15-215 การปวารณา



พระไตรปิฎก


๗. ปวารณาสูตร
ว่าด้วยการปวารณา
[๗๔๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงประทับอยู่ ณ บุพพาราม ปราสาท
ของนางวิสาขามิคารมาตา เขตกรุงสาวัตถี พร้อมกับภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ประมาณ
๕๐๐ รูป ล้วนแต่เป็นพระอรหันต์ สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคทรงมีภิกษุสงฆ์
แวดล้อม ประทับนั่งในที่กลางแจ้ง เพื่อทรงปวารณาในวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงตรวจดูภิกษุสงฆ์ผู้นั่งสงบเงียบ จึงรับสั่งเรียก
ภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เราขอปวารณาต่อเธอทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจะไม่ติเตียนกรรมอะไร ๆ อันเป็นไปทางกายหรือทางวาจาของเราบ้างหรือ”
[๗๔๕] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรลุกขึ้นจากอาสนะ
ห่มผ้าเฉวียงบ่า ประนมมือไปทางที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายติเตียนกรรมอะไร ๆ
อันเป็นไปทางพระกายหรือทางพระวาจาของพระผู้มีพระภาคไม่ได้เลย เพราะว่า
พระผู้มีพระภาคทรงทำทางที่ยังไม่อุบัติให้อุบัติ ทรงทำทางที่ยังไม่เกิดให้เกิด ทรงบอก
ทางที่ยังไม่มีผู้บอก เป็นผู้ทรงรู้ทาง ทรงรู้แจ้งทาง ทรงฉลาดในทาง ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ สาวกทั้งหลายในบัดนี้เป็นผู้เดินตามทาง บัดนี้ ข้าพระองค์ขอปวารณาต่อ
พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคจะไม่ทรงติเตียนกรรมอะไร ๆ อันเป็นไปทางกาย
หรือทางวาจาของข้าพระองค์บ้างหรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สารีบุตร เราติเตียนกรรมอะไร ๆ อันเป็นไปทางกาย
หรือทางวาจาของเธอไม่ได้เลย เธอเป็นบัณฑิต มีปัญญามาก มีปัญญากว้างขวาง
มีปัญญาร่าเริง มีปัญญาแล่นไป มีปัญญาเฉียบแหลม มีปัญญาชำแรกกิเลส A สารีบุตร
โอรสองค์ใหญ่ของพระเจ้าจักรพรรดิยังจักรอันพระราชบิดาทรงให้เป็นไปแล้วให้เป็น
ไปตามได้โดยชอบ ฉันใด เธอก็ฉันนั้นเหมือนกัน ยังธรรมจักรอันยอดเยี่ยม อันเรา
ให้เป็นไปแล้วให้เป็นไปตามได้โดยชอบแท้จริง”
ท่านพระสารีบุตรจึงกราบทูลอีกว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หากว่าพระผู้มี
