15-224 ภิกษุหลายรูป
พระไตรปิฎก
๔. สัมพหุลสูตร
ว่าด้วยภิกษุหลายรูป
[๗๖๘] สมัยหนึ่ง ภิกษุหลายรูปอยู่ ณ ราวป่าแห่งหนึ่ง แคว้นโกศล ครั้งนั้น
ภิกษุเหล่านั้นอยู่จำพรรษาถ้วนไตรมาสแล้ว ก็หลีกไปสู่ที่จาริก
[๗๖๙] ครั้งนั้น เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ในราวป่านั้น เมื่อไม่เห็นภิกษุเหล่านั้นก็คร่ำครวญถึง
ได้กล่าวคาถานี้ในเวลานั้นว่า
ความเยื่อใยย่อมปรากฏเหมือนความไม่ยินดี
เพราะเห็นอาสนะมากมายเงียบสงัด
สาวกของพระสมณโคดมเหล่านั้น
ผู้มีถ้อยคำไพเราะ เป็นพหูสูต ไปที่ไหนกัน
[๗๗๐] เมื่อเทวดานั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว เทวดาอีกองค์หนึ่งได้กล่าวกับเทวดานั้นด้วย
คาถาว่า
ภิกษุทั้งหลายไม่ติดในที่อยู่
เที่ยวไปเป็นหมู่ เหมือนฝูงวานร
ไปสู่แคว้นมคธและแคว้นโกศล
บางพวกก็ไปสู่แคว้นวัชชี
สัมพหุลสูตรที่ ๔ จบ
บาลี
สมฺพหุลสุตฺต
[๗๖๘] เอก สมย สมฺพหุลา ภิกฺขู โกสเลสุ วิหรนฺติ อฺตรสฺมึ
วนสณฺเฑ ฯ อถ โข เต ภิกฺขู วสฺส วุตฺถา เตมาสจฺจเยน
จาริก ปกฺกมึสุ ฯ
[๗๖๙] อถ โข ยา ตสฺมึ วนสณฺเฑ อธิวตฺถา เทวตา เต
ภิกฺขู อปสฺสนฺตี ปริเทวมานา ตาย เวลาย อิม คาถ อภาสิ
อรติ วิย เมชฺช ขายติ
พหุเก ทิสฺวาน วิวิตฺเต อาสเน
เต จิตฺตกถา พหุสฺสุตา
โกเม โคตมสาวกา คตาติ ฯ
[๗๗๐] เอว วุตฺเต อฺตรา เทวตา ต เทวต คาถาย อชฺฌภาสิ
มคธ คตา โกสล คตา
เอกจฺจิยา ปน วชฺชิภูมิยา
มกฏา ๑ วิย สงฺฆจาริโน ๒
อนิเกตา วิหรนฺติ ภิกฺขโวติ ฯ
******************
๑ ม. ยุ. มคา ฯ ๒ ม. อสงฺฆจาริโน ฯ
อรรถกถา
อรรถกถาสัมพหุลสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในสัมพหุลสูตร ที่ ๔ ต่อไปนี้ :-
บทว่า สมฺพหุลา คือ ผู้ทรงพระสูตร ผู้ทรงพระอภิธรรม ผู้ทรง
พระวินัย เป็นอันมาก. บทว่า วิหรนฺติ ได้แก่ เรียนกัมมัฏฐานในสำนัก
พระศาสดาแล้วอยู่. บทว่า ปกฺกมึสุ ความว่า ได้ยินว่า คนทั้งหลายเห็น
ภิกษุเหล่านั้นเข้าไปยังหมู่บ้านแห่งใดแห่งหนึ่งในชนบทนั้น ก็มีจิตเลื่อมใส ปู
ลาดผ้าขนแกะเป็นต้นไว้ที่หอฉัน ถวายข้าวต้มและของขบเคี้ยวแล้วนั่งใกล้.
