิ้นบ้าง
ข่มจิตด้วยจิตบ้าง เสพอยู่ซึ่งอาสนะเดียว ซึ่งภัตหนเดียว ประพฤติพรหมจรรย์
ตลอดชีวิต กระทำอยู่ซึ่งธรรมของสมณะ ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า คนพาล
ผู้ไม่ฉลาดย่อมไม่อาจเพื่อกระทำซึ่งธรรมของสมณะนั้นได้ ดังนี้. บทว่า พหู
หิ ตตฺถ สมฺพาธา ความว่า เทวดาย่อมแสดงว่า ความลำบากมากของคน
พาลผู้ปฏิบัติ เพื่อบรรลุมรรคในอริยมรรคกล่าวคือธรรมของสมณะนั้นเพราะ
ในส่วนเบื้องต้นย่อมมีอันตรายมาก ดังนี้. บทว่า จิตฺตํ เจ น นิวารเย
อธิบายว่า หากว่าไม่พึงห้ามจิตอันเกิดขึ้นโดยอุบายอันไม่แยบคายไซร้ ก็พึง
ประพฤติธรรมของสมณะได้สิ้นวันเล็กน้อย คือ พึงประพฤติได้วันหนึ่งบ้าง
เพราะว่า บุคคลผู้ตกอยู่ในอำนาจจิตย่อมไม่อาจเพื่อกระทำธรรมของสมณะได้.
บทว่า ปเท ปเท ได้เเก่ ทุก ๆ อารมณ์ จริงอยู่ ในที่นี้ ปทศัพท์ ท่าน
หมายถึงอารมณ์ เพราะว่า อารมณ์ใด ๆ ที่กิเลสเกิด คนพาลย่อมจมอยู่ (ย่อม
ติดขัด) ในอารมณ์นั้น ๆ ปทศัพท์ จะหมายถึงอิริยาบถด้วยก็สมควร เพราะ
ว่า กิเลสย่อมเกิดขึ้นในอิริยาบถใด ๆ มีการเดินเป็นต้น คนพาลนั้น ชื่อว่า
ย่อมจมลง ในอิริยาบถนั้น ๆ นั่นแหละ. บทว่า สงฺกปฺปานํ แปลว่า
มีกามวิตกเป็นต้น. บทว่า กุมฺโมว แปลว่า เหมือนเต่า. บทว่า องฺคานิ
ได้แก่ อวัยวะทั้งหลายมีคอเป็นที่ครบห้า. บทว่า สโมทหํ แปลว่า หดอยู่
หรือว่า หดแล้ว. บทว่า มโนวิตกฺเก แปลว่า วิตกอันเกิดขึ้นในใจ.
พระผู้มีภาคเจ้าทรงแสดงคำนี้ไว้ด้วยคำเพียงเท่านี้ว่า เต่าหดอวัยวะทั้ง
หลายมีคอเป็นที่ ๕ ไว้ในกระดองของตน ไม่ให้ช่องแก่สุนัขจิ้งจอก เพราะ
การหดตนจึงพ้นจากอันตรายแม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแหละ ยั้งวิตกที่เกิดขึ้นใน
ใจในการรักษาอารมณ์ของตน ย่อมไม่ให้ช่องแก่มาร แม้เพราะการยั้งนั้น เธอ
จึงถึงความไม่มีภัย ดังนี้. บทว่า อนิสฺสิตฺโต แปลว่า เป็นผู้อันตัณหานิสัย
และทิฐินิสัยไม่อาศัยแล้ว. บทว่า อเหมาโน แปลว่า ไม่เบียดเบียนอยู่.
บทว่า ปรินิพฺพุโต แปลว่า ปรินิพพานแล้ว ด้วยกิเลสนิพพาน (ด้วยการ
ดับสนิทแห่งกิเลส). บทว่า นูปวเทยฺย กญฺจิ อธิบายว่า เป็นผู้ใคร่เพื่อ
กระทำให้เก้อด้วยสิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความวิบัติแห่งอาจาระเป็นต้น ไม่พึงกล่าวกะ
บุคคลไรๆ อื่น คือว่า ก็ภิกษุเข้าไปตั้งไว้ซึ่งธรรม ๕ อย่าง มีคำว่า เราจักกล่าว
โดยกาลอันสมควร จักไม่กล่าวโดยกาลอันไม่สมควรเป็นต้น ไว้ในภายใน
แล้วอาศัยความเป็นผู้กรุณา พึงกล่าวด้วยจิตอันดำรงไว้ในสภาพแห่งความ
อนุเคราะห์ ดังนี้แล.
จบอรรถกถาทุกกรสูตรที่ ๗

สนทนาธรรม

comments

Got anything to say? Go ahead and leave a comment!