15-260 ผู้ขัดสน



พระไตรปิฎก


๔. ทฬิททสูตร
ว่าด้วยผู้ขัดสน
[๙๑๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต
เขตกรุงราชคฤห์ ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
[๙๑๗] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัส เรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ในกรุงราชคฤห์นี้เอง ได้มีบุรุษคนหนึ่งเป็น
คนขัดสน เป็นคนกำพร้า เป็นคนยากไร้ แต่เขายึดมั่นศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ
และปัญญา ในธรรมวินัยที่เราประกาศแล้ว หลังจากตายแล้วจึงเข้าถึงสุคติโลก-
สวรรค์ คือ ความเป็นสหายของเทพชั้นดาวดึงส์ เทพบุตรองค์นั้นรุ่งเรืองกว่าเทพ
เหล่าอื่นด้วยรัศมีและยศ
[๙๑๘] ได้ยินว่า ในกาลครั้งนั้น พวกเทพชั้นดาวดึงส์พากัน
กล่าวโทษ ติเตียนว่า ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลาย น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ
เทพบุตรองค์นี้เมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์อยู่ในกาลก่อน เป็นคนขัดสน เป็นคนกำพร้า
เป็นคนยากไร้ หลังจากตายแล้วจึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ คือ ความเป็นสหายของ
เทพชั้นดาวดึงส์ ย่อมรุ่งเรืองกว่าเทพเหล่าอื่นด้วยรัศมีและยศ”
ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพรับสั่งกับเทพชั้นดาวดึงส์ว่า ‘ท่านผู้
นิรทุกข์ ท่านทั้งหลายอย่ากล่าวโทษต่อเทพบุตรนี้เลย เทพบุตรนี้ เมื่อครั้งยังเป็น
มนุษย์ในกาลก่อน ยึดมั่นศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา ในธรรมวินัยที่พระ
ตถาคตประกาศแล้ว หลังจากตายแล้วจึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ คือ ความเป็นสหาย
ของเทพชั้นดาวดึงส์ ย่อมรุ่งเรืองกว่าเทพเหล่าอื่นด้วยรัศมีและยศ
[๙๑๙] ภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพ เมื่อทรงยินดีกับพวกเทพชั้น
ดาวดึงส์ จึงได้ตรัสคาถาเหล่านี้ ในเวลานั้นว่า
ผู้ใดมีศรัทธาในพระตถาคตตั้งมั่นไม่หวั่นไหว
มีศีลงาม เป็นศีลที่พระอริยะชอบใจ A และสรรเสริญ
มีความเลื่อมใสในพระสงฆ์ และมีความเห็นตรง B
บัณฑิตทั้งหลายเรียกผู้นั้นว่า เป็นคนไม่ขัดสน
ชีวิตของเขาก็ไม่สูญเปล่า
เพราะฉะนั้น บุคคลผู้มีปัญญา เมื่อระลึกถึง
คำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ควรหมั่นประกอบศรัทธา
ศีล ความเลื่อมใส C และการเห็นธรรม D”
ทฬิททสูตรที่ ๔ จบ
เชิงอรรถ
A ศีลที่พระอริยะชอบใจ หมายถึงศีลที่ประกอบด้วยมรรคและผล (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๕๒/๓๔๙)
B มีความเห็นตรง หมายถึงเห็นว่าพระขีณาสพไม่มีความอดทนทางกายเป็นต้น (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๕๒/๓๔๙)
C ความเลื่อมใส หมายถึงเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๕๒/๓๔๙)
D การเห็นธรรม หมายถึงเห็นสัจธรรม ๔ ประการ (คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๕๒/๓๔๙)

