15-212 พระอานนท์
พระไตรปิฎก
๔. อานันทสูตร
ว่าด้วยพระอานนท์
[๗๓๕] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้นเวลาเช้า ท่านพระอานนท์ครองอันตรวาสก
ถือบาตรและจีวร เข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี มีท่านพระวังคีสะเป็นปัจฉาสมณะ
สมัยนั้น ท่านพระวังคีสะเกิดความไม่ยินดี ความกำหนัดรบกวนจิต
[๗๓๖] ครั้งนั้น ท่านพระวังคีสะได้กล่าวกับท่านพระอานนท์ด้วยคาถาว่า
ท่านผู้เป็นสาวกของพระโคดม กระผมถูกกามราคะแผดเผา
จิตของกระผมเร่าร้อน ดังกระผมจะขอโอกาส ขอท่านโปรดอนุเคราะห์
ช่วยบอกเหตุที่ดับราคะให้ด้วย
[๗๓๗] ท่านพระอานนท์กล่าวว่า
จิตของท่านเร่าร้อน เพราะความสำคัญผิด
ท่านจงละทิ้งนิมิตว่างาม ซึ่งประกอบด้วยราคะ
ท่านจงดูสังขารทั้งหลาย โดยความเป็นของแปรผัน
โดยความเป็นทุกข์ และอย่าดูโดยความเป็นอัตตา
จงดับราคะแรงกล้า อย่าถูกราคะเผาผลาญบ่อย ๆ เลย
ท่านจงอบรมจิต ให้มีอารมณ์เดียว
ให้ตั้งมั่นดี ด้วยการพิจารณาเห็นว่าไม่งาม
จงอบรมกายคตาสติ และจงเป็นผู้เบื่อหน่ายให้มาก
ท่านจงอบรมความไม่มีนิมิต และจงถอนมานานุสัย
จากนั้น ท่านจักเป็นผู้สงบ เที่ยวไป เพราะละมานะได้ A
อานันทสูตรที่ ๔ จบ
เชิงอรรถ
A ดู ขุ.เถร. (แปล) ๒๖/๑๒๓๒-๑๒๓๕/๕๔๐
บาลี
อานนฺทสุตฺต
[๗๓๕] เอก สมย อายสฺมา อานนฺโท สาวตฺถิย วิหรติ เชตวเน
อนาถปิณฺฑิกสฺส อาราเม ฯ อถ โข อายสฺมา อานนฺโท ปุพฺพณฺหสมย
นิวาเสตฺวา ปตฺตจีวรมาทาย สาวตฺถิย ปิณฺฑาย ปาวิสิ
อายสฺมตา วงฺคีเสน ปจฺฉาสมเณน ฯ เตน โข ปน สมเยน
อายสฺมโต วงฺคีสสฺส อนภิรติ อุปฺปนฺนา โหติ ราโค จิตฺต
อนุทฺธเสติ ฯ
[๗๓๖] อถ โข อายสฺมา วงฺคีโส อายสฺมนฺต อานนฺท คาถาย
อชฺฌภาสิ
กามราเคน ฑยฺหามิ จิตฺต เม ปริฑยฺหติ
สาธุ นิพฺพาปน พฺรูหิ อนุกมฺปาย โคตมาติ ฯ
[๗๓๗] สฺาย วิปริเยสา จิตฺตนฺเต ปริฑยฺหติ
นิมิตฺต ปริวชฺเชหิ สุภ ราคูปสฺหิต
สงฺขาเร ปรโต ปสฺส ทุกฺขโต มา จ อตฺตโต
นิพฺพาเปหิ มหาราค มา ฑยฺหิตฺโถ ปุนปฺปุน
อสุภาย จิตฺต ภาเวหิ เอกคฺค สุสมาหิต
สติ กายคตา ตฺยตฺถุ นิพฺพิทาพหุโล ภว
อนิมิตฺตฺจ ภาเวหิ มานานุสยมุชฺชห
ตโต มานาภิสมยา อุปสนฺโต จริสฺสสีติ ฯ
อรรถกถา
อรรถกถาอานันทสูตร
ในอานันทสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ราโค เป็นต้น ความว่า ท่านพระอานนท์เป็นผู้มีปัญญามาก
อบรมตนดีแล้ว พระราชาและมหาอำมาตย์ของพระราชานิมนต์ท่านให้นั่ง
ภายในนิเวศน์. พวกสตรีประดับด้วยเครื่องประดับทั้งปวง เข้าไปหาพระเถระ
ไหว้แล้วพัดด้วยพัดใบตาล. เข้าไปนั่งถามปัญหา ฟังธรรม. ในที่นั้น
เมื่อท่านพระวังคีสะ บวชใหม่ ไม่อาจที่จะกำหนดอารมณ์ได้ ความกำหนัด
ในรูปารมณ์คือสตรีรบกวนจิต. เพราะบวชด้วยศรัทธา ท่านจึงเป็นคนตรง
คิดว่า ความกำหนัดของเรานี้กำเริบมากขึ้น พึงทำประโยชน์ปัจจุบันและ
ประโยชน์ภายหน้าให้เสียไป. นั่งอยู่ถัดกันนั่นแหละ เมื่อจะเปิดเผยตนแก่
พระเถระ จึงได้กล่าวคำเป็นต้นว่า กามราเคน ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิพฺพาปนํ ได้แก่เหตุดับราคะ. บทว่า
วิปริเยสา ได้แก่โดยคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง. บทว่า ราคูปสญฺหิตํ
ได้แก่อิฏฐารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งราคะ. บทว่า ปรโต ปสฺส ความว่า จงเห็น
โดยความเป็นของไม่เทียง. บทว่า มา จ อตฺตโต ความว่า จงอย่าเห็น
โดยความเป็นอัตตา. บทว่า กายคตา ตฺยตฺถุ ความว่า ท่านจงมีสติไปใน
กาย. บทว่า อนิมิตฺตญฺจ ภาเวหิ ความว่า เพราะท่านเพิกนิจจนิมิตมีเที่ยง
เป็นต้นเสียได้ วิปัสสนาจึงชื่อว่าหานิมิตมิได้. พระอานนทเถระกล่าวกะท่าน
พระวังคีสะนั้นว่า ภาเวทิ ท่านจงเจริญ ดังนี้. บทว่า มานาภิสมยา
ได้แก่ เพราะรู้ด้วยการเห็นมานะอย่างหนึ่ง เพราะรู้ด้วยการละอย่างหนึ่ง.
บทว่า อุปลนฺโต ได้แก่ ชื่อว่าเป็นผู้สงบเพราะราคะเป็นต้นสงบ.
จบอรรถกถาอานันทสูตรที่ ๔