15-266 การนอบน้อมของท้าวสักกะ สูตรที่ 3
พระไตรปิฎก
๑๐. ตติยสักกนมัสสนสูตร
ว่าด้วยการนอบน้อมของท้าวสักกะ สูตรที่ ๓
[๙๓๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ท้าวสักกะจอมเทพได้ตรัสกับมาตลีสังคาหก-
เทพบุตรว่า ‘สหายมาตลี ท่านจงจัดเตรียมรถซึ่งเทียมด้วยม้าอาชาไนย ๑,๐๐๐ ตัว
เราจะไปยังพื้นที่อุทยานเพื่อชมภูมิภาคอันงดงาม’
มาตลีสังคาหกเทพบุตรทูลรับพระดำรัสแล้ว จัดเตรียมรถซึ่งเทียมด้วยม้า
อาชาไนย ๑,๐๐๐ ตัว เสร็จแล้วกราบทูลแก่ท้าวสักกะจอมเทพว่า ‘ข้าแต่พระองค์
ผู้นิรทุกข์ รถซึ่งเทียมด้วยม้าอาชาไนย ๑,๐๐๐ ตัว สำหรับพระองค์จัดเตรียมไว้
เสร็จแล้ว ขอพระองค์ทรงทราบกาลอันควรในบัดนี้เถิด’
ได้ทราบว่า ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพขณะเสด็จลงจากเวชยันต์ปราสาท
ทรงประนมมือนอบน้อมภิกษุสงฆ์อยู่
[๙๓๙] ครั้งนั้น มาตลีสังคาหกเทพบุตรได้ทูลถามท้าว
สักกะจอมเทพด้วยคาถาว่า
นรชนผู้นอนทับกายอันเปื่อยเน่าเหล่านี้
นอบน้อมพระองค์เท่านั้น พวกเขาจมอยู่ในซากศพ A
เป็นผู้เพียบพร้อมด้วยความหิวและความกระหาย
ข้าแต่ท้าววาสวะ เพราะเหตุไรหนอ
พระองค์จึงทรงโปรดปรานท่านผู้ไม่มีเรือนเหล่านั้น
ขอพระองค์ตรัสบอกมรรยาทของฤๅษีทั้งหลาย
ข้าพระองค์ขอฟังพระดำรัสของพระองค์ พระเจ้าข้า
[๙๔๐] ท้าวสักกะตรัสตอบว่า
มาตลี เราโปรดปรานมรรยาท
ของท่านผู้รู้ที่ไม่มีเรือนเหล่านั้น
เพราะท่านเหล่านั้นเป็นผู้ไม่มีความห่วงใย
ในบ้านที่ท่านจากไป
บุคคลผู้จะเก็บข้าวเปลือก
ของท่านเหล่านั้นไว้ในฉางก็ไม่มี
จะเก็บไว้ในหม้อก็ไม่มี จะเก็บไว้ในกระเช้าก็ไม่มี
ท่านเหล่านั้นมีวัตรงาม
แสวงหาอาหารที่ผู้อื่นทำเสร็จแล้ว
เยียวยาอัตภาพด้วยอาหารนั้น
ท่านเหล่านั้นเป็นนักปราชญ์
กล่าวคำสุภาษิต เป็นผู้สงบ ประพฤติสม่ำเสมอ
มาตลี พวกเทวดายังโกรธกับอสูร
และสัตว์เป็นอันมากยังโกรธซึ่งกันและกัน
เมื่อเขายังโกรธกัน แต่ท่านเหล่านั้นไม่โกรธ
ดับ(ความโกรธ)เสียได้ในบุคคลผู้มีอาชญาในตน
เมื่อชนทั้งหลายยังมีความถือมั่น
ท่านเหล่านั้นไม่ถือมั่น