พระภาคไม่ทรงติเตียนกรรมอะไร ๆ อันเป็นไปทางกายหรือทางวาจาของข้าพระองค์
พระผู้มีพระภาคจะไม่ทรงติเตียนกรรมอะไร ๆ อันเป็นไปทางกายหรือทางวาจาของ
ภิกษุ ๕๐๐ รูปเหล่านี้บ้างหรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สารีบุตร เราไม่ติเตียนกรรมอะไร ๆ อันเป็นไปทาง
กายหรือทางวาจาของภิกษุ ๕๐๐ รูปแม้เหล่านี้ เพราะบรรดาภิกษุ ๕๐๐ รูปเหล่านี้
ภิกษุ ๖๐ รูปเป็นผู้ได้วิชชา ๓ อีก ๖๐ รูปได้อภิญญา ๖ อีก ๖๐ รูปได้อุภโตภาค-
วิมุตติ A ส่วนที่เหลือเป็นผู้ได้ปัญญาวิมุตติ”
ครั้งนั้น ท่านพระวังคีสะลุกขึ้นจากอาสนะ ห่มผ้าเฉวียงบ่า ประนมมือไปทาง
ที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระผู้มี
พระภาค เนื้อความนี้ย่อมปรากฏแก่ข้าพระองค์ ข้าแต่พระสุคต เนื้อความนี้ย่อม
ปรากฏแก่ข้าพระองค์”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เนื้อความนั้นจงปรากฏแก่เธอเถิด วังคีสะ”
[๗๔๖] ครั้งนั้น ท่านพระวังคีสะได้ทูลสรรเสริญพระผู้มีพระภาค ด้วยคาถาทั้งหลาย
อันสมควร ณ ที่เฉพาะพระพักตร์ว่า
ในวัน ๑๕ ค่ำซึ่งเป็นวันวิสุทธิปวารณา
วันนี้ มีภิกษุ ๕๐๐ รูปมาประชุมกัน
ล้วนเป็นผู้ตัดกิเลสเครื่องผูกคือสังโยชน์ได้ขาด
ไม่มีทุกข์ สิ้นภพสิ้นชาติแล้ว
เป็นผู้แสวงหาคุณธรรมอันประเสริฐ
พระเจ้าจักรพรรดิมีหมู่อำมาตย์แวดล้อม
เสด็จประพาสแผ่นดินอันไพศาล
มีมหาสมุทรสาครเป็นขอบเขตนี้ ฉันใด
สาวกทั้งหลายมีวิชชา ๓ ละมัจจุได้แล้ว
พากันแวดล้อมพระผู้มีพระภาคผู้ทรงชนะสงคราม
ทรงนำหมู่ เป็นผู้ยอดเยี่ยม ก็ฉันนั้น
สาวกทั้งปวงล้วนเป็นบุตรของพระผู้มีพระภาค
ในสาวกนี้ไม่มีความว่างเปล่า(จากคุณธรรม)เลย
ข้าพระองค์พึงถวายอภิวาทพระองค์
ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งดวงอาทิตย์
ซึ่งทรงทำลายลูกศรคือตัณหาได้แล้ว C
ปวารณาสูตรที่ ๗ จบ
เชิงอรรถ
A คำว่า มีปัญญามาก มีปัญญากว้างขวาง มีปัญญาร่าเริง มีปัญญาแล่นไป มีปัญญาเฉียบแหลม มีปัญญา
ชำแรกกิเลส (ดูเทียบ ขุ.ป. ๓๑/๔-๗/๔๐๔-๔๑๔)
B อุภโตภาควิมุตติ หมายถึงพ้นจากส่วนทั้ง ๒ คือ (๑) พ้นจากรูปกายด้วยอรูปาวจรสมาบัติ (๒) พ้นจาก
นามกายด้วยมรรคอันเลิศ (สํ.ส.อ. ๑/๒๑๕/๒๖๔)
C ดู ขุ.เถร. (แปล) ๒๖/๑๒๔๓-๑๒๔๕/๕๓๒

