15-221 ความสงัด
พระไตรปิฎก
๑. วิเวกสูตร
ว่าด้วยความสงัด
[๗๖๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ ณ ราวป่าแห่งหนึ่ง แคว้นโกศล สมัยนั้น ภิกษุ
นั้นพักผ่อนอยู่ในที่พักกลางวัน ตรึกถึงอกุศลวิตกอันเลวทราม ซึ่งอิงอาศัยการ
ครองเรือน
[๗๖๒] ครั้งนั้น เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ในราวป่านั้น มีความอนุเคราะห์หวังดีต่อภิกษุนั้น
ประสงค์จะให้เธอสลดใจ จึงเข้าไปหาภิกษุนั้นถึงที่อยู่แล้วกล่าวกับภิกษุนั้นด้วยคาถาว่า
ท่านต้องการความสงัดจึงเข้าป่า
ส่วนใจของท่านกลับพล่านไปภายนอก
ท่านป็นคน จงกำจัดความพอใจในคน
แต่นั้นท่านปราศจากความกำหนัดแล้ว จักมีความสุข
ท่านมีสติ ทำไมไม่ละความยินดีเล่า
เราเตือนให้ท่านระลึกถึงธรรมของสัตบุรุษ
เพราะธุลีคือกิเลสประดุจบาดาลข้ามได้ยาก
ความกำหนัดในกามอย่าได้ครอบงำท่านเลย
นกที่เปื้อนฝุ่น ย่อมสลัดละอองธุลีที่แปดเปื้อนให้ตกไป ฉันใด
ภิกษุผู้มีความเพียร มีสติ ย่อมสลัดละอองธุลีคือกิเลส
ที่แปดเปื้อนให้ตกไป ฉันนั้น
ลำดับนั้น ภิกษุนั้นถูกเทวดานั้นทำให้สลดใจ เกิดความสลดใจแล้ว
วิเวกสูตรที่ ๑ จบ
บาลี
วิเวกสุตฺต
[๗๖๑] เอวมฺเม สุต เอก สมย อฺตโร ภิกฺขุ โกสเลสุ
วิหรติ อฺตรสฺมึ วนสณฺเฑ ฯ เตน โข ปน สมเยน โส ภิกฺขุ
ทิวาวิหารคโต ปาปเก อกุสเล วิตกฺเก วิตกฺเกติ เคหนิสฺสิเต ฯ
[๗๖๒] อถ โข ยา ตสฺมึ วนสณฺเฑ อธิวตฺถา เทวตา ตสฺส
ภิกฺขุโน อนุกมฺปิกา อตฺถกามา ต ภิกฺขุ สเวเชตุกามา เยน โส
ภิกฺขุ เตนุปสงฺกมิ อุปสงฺกมิตฺวา ต ภิกฺขุ คาถาหิ อชฺฌภาสิ
วิเวกกาโมสิ วน ปวิฏฺโ
อถ เต มโน นิจฺฉรติ พหิทฺธา
ตฺว ๑ ชโน ชนสฺมึ วินยสฺสุ ฉนฺท
ตโต สุขี โหหิสิ วีตราโค
อรตึ ปชหาสิ สโต
ภวาสิ สต ต สารยามเส
ปาตาลรโช หิ ทุตฺตโร
มา ต กามรโช อวาหริ
สกุโณ ยถา ปสุกุณฺฑิโต ๒
วิธุน ปาตยติ สิต รช
เอว ภิกฺขุ ปธานวา สติมา
ปาตยติ สิต รชนฺติ ฯ
อถ โข โส ภิกฺขุ ตาย เทวตาย สเวชิโต สเวคมาปาทีติ ฯ
******************
๑ ม. ยุ. อย ปาโ นตฺถิ ฯ ๒ โป. ยุ. กุณฺิโต ฯ ม. กุนฺติโต ฯ
อรรถกถา
อรรถกถาวิเวกสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในวิเวกสูตรที่ ๑ แห่งวนสังยุตต่อไปนี้ :-
บทว่า โกสเลสุ วิหรติ ความว่า ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง เรียน
กัมมัฏฐานในสำนักของพระศาสดาแล้วไปอยู่ในแคว้นโกศลนั้น เพราะชนบท
นั้นหาภิกษาได้ง่าย. บทว่า สํเวเชตุกามา ได้แก่ ใคร่เพื่อจะให้ภิกษุนั้น
ถึงวิเวก. บทว่า วิเวกกาโม คือ ปรารถนาวิเวก ๓. บทว่า นิจฺฉรติ
พหิทฺธา คือ เที่ยวไปในอารมณ์เป็นอันมากที่เป็นภายนอก. บทว่า ชโน
ชนสฺมึ ความว่า ท่านจงละฉันทราคะในคนอื่น. บทว่า ปชหาสิ แปลว่า
จงละ. บทว่า ภวาสิ แปลว่า จงเป็น. บทว่า สตํ ตํ สารยามเส ความว่า
แม้เราย่อมยังบิณฑิตผู้มีสติให้ระลึกถึงธรรมนั้น หรือว่า เราย่อมยังผู้นั้นให้ระลึก
ถึงธรรมของสัตบุรุษ. บทว่า ปาตาลรโช ความว่า ธุลีคือกิเลสที่เรียกว่า
บาดาลเพราะอรรถว่า ไม่มีที่ตั้ง. บทว่า มา ตํ กามรโช ความว่า ธุลี
คือกามราคะนี้อย่าครอบงำท่าน อธิบายว่า อย่านำไปสู่อบายเลย. บทว่า
ปํสุกุณฺฑิโต แปลว่า เปื้อนฝุ่น. บทว่า วิธุนํ แปลว่า กำจัด. บทว่า
ปํสุกุณฺฑิโต ได้แก่ ฝุ่นที่ติดตัว. บทว่า สํเวคมาปาทิ ความว่า ชื่อว่า แม้
เทวดาย่อมยังเราท่านั้นให้ระลึกถึง ฉะนั้น จึงชื่อว่า ถึงวิเวก หรือว่าประคอง
ความเพียรอันสูงสุดแล้วปฏิบัติให้เป็นวิเวกอย่างยิ่ง.
จบอรรถกถาวิเวกสูตรที่ ๑