15-268 ยักษ์ผู้มีผิวพรรณไม่งาม
พระไตรปิฎก
๒. ทุพพัณณิยสูตร
ว่าด้วยยักษ์ผู้มีผิวพรรณไม่งาม
[๙๔๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ยักษ์ตนหนึ่งมี
ผิวพรรณไม่งาม ต่ำเตี้ย นั่งอยู่บนที่ประทับของท้าวสักกะจอมเทพ ได้ยินว่า ณ
ที่นั้น พวกเทพชั้นดาวดึงส์พากันกล่าวโทษตำหนิติเตียนว่า ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลาย
น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ยักษ์ตนนี้มีผิวพรรณไม่งาม ต่ำเตี้ย นั่งอยู่บน
ที่ประทับของท้าวสักกะจอมเทพ’ พวกเทพชั้นดาวดึงส์กล่าวโทษตำหนิติเตียนด้วย
ประการใด ๆ ยักษ์ตนนั้นกลับเป็นผู้มีรูปงาม ทั้งน่าดูน่าชม
และน่าเลื่อมใสยิ่งขึ้นกว่าเดิม ด้วยประการนั้น ๆ
[๙๔๗] ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น พวกเทพชั้นดาวดึงส์พากันเข้าไปเฝ้าท้าวสักกะจอม
เทพถึงที่ประทับ ได้กราบทูลท้าวสักกะจอมเทพดังนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์
ขอประทานวโรกาส ยักษ์ตนหนึ่งมีผิวพรรณไม่งาม ต่ำเตี้ย นั่งอยู่บนที่ประทับของ
พระองค์ ได้ยินว่า ณ ที่นั้นพวกเทพชั้นดาวดึงส์พากันกล่าวโทษตำหนิติเตียนว่า
‘ท่านผู้เจริญทั้งหลาย น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ยักษ์ตนนี้มีผิวพรรณไม่งาม
ต่ำเตี้ย นั่งอยู่บนที่ประทับของท้าวสักกะจอมเทพ’ ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ พวกเทพ
ชั้นดาวดึงส์กล่าวโทษตำหนิติเตียนด้วยประการใด ๆ ยักษ์ตนนั้นกลับเป็นผู้มีรูปงาม
ทั้งน่าชมและน่าเลื่อมใสยิ่งกว่าเดิม ด้วยประการนั้น ๆ ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์
ยักษ์ตนนั้นคงเป็นผู้มีความโกรธเป็นอาหารเป็นแน่ทีเดียวพระเจ้าข้า’
[๙๔๘] ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพ เสด็จเข้าไปหายักษ์ผู้มีความโกรธ
เป็นอาหารนั้นจนถึงที่อยู่แล้วประนมมือไปทางที่ยักษ์ตนนั้นอยู่ ประกาศพระนาม ๓
ครั้งว่า ‘ท่านผู้นิรทุกข์ เราคือท้าวสักกะจอมเทพ … ท่านผู้นิรทุกข์ เราคือท้าวสักกะ
จอมเทพ … ภิกษุทั้งหลาย ท้าวสักกะจอมเทพทรงประกาศพระนามด้วยประการใด ๆ
ยักษ์ตนนั้นกลับมีผิวพรรณไม่งามและต่ำเตี้ยยิ่งกว่าเดิม ยักษ์ตนนั้นเป็นผู้มีผิวพรรณ
ไม่งาม และต่ำเตี้ยยิ่งกว่าเดิมแล้วได้หายตัวไป ณ ที่นั้นเอง’
[๙๔๙] ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพประทับนั่งบนที่ประทับของพระองค์แล้ว เมื่อจะ
ทรงทำให้พวกเทพชั้นดาวดึงส์ยินดี จึงตรัสคาถาเหล่านี้ในเวลานั้นว่า
เราเป็นผู้มีจิตไม่ถูกโทสะกระทบกระทั่ง
เป็นผู้ที่ใคร ๆ จะชักนำไปไม่ได้ง่าย
เราไม่โกรธใครมานานแล้ว ความโกรธไม่ฝังอยู่ในใจเรา
ถึงเราโกรธก็ไม่กล่าวคำหยาบ และคำไม่ชอบเป็นอันขาด
เราเห็นประโยชน์ตน จึงบังคับตนได้”
ทุพพัณณิยสูตรที่ ๒ จบ
บาลี
ทุพฺพณฺณิยสุตฺต
[๙๔๖] สาวตฺถีนิทาน ฯ ภูตปุพฺพ ภิกฺขเว อฺตโร ยกฺโข
ทุพฺพณฺโณ โอโกฏิมโก สกฺกสฺส เทวานมินฺทสฺส อาสเน นิสินฺโน
อโหสิ ฯ ตตฺร สุท ภิกฺขเว เทวา ตาวตึสา อุชฺฌายนฺติ ขียนฺติ
วิปาเจนฺติ อจฺฉริย วต โภ อพฺภูต วต โภ อย ยกฺโข
ทุพฺพณฺโณ โอโกฏิมโก สกฺกสฺส เทวานมินฺทสฺส อาสเน นิสินฺโนติ ฯ