บาลี



ทฬิทฺทสุตฺต
[๙๑๖] เอก สมย ภควา ราชคเห วิหรติ เวฬุวเน กลนฺทกนิวาเป ฯ
ตตฺร โข ภควา ภิกฺขู อามนฺเตสิ ภิกฺขโวติ ฯ
ภทนฺเตติ เต ภิกฺขู ภควโต ปจฺจสฺโสสุ ฯ
[๙๑๗] ภควา เอตทโวจ ภูตปุพฺพ ภิกฺขเว อฺตโร ปุริโส
อิมสฺมึเยว ราชคเห มนุสฺสทฬิทฺโท อโหสิ มนุสฺสกปโณ
มนุสฺสวราโก ฯ โส ตถาคตปฺปเวทิเต ธมฺมวินเย สทฺธ สมาทิยิ สีล
สมาทิยิ สุต สมาทิยิ จาค สมาทิยิ ปฺ สมาทิยิ ฯ โส
ตถาคตปฺปเวทิเต ธมฺมวินเย สทฺธ สมาทิยิตฺวา สีล สมาทิยิตฺวา
สุต สมาทิยิตฺวา จาค สมาทิยิตฺวา ปฺ สมาทิยิตฺวา กายสฺส
เภทา ปรมฺมรณา สุคตึ สคฺค โลก อุปปชฺชิ เทวาน ตาวตึสาน
สหพฺยต ฯ โส อฺเ เทเว อติโรจติ วณฺเณน เจว ยสสา จ ฯ
[๙๑๘] ตตฺร สุท ภิกฺขเว เทวา ตาวตึสา อุชฺฌายนฺติ ขียนฺติ
วิปาเจนฺติ อจฺฉริย วต โภ อพฺภูต วต โภ อย หิ เทวปุตฺโต
ปุพฺเพ มนุสฺสภูโต สมาโน มนุสฺสทฬิทฺโท อโหสิ มนุสฺสกปโณ
มนุสฺสวราโก โส กายสฺส เภทา ปรมฺมรณา สุคตึ สคฺค โลก
อุปปนฺโน เทวาน ตาวตึสาน สหพฺยต โส อฺเ เทเว อติโรจติ
วณฺเณน เจว ยสสา จาติ ฯ อถ โข ภิกฺขเว สกฺโก เทวานมินฺโท
เทเว ตาวตึเส อามนฺเตสิ มา โข ตุเมฺห มาริสา เอตสฺส
เทวปุตฺตสฺส อุชฺฌายิตฺถ เอโส โข มาริสา เทวปุตฺโต ปุพฺเพ
มนุสฺสภูโต สมาโน ตถาคตปฺปเวทิเต ธมฺมวินเย สทฺธ สมาทิยิ
สีล สมาทิยิ สุต สมาทิยิ จาค สมาทิยิ ปฺ สมาทิยิ โส
ตถาคตปฺปเวทิเต ธมฺมวินเย สทฺธ สมาทิยิตฺวา สีล สมาทิยิตฺวา
สุต สมาทิยิตฺวา จาค สมาทิยิตฺวา ปฺ สมาทิยิตฺวา กายสฺส
เภทา ปรมฺมรณา สุคตึ สคฺค โลก อุปปนฺโน เทวาน ตาวตึสาน
สหพฺยต โส อฺเ เทเว อติโรจติ วณฺเณน เจว ยสสา จาติ ฯ
[๙๑๙] อถ โข ภิกฺขเว สกฺโก เทวานมินฺโท เทเว ตาวตึเส
อนุนยมาโน ตาย เวลาย อิมา คาถาโย อภาสิ
ยสฺส สทฺธา ตถาคเต อจลา สุปติฏฺิตา
สีลฺจ ยสฺส กลฺยาณ อริยกนฺต ปสสิต
สงฺเฆ ปสาโท ยสฺสตฺถิ อุชุภูตฺจ ทสฺสน
อทฬิทฺโทติ ต อาหุ อโมฆ ตสฺส ชีวิต
ตสฺมา สทฺธฺจ สีลฺจ ปสาท ธมฺมทสฺสน
อนุยุฺเชถ เมธาวี สร พุทฺธานสาสนนฺติ ฯ

