15-010 ป่า


พระไตรปิฎก


๑๐. อรัญญสูตร   ว่าด้วยป่า
[๒๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี  เทวดานั้นยืนอยู่ ณ ที่สมควรแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่าภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ในป่า ผู้สงบ ประพฤติธรรมอันประเสริฐ ฉันอาหารมื้อเดียว  เพราะเหตุอะไร ผิวพรรณจึงผ่องใส  พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
[๒๒] ภิกษุทั้งหลายไม่เศร้าโศกถึงอดีต  ไม่คิดถึงอนาคต กำหนดอยู่กับปัจจุบัน  เพราะเหตุนั้น ผิวพรรณจึงผ่องใส  เพราะคิดถึงอนาคต เศร้าโศกถึงอดีต  ด้วยเหตุนี้ ภิกษุทั้งหลายผู้เขลาจึงซูบซีด  เหมือนต้นอ้อสดที่ถูกถอนขึ้นแล้ว ฉะนั้น
อรัญญสูตรที่ ๑๐ จบ

บาลี


อรฺสุตฺต
[๒๑] เอกมนฺต ิตา โข สา เทวตา ภควนฺต คาถาย อชฺฌภาสิ
อรฺเ วิหรนฺตาน สนฺตาน พฺรหฺมจาริน
เอกภตฺต ภุฺชมานาน เกน วณฺโณ ปสีทตีติ ๑ ฯ
[๒๒] อตีต นานุโสจนฺติ นปฺปชปฺปนฺติ นาคต ๒
ปจฺจุปฺปนฺเนน ยาเปนฺติ เตน วณฺโณ ปสีทติ
อนาคตปฺปชปฺปาย อตีตสฺสานุโสจนา
เอเตน พาลา สุสฺสนฺติ นโฬว หริโต ลุโตติ ฯ
******************
#๑ ม. ปสีทติ ฯ ๒ สี. นปฺปชปฺปมนาคต ฯ