ยถา ยถา โข ภิกฺขเว เทวา ตาวตึสา อุชฺฌายนฺติ ขียนฺติ วิปาเจนฺติ
ตถา ตถา โส ยกฺโข อภิรูปตโร เจว โหติ ทสฺสนียตโร จ
ปาสาทิกตโร จ ฯ
[๙๔๗] อถ โข ภิกฺขเว เทวา ตาวตึสา เยน สกฺโก เทวานมินฺโท
เตนุปสงฺกมึสุ อุปสงฺกมิตฺวา สกฺก เทวานมินฺท เอตทโวจุ
อิธ เต มาริส อฺตโร ยกฺโข ทุพฺพณฺโณ โอโกฏิมโก ตุมฺหาก
อาสเน นิสินฺโน ฯ ตตฺร สุท มาริส เทวา ตาวตึสา อุชฺฌายนฺติ
ขียนฺติ วิปาเจนฺติ อจฺฉริย วต โภ อพฺภูต วต โภ อย
ยกฺโข ทุพฺพณฺโณ โอโกฏิมโก สกฺกสฺส เทวานมินฺทสฺส อาสเน
นิสินฺโนติ ยถา ยถา โข มาริส เทวา ตาวตึสา อุชฺฌายนฺติ
ขียนฺติ วิปาเจนฺติ ตถา ตถา โส ยกฺโข อภิรูปตโร เจว โหติ
ทสฺสนียตโร จ ปาสาทิกตโร จาติ โส หิ นูน มาริส โกธภกฺโข
ยกฺโข ภวิสฺสตีติ ฯ
[๙๔๘] อถ โข ภิกฺขเว สกฺโก เทวานมินฺโท เยน โส โกธภกฺโข
ยกฺโข เตนุปสงฺกมิ อุปสงฺกมิตฺวา เอกส อุตฺตราสงฺค กริตฺวา
ทกฺขิณชานุมณฺฑล ปวิย นิหตฺวา ๑ เยน โส โกธภกฺโข
ยกฺโข เตนฺชลิมฺปณาเมตฺวา ติกฺขตฺตุ นาม สาเวติ สกฺวาห
มาริส เทวานมินฺโท … สกฺวาห มาริส เทวานมินฺโทติ ฯ ยถา ยถา
โข ภิกฺขเว สกฺโก เทวานมินฺโท นาม สาเวติ ตถา ตถา โส
ยกฺโข ทุพฺพณฺณตโร เจว อโหสิ โอโกฏิมกตโร จ ทุพฺพณฺณตโร
เจว หุตฺวา โอโกฏิมกตโร จ ตตฺเถวนฺตรธายิ ฯ
[๙๔๙] อถ โข ภิกฺขเว สกฺโก เทวานมินฺโท สเก อาสเน
นิสีทิตฺวา เทเว ตาวตึเส อนุนยมาโน ตาย เวลาย อิมา คาถาโย
อภาสิ
น สูปหตจิตฺโตมฺหิ นาวฏฺเฏน สุวานโย
น โว จิราห กุชฺฌามิ โกโธ มยิ นาวติฏฺติ
กุทฺธาห น ผรุส พฺรูมิ น จ ธมฺมานิ กิตฺตเย
สนฺนิคฺคณฺหามิ อตฺตาน สมฺปสฺส อตฺถมตฺตโนติ ฯ
******************
๑ โป. นิหจฺจ ฯ ม. ยุ. นิหนฺตฺวา ฯ
อรรถกถา
อรรถกถาทุพพัณณิยสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในทุพพัณณิยสูตรที่ ๒ ต่อไปนี้ :-
บทว่า ทุพฺพณฺโณ ได้แก่ มีผิวเหมือนตอถูกไฟเผา. บทว่า
โอโกฏิมโก ได้แก่ ต่ำเตี้ยพุงพลุ้ย. บทว่า อาสเน ได้เเก่ บัณฑุกัมพล-
ศิลา. บทว่า โกธภกฺโข ยกฺโข นี้ เป็นชื่อที่ท้าวสักกะตั้งให้. ก็ยักษ์
ตนหนึ่งนั้นเป็นรูปาวจรพรหม. นัยว่า ท้าวสักกะสดับมาว่า ยักษ์ถึงพร้อมด้วย
กำลังคือขันติ จึงเสด็จมาเพื่อทดลองดู. ก็อวรุทธกยักษ์ ไม่อาจเข้าไปยังที่ที่
อารักขาไว้เห็นปานนี้ได้. บทว่า อุปสงฺกมิ ความว่า ท้าวสักกะฟังพวก
เทวดาแล้วคิดว่า ไม่สามารถให้ยักษ์นี้หวั่นไหวได้ ด้วยถ้อยคำหยาบ อันผู้
ประพฤติถ่อมตนตั้งอยู่ในขันติ จึงจะสามารถให้ยักษ์หนีไปได้ดังนี้ มีพระ
ประสงค์จะให้ยักษ์นั้นหนีไปด้วยประการนั้น จึงเสด็จเข้าไปหา. บทว่า
อนฺตรธายิ ความว่า เมื่อท้าวสักกะทรงดำรงอยู่ในขันติ ทำความเคารพ
อย่างแรงกล้าให้ปรากฏแสดงความถ่อมตน ยักษ์นั้น ไม่อาจจะอยู่บนอาสนะ
ของท้าวสักกะได้ จึงหนีไป. คำว่า สุ ในบทนี้ว่า น สุปหตจิตฺโตมฺหิ
เป็นเพียงนิบาต. ท่านกล่าวว่า เราเป็นผู้มีจิตอันโทษะไม่กระทบแล้ว. บทว่า
นาวฏฺเฏน สุวานโย ท่านกล่าวว่า เราเป็นผู้อันความหมุนไปด้วยความโกรธ
นำไปไม่ได้ง่าย คือเราเป็นผู้ไม่กระทำง่ายเพื่อเป็นไปในอำนาจด้วยความโกรธ.
คำว่า โว ในบทว่า น โว จิราหํ เป็นเพียงนิบาต. ท่านกล่าวว่า เรา
ไม่โกรธมานานแล้ว.
จบอรรถกถาทุพพัณณิยสูตรที่ ๒