พระมหาเถระ กล่าวกะพระธรรมกถึกรูปหนึ่งว่า เธอจงกล่าวธรรม. พระธรรกถึก
นั้นจึงกล่าวธรรมกถาอย่างไพเราะ. คนทั้งหลายเลื่อมใสแล้วได้ถวายโภชนะอัน
ประณีตในเวลาฉัน. พระมหาเถระได้กระทำอนุโมทนาอาหารอย่างพึงพอใจ.
คนทั้งหลายเลื่อมใสอย่างยิ่งแล้วกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ นิมนต์จำพรรษา
อยู่ในที่นี้ตลอด ๓ เดือนเถิด ให้ท่านรับปฏิญญาแล้ว ให้สร้างเสนาสนะในที่
ซึ่งสะดวกด้วยการไปมาอุปฐากด้วยปัจจัย ๔.
พระมหาเถระสอนภิกษุในวันเข้าพรรษาว่า ดูก่อนผู้มีอายุ พวกท่าน
เรียนกัมมัฏฐานในสำนักพระศาสดาผู้เป็นครู ชื่อว่า ความปรากฏแห่งพระ-
พุทธเจ้าหายาก พวกท่านจงฟังธรรมเดือนละ ๘ วัน ละความคลุกคลีด้วยหมู่
คณะแล้วไม่ประมาทอยู่เถิด ดังนี้. จำเดิมแต่นั้นมา ภิกษุเหล่านั้น ย่อมขวน
ขวายพากเพียร บางวันก็ทำการฟังธรรมตลอดคืน บางวัน ก็แก้ปัญหา บาง
คราวก็ทำความเพียร. ในวันธรรมสวนะ ภิกษุเหล่านั้นกล่าวธรรมจนอรุณขึ้น
ในวันแก้ปัญหากระทำการถามและการแก้ คือ ภิกษุผู้ฉลาดถามปัญหา ผู้เป็น
บัณฑิตแก้ ในวันทำความเพียร ตีระฆังในเวลาพระอาทิตย์ตก ลงสู่ที่จงกรม
ทำความเพียร. ภิกษุเหล่านั้น จำพรรษาอย่างนี้ปวารณาแล้วหลีกไป. คำนี้ท่าน
กล่าวหมางถึงความข้อนั้น.
บทว่า ปริเทวมานา ความว่า เทวดากล่าวคำเป็นต้นว่า บัดนี้
เราจักได้ฟังธรรมและกล่าวปัญหาอันไพเราะเห็นปานนั้นแต่ไหนเล่า ดังนี้แล้ว
คร่ำครวญอยู่. บทว่า ขายติ แปลว่า ย่อมปรากฏ คือเข้าไปตั้งไว้. บทว่า
โกเม แปลว่า (พระสาวก) เหล่านี้ (ไป) ไหน. บทว่า วชฺชิภูมิยา แปลว่า
บ่ายหน้าไปแคว้นวัชชี. บทว่า มกฺกุฏฺาวิย แปลว่า เหมือนลิง. ภิกษุท่อง
เที่ยวไปที่เชิงเขาหรือที่ราวป่านั้น ๆ ไม่ถือว่า ที่นี้เป็นสมบัติของมารดา. เป็น
สมบัติของบิดาของเรา ที่มาตามประเพณี ภิกษุเหล่านั้นมีความผาสุกด้วยโคจร
คามและความไม่มีอันตรายอยู่ในที่ใด ก็อยู่ในที่นั้น แม้ภิกษุทั้งหลายผู้ไม่มี
เรือนอย่างนี้ จึงกล่าวว่า ดูก่อนผู้มีอายุ นี้เป็นสมบัติของอุปัชฌาย์อาจารย์ของ
เรา ที่มาตามประเพณี ดังนี้ จึงในถือเอา ภิกษุเหล่านั้นมีที่สบายด้วยอากาศ
สบายด้วยโภชนะ สบายด้วยเสนาสนะ สบายด้วยการฟังธรรม หาง่าย มีอยู่
ในที่ใด ย่อมอยู่ในที่นั้น.
จบอรรถกถาสัมพหุลสูตรที่ ๔.