อรรถกถา


อรรถกถาอรัญญสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๑๐ ต่อไป :-
บทว่า สนฺตานํ ได้แก่ ผู้มีกิเลสอันสงบระงับแล้ว อีกอย่างหนึ่ง  ได้แก่บัณฑิต. แม้บัณฑิตท่านก็เรียกว่า สัตบุรุษ เช่นในคำมีอาทิว่า สนฺโต ทเว สพฺภิ ปเวทยนฺติ ทูเร สนฺโต ปกาเสนฺติ ดังนี้ก็มี. บทว่า  พฺรหฺมจารินํ แปลว่า ผู้พระพฤติธรรมอันประเสริฐ คือ ผู้อยู่ประพฤติมรรค  พรหมจรรย์. หลายบทว่า เกน วณฺโณ ปสีทติ ความว่า เทวดาทูลถามว่า  ผิวพรรณของภิกษุผู้อยู่ป่า ย่อมผ่องใส ด้วยเหตุอะไร. ถามว่า ก็เพราะเหตุไร เทวดานี้จึงทูลถามอย่างนี้. ตอบว่า ได้ยินว่า เทวดานี้เป็นภุมมเทวดาอาศัยอยู่  ในไพรสณฑ์เห็นภิกษุทั้งหลาย ผู้อยู่ป่ากลับจากบิณฑบาตหลังภัตแล้วเข้าไป  สู่ป่า ถือเอาลักษณกรรมฐาน (กรรมฐานตามปกติวิปัสสนา) ในที่เป็นที่พัก  ในเวลากลางคืน และที่เป็นที่พักในเวลากลางวันเหล่านั้นนั่งลงแล้ว. ก็เมื่อภิกษุเหล่านั้นนั่งด้วยกรรมฐานอย่างนี้แล้ว เอกัคคตาจิตซึ่งเป็นเครื่องชำระของ  ท่านก็เกิดขึ้น. ลำดับนั้น ความสืบต่อแห่งวิสภาคะก็เข้าไปสงบระงับ.  ความสืบต่อแห่งสภาคะหยั่งลงแล้ว จิตย่อมผ่องใส เมื่อจิตผ่องใสแล้ว โลหิตก็ผ่องใส. อุปาทารูปทั้งหลาย ซึ่งมีจิตเป็นสมุฏฐาน ย่อมบริสุทธิ์. วรรณะแห่งหน้า ย่อมเป็นราวกะสีแห่งผลตาลสุกที่หลุดจากขั้วฉะนั้น.  เทวดานั้น ครั้นเห็นภิกษุเหล่านั้นแล้ว จึงดำริว่า ธรรมดาว่า สรีระวรรณะ (ผิวพรรณแห่งร่างกาย) นี้ ย่อมผ่องใสแก่บุคคลผู้ได้อยู่ซึ่งโภชนะ  ทั้งหลายอันสมบูรณ์มีรสอันประณีต ผู้มีที่อยู่อาศัยเครื่องปกปิด ที่นั่งที่นอนมี  สัมผัสอันสบาย ผู้ได้ปราสาทต่าง ๆ มีปราสาท ๗ ชั้นเป็นต้น อันให้ความสุข  ทุกฤดูกาล และแก่ผู้ได้วัตถุทั้งหลาย มีระเบียบดอกไม้ของหอม และเครื่อง  ลูบไล้เป็นต้น แต่ภิกษุเหล่านี้เที่ยวบิณฑบาตฉันภัตปะปนกัน ย่อมสำเร็จ  การนอนบนเตียงน้อยทำด้วยใบไม้ต่าง ๆ หรือนอนบนแผ่นกระดาน หรือบน  ศิลา ย่อมอยู่ในที่ทั้งหลายมีโคนไม้เป็นต้น หรือว่าที่กลางแจ้ง วรรณะของ  ภิกษุเหล่านี้ ย่อมผ่องใส เพราะเหตุอะไรหนอแล ดังนี้ เพราะฉะนั้น จึงได้  ทูลถามข้อความนั้นกะพระบรมศาสดา.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะตรัสถึงเหตุนั้นแก่เทวดา จึงตรัสพระคาถาที่ ๒. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อตีตํ ความว่า พระเจ้าธรรมิกราช พระนามโน้น ได้มีในกาลอันล่วงแล้ว. พระราชาพระองค์นั้นได้ถวายปัจจัยทั้งหลายอันประณีต ๆ แก่พวกเรา. อุปัชฌาย์อาจารย์ของเราเป็นผู้  มีลาภมาก ครั้งนั้น พวกเราฉันอาหารเห็นปานนี้ ห่มจีวรเห็นปานนี้ ภิกษุเหล่านี้ ย่อมไม่ตามเศร้าโศก ถึงปัจจัยที่ล่วงมาแล้ว เหมือนภิกษุผู้มีปัจจัยมากบางพวก อย่างนี้ด้วยประการฉะนี้. สองบทว่า นปฺปชปฺปนฺติ นาคตํ อธิบายว่า พระเจ้าธรรมิกราช
จักมีในอนาคต ชนบททั้งหลายจักแผ่ไป วัตถุทั้งหลายมีเนยใสเนยข้นเป็นต้น  จักเกิดขึ้นมากมาย ผู้บอก กล่าว จักมีในที่นั้น ๆ ว่า ขอท่านทั้งหลายจงเคี้ยวกิน  จงบริโภคเป็นต้น ในกาลนั้น พวกเราจักฉันอาหารเห็นปานนี้ จักห่มจีวร  เห็นปานนี้ ภิกษุทั้งหลายเหล่านี้ ย่อมไม่ปรารถนาปัจจัยที่ยังมาไม่ถึงอย่างนี้  ด้วยประการฉะนี้. บทว่า ปจฺจุปฺปนฺเนน ความว่า ย่อมเลี้ยงตนเองด้วยปัจจัย  อย่างใดอย่างหนึ่งที่ได้ในขณะนั้น. บทว่า เตน ได้แก่ ด้วยเหตุแม้ ๓ อย่างนั้น.  พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นแสดงการถึงพร้อมแห่งวรรณะอย่างนี้แล้ว บัดนี้
เมื่อจะแสดงความพินาศแห่งวรรณะนั้นนั่นแหละ จึงตรัสพระคาถาในลำดับนั้น.  บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนาคตปฺปชปฺปาย แปลว่า เพราะปรารถนา  ปัจจัยที่ยังไม่มาถึง. บทว่า เอเตน ได้แก่ ด้วยเหตุทั้ง ๒ นี้. บทว่า นโฬว  หริโต ลุโต อธิบายว่า พวกพาลภิกษุจักซูบซีด เหมือนต้นอ้อสดที่บุคคล  ถอนทิ้งที่แผ่นหินอันร้อน จักเหี่ยวแห้ง ฉะนั้นแล.
จบอรรถกถาอรัญญสูตร

สนทนาธรรม

comments

Got anything to say? Go ahead and leave a comment!