บาลี



ปวารณาสุตฺต
[๗๔๔] เอก สมย ภควา สาวตฺถิย วิหรติ ปุพฺพาราเม
มิคารมาตุปาสาเท มหตา ภิกฺขุสงฺเฆน สทฺธึ ปฺจมตฺเตหิ
ภิกฺขุสเตหิ สพฺเพเหว อรหนฺเตหิ ฯ เตน โข ปน สมเยน ภควา
ตทหุโปสเถ ปณฺณรเส ปวารณาย ภิกฺขุสงฺฆปริวุโต อชฺโฌกาเส
นิสินฺโน โหติ ฯ อถ โข ภควา ตุณฺหีภูต ภิกฺขุสงฺฆ อนุวิโลเกตฺวา
ภิกฺขู อามนฺเตสิ หนฺททานิ ภิกฺขเว ปวารยามิ ๑ โว น จ
เม กิฺจิ ครหถ กายิก วา วาจสิก วาติ ฯ
[๗๔๕] เอว วุตฺเต อายสฺมา สารีปุตฺโต อุฏฺายาสนา เอกส
อุตฺตราสงฺค กริตฺวา เยน ภควา เตนฺชลิมฺปณาเมตฺวา ภควนฺตซ
เอตทโวจ น โข มย ภนฺเต ภควโต กิฺจิ ครหาม กายิก
วา วาจสิก วา ภควา หิ ภนฺเต อนุปฺปนฺนสฺส มคฺคสฺส
อุปฺปาเทตา อสฺชาตสฺส มคฺคสฺส สฺชเนตา อนกฺขาตสฺส มคฺคสฺส
อกฺขาตา มคฺคฺู มคฺควิทู มคฺคโกวิโท มคฺคานุคา จ ภนฺเต
เอตรหิ สาวกา วิหรนฺติ ปจฺฉา สมนฺนาคตา อหฺจ โข ภนฺเต
ภควนฺต ปวาเรมิ น จ เม ภควา กิฺจิ ครหติ กายิก วา
วาจสิก วาติ ฯ น ขฺวาห เต สารีปุตฺต กิฺจิ ครหามิ กายิก
วา วาจสิก วา ปณฺฑิโต ตฺว สารีปุตฺต มหาปฺโ ตฺว
สารีปุตฺต ปุถุปฺโ ตฺว สารีปุตฺต หาสปฺโ ตฺว สารีปุตฺต
ชวนปฺโ ตฺว สารีปุตฺต ติกฺขปฺโ ตฺว สารีปุตฺต นิพฺเพธิกปฺโ
ตฺว สารีปุตฺต เสยฺยถาปิ สารีปุตฺต รฺโ จกฺกวตฺติสฺส
เชฏฺปุตฺโต ปิตรา ปวตฺติต จกฺก สมฺมเทว อนุปวตฺเตติ เอวเมว
โข ตฺว สารีปุตฺต มยา อนุตฺตร ธมฺมจกฺก ปวตฺติต สมฺมเทว
อนุปวตฺเตสีติ ฯ โน เจ กิร เม ภนฺเต ภควา กิฺจิ ครหติ
กายิก วา วาจสิก วา อิเมส ปน ภนฺเต ภควา ปฺจนฺน
ภิกฺขุสตาน น กิฺจิ ครหติ กายิก วา วาจสิก วาติ ฯ อิเมสปิ
ขฺวาห สารีปุตฺต ปฺจนฺน ภิกฺขุสตาน น กิฺจิ ครหามิ กายิก
วา วาจสิก วา อิเมส หิ สารีปุตฺต ปฺจนฺน ภิกฺขุสตาน สฏฺี
ภิกฺขู เตวิชฺชา สฏฺี ภิกฺขู ฉฬภิฺา สฏฺี ภิกฺขู อุภโตภาควิมุตฺตา
อถ อิตเร ปฺาวิมุตฺตาติ ฯ อถ โข อายสฺมา วงฺคีโส
อุฏฺายาสนา เอกส อุตฺตราสงฺค กริตฺวา เยน ภควา
เตนฺชลิมฺปณาเมตฺวา ภควนฺต เอตทโวจ ปฏิภาติ ม ภควา ปฏิภาติ
ม สุคตาติ ฯ ปฏิภาตุ ต วงฺคีสาติ ภควา อโวจ ฯ
[๗๔๖] อถ โข อายสฺมา วงฺคีโส ภควนฺต สมฺมุชา สรูปาหิ
คาถาหิ อภิตฺถวิ
อชฺช ปณฺณรเส วิสุทฺธิยา
ภิกฺขุปฺจสตา สมาคตา
สฺโชนพนฺธนจฺฉิทา
อนีฆา ขีณปุนพฺภวา อิสี.
จกฺกวตฺติ ยถา ราชา อมจฺจปริวาริโต
สมนฺตา อนุปริเยติ สาครนฺต มหึ อิม
เอว วิชิตสงฺคาม สตฺถวาห อนุตฺตร
สาวกา ปยิรุปาสนฺติ เตวิชฺชา มจฺจุหายิโน
สพฺเพ ภควโต ปุตฺตา ปลาเปตฺถ น วิชฺชติ
ตณฺหาสลฺลสฺส หนฺตาร วนฺเท อาทิจฺจพนฺธุนนฺติ ฯ