******************

อรรถกถา


อรรถกถาทฬิททสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในทฬิททสูตรที่ ๔ ต่อไปนี้ :-
บทว่า มนุสฺสทฬิทฺโท คือ คนขัดสน. บทว่า มนุสฺสกปโณ
คือ ถึงความเป็นมนุษย์ควรกรุณา. บทว่า มนุสฺสวราโก คือเป็นคนเลว.
บทว่า ตตฺร แปลว่า ในที่นั้น . หรือในความรุ่งเรื่องนั้น. บทว่า อุชฺฌายนฺติ
แปลว่า เพ่งโทษ ได้แก่ คิดเเต่ความลามก. บทว่า ขิยฺยนฺติ คือประกาศ.
บทว่า วิปาเจนฺติ คือพูดเปิดเผยในที่นั้น ๆ. ในบทนี้ว่า เอโส โข มาริส
มีอนุปุพพีกถาดังต่อไปนี้
ได้ยินว่า เทวบุตรนั้น เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่ทรงอุบัติ ได้เป็น
พระเจ้ากรุงพาราณสี ในแคว้นกาสี ทรงกระทำประทักษิณพระนคร ซึ่งยกธงชัย
และธงแผ่นผ้าขึ้น ประดับด้วยเครื่องประดับพระนครอย่างดี ด้วยสิริสมบัติ
ของพระองค์ อันฝูงชนจ้องมองเป็นตาเดียวกัน. ก็สมัยนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้า
องค์หนึ่ง มีอินทรีย์สงบ มีใจสงบ ถึงพร้อมด้วยการฝึกตนอย่างดี มาจาก
เขาคันธมาทน์ เที่ยวไปบิณฑบาตในเมืองนั้น. ฝ่ายมหาชน ละความยำเกรง
พระราชา มองดูพระปัจเจกพุทธเจ้าอย่างเดียว. พระราชาทรงดำริว่า เดี๋ยวนี้
ในหมู่ชนนี้ แม้คนหนึ่ง ก็ไม่มองดูเรา นี่เรื่องอะไรกัน เมื่อมองดู ก็เห็น
พระปัจเจกพุทธเจ้า. พระปัจเจกพุทธเจ้าแม้นั้นก็ชราอายุมาก. แม้จีวรของทาน
ก็คร่ำคร่า. เส้นด้ายห้อยย้อยจากที่นั้น ๆ. พระราชาทอดพระเนตรเห็นพระ-
ปัจเจกพุทธเจ้า ผู้บำเพ็ญบารมีมาตลอดสองอสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป. เพียงจิต
เลื่อมใส หรือเพียงยกมือไหว้ก็ไม่มี. พระราชานั้น ทรงโกรธว่า ผู้นี้เห็นจะ
เป็นนักบวชไม่มองดูเราด้วยความริษยา ทรงดำริว่า นี่ใครห่มผ้าขี้เรือนแล้ว
ทรงถ่มเขฬะเสด็จหลีกไป. ด้วยวิบากของกรรมนั้น พระราชา จึงไปเกิดใน
มหานรก ด้วยวิบากที่เหลือ มาสู่มนุษยโลก ถือปฏิสนธิในครรภ์ของหญิงที่
ยากจนข้นแค้น ในกรุงราชคฤห์. ตั้งแต่เวลาที่ถือปฏิสนธิ หญิงนั้น ไม่ได้
อาหารเต็มท้องเพียงน้ำข้าว. เมื่อทารกนั้นอยู่ในห้อง หูและจมูกแหว่งวิ่น.
เมื่อเด็กออกจากท้องมารดา เป็นโรคเรื้อน มีผมหงอกขาวโพลน. ชื่อว่า
มารดาบิดาเป็นผู้กระกำลำบาก. ด้วยเหตุนั้น มารดาของทารกนั้น ได้นำ
น้ำข้าวบ้าง น้ำบ้างให้แก่ทารกตลอดเวลาที่ไม่สามารถจะถือกระเบื้องเที่ยวไปได้
ก็เมื่อถึงคราวที่ทารกนั้น สามารถเที่ยวขอทานได้ มารดา จึงมอบกระเบื้อง
ให้ในมือกล่าวว่า เจ้าจักรับผิดชอบตามกรรมของตนแล้วหลีกไป. ตั้งแต่
นั้นมา เนื้อของทารกนั้นขาดไปจากตัวทั่วทั้งร่างกาย. น้ำเหลืองก็ไหล.
ได้รับเวทนาหนัก. อาศัยตรอกนอนร้องโหยหวนตลอดคืน. ด้วยเสียงปริเทวนา
น่าสงสารของเด็กนั้น พวกมนุษย์ในทุกถนนไม่ได้นอนตลอดคืน. ตั้งแต่
นั้นมา เขาจึงมีชื่อว่า สุปปพุทธะ เพราะอรรถว่า ทำคนนอนสบายให้ตื่น.
ครั้นสมัยต่อมา เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จถึงกรุงราชคฤห์
ชาวเมืองนิมนต์พระศาสดาสร้างมหามณฑป ท่ามกลางพระนคร ได้พากัน
ถวายทาน. แม้นายสุปปพุทธะ เป็นโรคเรื้อนก็ได้ไปนั่ง ณ ที่ใกล้โรงทาน
ชาวเมืองอังคาสพระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ด้วยของเคี้ยวของฉัน
อันประณีต ได้ให้ข้าวยาคู และภัตรแก่สุปปพุทธะบ้าง. เมื่อสัปปพุทธะบริโภค
โภชนะอันประณีตแล้ว ก็มีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง. ในที่สุดภัตกิจ พระศาสดา
ทรงกระทำอนุโมทนาแล้ว ทรงแสดงสัจธรรม. นายสุปปพุทธะนั่งในที่ที่ตน
นั่งนั้น เมื่อจบเทศนาส่งญาณไปตามกระแสของเทศนา ได้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล.
พระศาสดาทรงลุกขึ้นเสด็จไปสู่พระวิหาร. แม้นายสุปปพุทธะนั้น ก็สวมรองเท้า
มีเชิงถือกระเบื้อง ยันไม้เท้าไปที่อยู่ของตน ถูกแม่โคขวิดตาย ไปบังเกิดใน
เทวโลกในวาระจิตที่สอง ดุจทำลายหม้อดินแล้วได้หม้อทองคำอาศัยบุญของตน
จึงรุ่งเรืองล่วงเทวดาเหล่าอื่น. ท้าวสักกะจอมเทพ เมื่อจะแสดงถึงเหตุนั้น
จึงกล่าวคำมีอาทิว่า เอโส มาริส ดังนี้. บทว่า สทฺธา ได้แก่ ศรัทธา
อันมาแล้วโดยมรรค. บทว่า สีลญฺจ ยสฺส กลฺยาณํ ได้แก่ กัลยาณศีล
ที่ท่านกล่าวว่า อริยกันตศีลของพระอริยสาวก. ในลำดับนั้น ศีลแม้ข้อหนึ่ง
ของพระอริยสาวก ชื้อว่า ไม่น่าใคร่ ย่อมไม่มี ก็จริง ถึงดังนั้น ในความ
นี่ท่านประสงค์เอาเบญจศีลที่ไม่ละแม้ในภพต่าง ๆ.
จบอรรถกถาทฬิททสูตรที่ ๔

สนทนาธรรม

comments

Got anything to say? Go ahead and leave a comment!