มาตลี เราจึงนอบน้อมท่านเหล่านั้น
[๙๔๑] มาตลีสังคาหกเทพบุตรกราบทูลว่า
ข้าแต่ท้าวสักกะ ได้ยินว่า
พระองค์ทรงนอบน้อมบุคคลเหล่าใด
บุคคลเหล่านั้นเป็นผู้ประเสริฐที่สุดในโลก
ข้าแต่ท้าววาสวะ พระองค์ทรงนอบน้อมบุคคลเหล่าใด
แม้ข้าพระองค์ก็ขอนอบน้อมบุคคลเหล่านั้นเหมือนกัน
[๙๔๒] ท้าวมฆวาสุชัมบดีเทวราช ผู้เป็นประมุข
ครั้นตรัสดังนี้แล้ว ทรงนอบน้อมภิกษุสงฆ์
เสด็จขึ้นราชรถกลับไป”
ตติยสักกนมัสสนสูตรที่ ๑๐ จบ
เชิงอรรถ
A จมอยู่ในซากศพ ในที่นี้หมายถึงอยู่ในท้องของมารดา ๑๐ เดือน (สํ.ส.อ. ๑/๒๖๖/๓๓๕, สํ.ฏีกา
๑/๒๖๖/๓๖๔)
บาลี
ตติยสกฺกนมสฺสนสุตฺต
[๙๓๘] สาวตฺถีนิทาน ฯ ภูตปุพฺพ ภิกฺขเว สกฺโก เทวานมินฺโท
มาตลึ สงฺคาหก อามนฺเตสิ โยเชหิ สมฺม มาตลิ สหสฺสยุตฺต
อาชฺรถ อุยฺยานภูมึ คจฺฉาม สุภูมึ ทสฺสนายาติ ฯ เอว
ภทฺทนฺตวาติ โข ภิกฺขเว มาตลิ สงฺคาหโก สกฺกสฺส เทวานมินฺทสฺส
ปฏิสฺสุตฺวา สหสฺสยุตฺต อาชฺรถ โยเชตฺวา สกฺกสฺส
เทวานมินฺทสฺส ปฏิเวเทสิ ยุตฺโต โข เต มาริส สหสฺสยุตฺโต
อาชฺรโถ ยสฺสทานิ กาล มฺสีติ ฯ อถ โข ภิกฺขเว สกฺโก
เทวานมินฺโท เวชยนฺตปาสาทา โอโรหนฺโต อฺชลึ กตฺวา สุท
ภิกฺขุสงฺฆ นมสฺสติ ฯ
[๙๓๙] อถ โข ภิกฺขเว มาตลิ สงฺคาหโก สกฺก เทวานมินฺท
คาถาย อชฺฌภาสิ
ต หิ เอเต นมสฺเสยฺยุ ปูติเทหสยา นรา
นิมุคฺคา กุณปเสฺมเต ๑ ขุปฺปิปาสา สมปฺปิตา
กึ นุ เตส ปิหยสิ อนาคาราน วาสว
อาจาร อิสิน พฺรูหิ ต สุโณม วโจ ตวาติ ฯ
[๙๔๐] เอต เตส ปิหยามิ อนาคาราน มาตลิ
ยมฺหา คามา ปกฺกมนฺติ อนเปกฺขา วชนฺติ เต
น เตส โกฏฺเ โอเปนฺติ น กุมฺภา น กโฬปิย
ปรนิฏฺิตเมสนา ๒ เตน ยาเปนฺติ สุพฺพตา
สุมนฺตมนฺติโน ธีรา ตุณฺหีภูตา สมฺจรา
เทวา วิรุทฺธา อสุเรหิ ปุถุมจฺจา จ มาตลิ
อวิรุทฺธา วิรุทฺเธสุ อตฺตทณฺเฑสุ นิพฺพุตา
สาทาเนสุ อนาทานา เต นมสฺสามิ มาตลีติ ฯ
[๙๔๑] เสฏฺา หิ กิร โลกสฺมึ เย ตฺว สกฺก นมสฺสสิ
อหมฺปิ เต นมสฺสามิ เย นมสฺสสิ วาสวาติ ฯ
[๙๔๒] อิท วตฺวาน มฆวา เทวราชา สุชมฺปติ
ภิกฺขุสงฺฆ นมสฺสิตฺวา ปมุโข รถมารุหีติ ฯ
******************
๑ ม. กุณปเมฺหเต ยุ. กุณเปสเวเต ฯ ๒ ม. ยุ. … เมสานา ฯ