******************

๑ ม. ปวาเรมิ ฯ

อรรถกถา


อรรถกถาปวารณาสูตร
ในปวารณาสูตรที่ ๗ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ตทหุ ตัดเป็น ตสฺมึ อหุ ความว่า ในวันนั้น. ชื่อว่า
อุโบสถ เพราะเป็นที่เข้าจำ. บทว่า อุปวสนฺติ ความว่า เป็นผู้เข้า
จำอยู่ด้วยศีล หรือด้วยอดข้าว. ก็วันอุโบสถนี้นั้น มี ๓ อย่างโดยแยกเป็นวัน
๘ ค่ำ วัน ๑๔ ค่ำ และวัน ๑๕ ค่ำ เพราะฉะนั้น เพื่อจะห้ามวันทั้ง ๒ ที่เหลือ
จึงกล่าวว่า ปณฺณรเส. บทว่า ปวารณาย ได้แก่ ออกพรรษาปวารณาแล้ว.
แม้คำว่า วิสุทฺธิปวารณา ดังนี้ ก็เป็นขอของปวารณานั้น. บทว่า นิสินฺโน
โหติ ความว่า ในเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมอันสมควร
แก่กาล แก่บริษัทผู้มาประชุมกัน ทรงสรงพระวรกายที่ซุ้มน้ำ ทรงนุ่งห่ม ทำ
สุคตมหาจีวรเฉวียงบ่า ประทับนั่งชมสิริแห่งมณฑลพระจันทร์ ที่ตั้งขึ้นใน
ปุริมทิศ บนบวรพุทธอาสน์ที่เขาจัดไว้ อิงเสากลาง. บทว่า ตุณฺหีภูตํ ความว่า
เป็นผู้นิ่งแต่ทิศที่ทรงแลดู. ในหมู่ภิกษุเหล่านั้น แม้รูปเดียวก็มิได้มีความคะนอง
มือคะนองเท้า ทั้งหมดเงียบเสียงนั่งด้วยอิริยาบถสงบ. บทว่า อนุวิโลเกตฺวา
ความว่า ทรงใช้พระเนตรที่มีประสาททั้ง ๕ ปรากฏชำเลืองดู. ศัพท์ว่า
หนฺท เป็นนิบาต ลงในอรรถแห่งอุปสรรค. น อักษรในคำว่า น จ เม
กิญฺจิ ครหถ นี้ ใช้ในอรรถแห่งคำถามว่า น จ กิญฺจิ ดังนี้. อธิบายว่า
พวกเธอจะติเตียนอะไร ๆ เราหรือ ถ้าพวกเธอจะติเตียนว่ากล่าว เราต้องการ
ให้พวกเธอว่ากล่าว. ด้วยคำว่า กายิกํ วา วาจสิกํ วา นี้ พระองค์ปวารณา
กายทวารและวจีทวารเท่านั้น มิได้ปวารณาถึงมโนทวาร. เพราะเหตุไร. เพราะ
ปรากฏแล้ว. จริงอยู่ ในกายทวารและวจีทวารมีความผิดปรากฏ ในมโนทวาร
มิได้ปรากฏ แม้เมื่อนอนอยู่บนเตียงเดียวกัน ถามว่า เธอคิดอะไร จึงทราบ
วาระจิตได้. พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงปวารณาถึงมโนทวาร เพราะความไม่
ปรากฏด้วยประการฉะนี้ มิใช่ไม่ทรงปวารณาเพราะไม่บริสุทธิ์ . จริงอยู่ มโน-
ทวารของพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้เป็นพระโพธิสัตว์ ในคราวเป็นภูริทัตต์
ฉัททันต์ สังขบาลและธรรมบาลเป็นต้น ก็บริสุทธิ์. บัดนี้ไม่มีคำที่จะต้อง
กล่าวในข้อนี้เลย.
บทว่า เอตทโวจ ความว่า เพราะเธอดำรงอยู่ในตำแหน่งพระธรรม-
เสนาบดี เธอรับหน้าที่ปกครองภิกษุสงฆ์ จึงได้กราบทูลอย่างนี้ บทว่า
น โข มยํ ภนฺเต ความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์
ไม่ติเตียนอะไร ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้า. บทว่า กายิกํ วา วาจสิกํ วา นี้
พระเถระกล่าวหมายเอาความบริสุทธิ์ ๔ อย่าง มีกายสมาจารที่บริสุทธิ์เป็นต้น
ที่ไม่ต้องรักษา. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้ามิต้องทรงรักษาความบริสุทธิ์
๔ อย่าง. ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความบริสุทธิ์ที่ตถาคต
ไม่ต้องรักษา ๔ อย่างเหล่านี้ ๔ อย่างอะไรบ้าง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคต
มีกายสมาจารบริสุทธิ์ ตถาคตไม่มีกายทุจริตที่จะพึงรักษาว่า ผู้อื่นอย่าได้รู้
สิ่งนี้ของเราเลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตมีวจีสมาจารบริสุทธิ์ตถาคตไม่มี
วจีทุจริตที่จะพึงรักษาว่า ผู้อื่นอย่าได้รู้สิ่งนี้ของเราเลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ตถาคตมีมโนสมาจารบริสุทธิ์ ตถาคตไม่มีมโนทุจริตที่จะพึงรักษาว่า ผู้อื่น