อรรถกถา
อรรถกถาตติยสักกนมัสสนสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในตติยสักกนมัสสนสูตรที่ ๑๐ ต่อไปนี้ :-
บทว่า อชฺฌภาสิ ความว่า เพราะเหตุไร มาตลิสังคาหกเทพบุตร
นี้ จึงได้กล่าวอย่างนี้บ่อย ๆ. นัยว่าท้าวสักกะเทวราชมีพระสุรเสียงไพเราะใน
เวลาดำรัสช่องพระทนต์สนิท เปล่งพระสุรเสียงดุจเสียงกระดิ่งทอง. มาตลิสัง-
คาหกเทพบุตรพูดว่า เราจักได้ฟังพระสุรเสียงนั้นบ่อยๆ. บทว่า ปูติเทหสยา
ความว่า ชื่อว่า นอนทับกายเน่าเพราะนอนทับบนร่างกายของมารดาที่เน่า หรือ
สรีระของตนเอง. บทว่า นิมฺมุคฺคา กุณปเสฺมเต คือคนเหล่านี้จมอยู่ใน
ซากกล่าวคือท้องมารดาตลอด ๑๐ เดือน. บทว่า เอตํ เนสํ ปิหยามิ ได้แก่
เราชอบใจมารยาทของท่านผู้ไม่มีเรือนเหล่านั้น. บทว่า น เตลํ โกฏฺเฐ
โอเปนฺติ ความว่า บุคคลจะไม่เก็บข้าวเปลือกของท่านเหล่านั้นไว้ในฉางคือ
ข้าวเปลือกของท่านเหล่านั้นไม่มี. บทว่า น กุมฺภา ได้แก่ ไม่เก็บไว้ใน
หม้อ. บทว่า น กโฬปิยํ ได้แก่ ไม่เก็บไว้ในกระบุง. บทว่า ปรนิฏฺฐิตเมสนา
ได้แก่ เสาะแสวงหาของที่สุกแล้วในเรื่องนั้น ๆ ที่สำเร็จเพื่อคนเหล่าอื่นด้วย
ภิกขาจารวัตร. บทว่า เตน ได้แก่ ด้วยการแสวงหาอย่างนี้นั้น. บทว่า
สุพฺพตา ได้แก่ สมาทานวัตรงามดีแล้ว ตลอด ๑๐ ปีบ้าง ๖๐ ปีบ้าง. บทว่า
สุมนฺตนฺติโน คือมีปกติกล่าวคำสุภาษิตตอย่างนี้ว่า เราจะสาธยายยธรรม จัก-
ปฏิบัติธุดงค์ จักบำเพ็ญสมณธรรมดังนี้ . บทว่า ตุณฺหีภูตา สมญฺจรา
ความว่า แม้กล่าวธรรม ก็ยังกังวานอยู่เสมอตลอดทั้ง ๓ ยามเหมือนเสียงฟ้าร้อง.
ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะไม่มีคำที่ไร้ประโยชน์. บทว่า ปุถุมจฺจา จ
ได้แก่ สัตว์เป็นอันมากผิดใจกันและกัน . บทว่า อตฺตทณฺเฑสุ นิพฺพุตา
ได้แก่ ดับเสียได้ในอาชญาที่ถือเอาแล้ว เพื่อเบียดเบียนผู้อื่น คือสละอาชญา
เสียแล้ว. บทว่า สาทาเนสุ อนาทานา ความว่า เมื่อสัตว์ทั้งหลายมีความ
ถือมั่น ไม่มีความถือมั่นเพราะไม่ถือมั่น แม้ส่วนหนึ่งของกำเนิดภพเป็นต้น.
จบอรรถกถาสักกนมัสสนสูตรที่ ๑๐