อย่าได้รู้สิ่งนี้ของเราเลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตมีอาชีวะบริสุทธิ์ ตถาคต
ไม่มีมิจฉาชีวะที่จะพึงรักษาว่า ผู้อื่นอย่าได้รู้สิ่งนี้ของเราเลย ดังนี้.
บัดนี้ พระเถระเมื่อสรรเสริญพระคุณตามเป็นจริงของพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า ภควา หิ ภนฺเต ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า อนุปฺปนฺนสฺส ความว่า อันสมณะอื่นไม่เคยให้เกิดขึ้น ตั้งแต่
พระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า. บทว่า อสญฺชาตสฺส นี้ เป็นไวพจน์ของ
บทว่า อนุปฺปนฺนสฺส นั่นเอง. บทว่า อนกฺขาตสฺส ได้แก่คนอื่นมิได้
แสดง. บทว่า ปจฺฉา สมนฺนาคตา ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จ
ไปก่อนแล้ว พระสาวกมาประชุมกันภายหลัง. ดังนั้น พระเถระอาศัยพระอรหัต-
มรรคนั่นแล สรรเสริญพระคุณ เพราะเหตุที่พระคุณทั้งหลายมีศีลเป็นต้น
ของพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหมดเมาแล้ว เพราะอาศัยพระอรหัตมรรคเท่านั้น. ด้วย
เหตุนั้น พระคุณทั้งปวงย่อมเป็นอันท่านกล่าวแล้วแล. คำว่า อหญฺจ โข ภนฺเต
นี้ พระเถระกล่าวปวารณาสมาจารทางกาย ทางวาจาทั้งของตนทั้งของสงฆ์
ต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นอัครบุคคลในโลกพร้อมทั้งเทวโลก.
บทว่า ปิตรา ปวตฺติตํ ความว่า เมื่อพระเจ้าจักรพรรดิสวรรคต
หรือทรงผนวชล่วงไป ๗ วัน จักรย่อมอันตรธาน ต่อจากนั้น เมื่อพระโอรส
ทรงนั่งบำเพ็ญจักรวัตติวัตรสิบอย่างหรือสิบสองอย่าง จักรอื่นย่อมปรากฏ
พระโอรสนั้นทรงให้จักรนั้นเป็นไป แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำจักรนั้นแหละ
ให้เป็นวัตรเพราะมีอรรถอย่างเดียวกัน เหตุสำเร็จด้วยรัตนะ. ตรัสว่า ปิตรา
ปวตฺติตํ ดังนี้. อีกอย่างหนึ่ง เพราะเหตุที่พระโอรสนั้นตรัสว่า ขอพระองค์
จงเป็นผู้ขวนขวายน้อยเถิด ข้าพระองค์จักปกครอง ดังนี้ ฉะนั้น จึงชื่อว่า
ย่อมปกครองอาณาจักรที่พระบิดาปกครอง. บทว่า สมฺมเทว อนุปวตฺเตสิ
ความว่า จงให้เป็นไปตามโดยชอบ คือโดยนัย โดยเหตุ โดยการณะนั่นแล.
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสธรรมคือ อริยสัจ ๔ พระเถระก็กล่าวตามธรรมคือ
อริยสัจ ๔ นั้นนั่นแหละ. เหตุนั้น จึงตรัสอย่างนี้. บทว่า อุภโตภาควิมุตฺตา
ความว่า พ้นด้วยส่วนทั้ง ๒ คือพ้นจากรูปกายด้วยอรูปาวจรสมาบัติ พ้นจาก
นามกายด้วยอริยมรรค. บทว่า ปญฺาวิมุตฺตา ได้แก่หลุดพ้นด้วยปัญญา.
คือ เป็นพระขีณาสพผู้ยังมิได้วิชชา ๓ เป็นต้น.
บทว่า วิสุทฺธิยา ได้แก่ เพื่อต้องการความบริสุทธิ์. บทว่า
สญฺโชนพนฺธนจฺฉิทา ได้แก่ ตัดกิเลส กล่าวคือเครื่องประกอบ และกิเลส
กล่าวคือเครื่องผูกได้. บทว่า วิชิตสงฺคามํ ได้แก่ ชนะสงความคือ ราคะ
โทสะ โมหะ. แม้ชนะกองทัพมาร ก็ชื่อว่าชนะสงความ บทว่า สตฺถวาหํ
ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่า สัตถวาหะ เป็นผู้นำหมู่ เพราะทรง
นำหมู่เวไนยสัตว์ ยกขึ้นบนรถคือมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ให้ข้ามสังสารวัฏ.
ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้นำหมู่นั้น. บทว่า ปลาโป ได้แก่ภายในว่างเปล่า คือ
ทุศีล. ด้วยบทว่า อาทิจฺจพนฺธุนํ นี้ ท่านพระวังคีสะกล่าวว่า ข้าพระองค์
ขอถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ เป็นศาสดาผู้ทรง
ทศพลญาณ ดังนี้.
จบอรรถกถาปวารณาสูตรที่ ๗

สนทนาธรรม

comments

Got anything to say? Go ahead and leave a comment!