15-204 คนหาฟืน
พระไตรปิฎก
๘. กัฏฐหารสูตร
ว่าด้วยคนหาฟืน
[๗๐๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ราวป่าแห่งหนึ่ง แคว้น
โกศล สมัยนั้น มาณพหลายคนซึ่งเป็นศิษย์ของพราหมณ์ภารทวาชโคตรคนหนึ่ง
เป็นคนหาฟืน พากันเข้าไปยังราวป่านั้นแล้วได้เห็นพระผู้มีพระภาคประทับนั่งคู้บัลลังก์
ตั้งพระกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า อยู่ในราวป่านั้น จึงเข้าไปหาพราหมณ์-
ภารทวาชโคตรถึงที่อยู่ ได้กล่าวกับพราหมณ์ภารทวาชโคตรดังนี้ว่า “ขอท่าน
พึงทราบ พระสมณโคดมประทับนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งพระกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า
อยู่ในราวป่า”
[๗๑๐] ลำดับนั้น พราหมณ์ภารทวาชโคตรพร้อมด้วยมาณพเหล่านั้นเข้าไปยังราวป่า
นั้นแล้ว ได้เห็นพระผู้มีพระภาคประทับนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งพระกายตรง ดำรงสติไว้
เฉพาะหน้าเช่นนั้นจริง จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้วได้กราบทูลด้วย
คาถาว่า
ภิกษุ ท่านเข้าไปสู่ป่าที่ว่างเปล่าปราศจากคน
ในป่าหนาทึบน่าหวาดเสียวนัก มีกายไม่ไหวหวั่น
มีประโยชน์อันงาม เพ่งพินิจอย่างดีหนอ
ท่านเป็นมุนีอาศัยป่า อยู่ในป่าแต่ผู้เดียว
ซึ่งไม่มีเสียงขับร้อง และเสียงบรรเลง
การที่ท่านมีใจยินดี อยู่ในป่าแต่ผู้เดียวนี้
ปรากฏเป็นข้อน่าอัศจรรย์แก่ข้าพเจ้า
ข้าพเจ้าปรารถนาไตรทิพย์อันยอดเยี่ยม A
จึงอยากเป็นสหายกับท้าวมหาพรหมผู้เป็นอธิบดีของโลก
เหตุไรท่านจึงชอบใจป่าที่ปราศจากคน
ท่านทำความเพียรอยู่ที่นี้เพื่อจะบังเกิดเป็นพรหมหรือ
[๗๑๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ความมุ่งหวัง B หรือความเพลิดเพลินอย่างใดอย่างหนึ่ง
ในอารมณ์หลายชนิดซึ่งมีอยู่ประจำทุกเมื่อนานาประการ
หรือตัณหาอันเป็นเหตุให้กระชับแน่นทั้งปวงนั้น
ซึ่งมีความไม่รู้เป็นมูลรากก่อให้เกิดต่อ ๆ ไป
เราทำให้สิ้นสุดพร้อมทั้งรากแล้ว
เรานั้นจึงไม่มีความมุ่งหวัง ไม่มีตัณหาอาศัย
ไม่มีตัณหาเข้ามาใกล้ มีปกติเห็นหมดจดในธรรมทั้งปวง
บรรลุสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยม C ประเสริฐสุดแล้ว
เราจึงควรแก่ความเป็นพรหม แกล้วกล้า เพ่งพินิจอยู่ D
[๗๑๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พราหมณ์ภารทวาชโคตรได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจน
ไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก
ฯลฯ ขอพระโคดมผู้เจริญโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่
วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
กัฏฐหารสูตรที่ ๘ จบ
เชิงอรรถ
A ไตรทิพย์อันยอดเยี่ยม หมายถึงพรหมโลก (สํ.ส.อ. ๑/๒๐๔/๒๕๒)
B ความมุ่งหวัง ในที่นี้หมายถึงตัณหา (สํ.ส.อ. ๑/๒๐๔/๒๕๒)
C สัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยม ในที่นี้หมายถึงพระอรหัต (สํ.ส.อ. ๑/๒๐๔/๒๕๓)
D เพ่งพินิจอยู่ ในที่นี้หมายถึงเพ่งพินิจอยู่ด้วยฌาน ๒ อย่าง คือ (๑) รูปฌาน (๒) อรูปฌาน (สํ.ส.อ.
๑/ ๒๐๔/๒๕๓)
บาลี
กฏฺหารสุตฺต
[๗๐๙] เอก สมย ภควา โกสเลสุ วิหรติ อฺตรสฺมึ
วนสณฺเฑ ฯ เตน โข ปน สมเยน อฺตรสฺส ภารทฺวาชโคตฺตสฺส
พฺราหฺมณสฺส สมฺพหุลา อนฺเตวาสิกา กฏฺหารกา มาณวกา เยน โส
วนสณฺโฑ เตนุปสงฺกมึสุ อุปสงฺกมิตฺวา อทฺทสสุ ภควนฺต ตสฺมึ
วนสณฺเฑ นิสินฺน ปลฺลงฺก อาภุชิตฺวา อุชุ กาย ปณิธาย ปริมุข
สตึ อุปฏฺเปตฺวา ทิสฺวาน เยน ภารทฺวาชโคตฺโต พฺราหฺมโณ
เตนุปสงฺกมึสุ อุปสงฺกมิตฺวา ภารทฺวาชโคตฺต พฺราหฺมณ เอตทโวจุ
ยคฺเฆ ภว ชาเนยฺย อสุกสฺมึ วนสณฺเฑ สมโณ โคตโม นิสินฺโน
ปลฺลงฺก อาภุชิตฺวา อุชุ กาย ปณิธาย ปริมุข สตึ อุปฏฺเปตฺวาติ ฯ
[๗๑๐] อถ โข ภารทฺวาชโคตฺโต พฺราหฺมโณ เตหิ มาณวเกหิ
สทฺธึ เยน โส วนสณฺโฑ เตนุปสงฺกมิ อุปสงฺกมิตฺวา อทฺทส ๑
ภควนฺต ตสฺมึ วนสณฺเฑ นิสินฺน ปลฺลงฺก อาภุชิตฺวา อุชุ กาย
ปณิธาย ปริมุข สตึ อุปฏฺเปตฺวา ทิสฺวาน เยน ภควา
เตนุปสงฺกมิ อุปสงฺกมิตฺวา ภควนฺต คาถาย อชฺฌภาสิ
คมฺภีรรูเป พหุเภรเว วเน
สฺุ อรฺ วิชน วิคาหิย
อนิฺชมาเนน หิเตน วคฺคุนา
สุจารุรูป วต ภิกฺขุ ฌายสิ
น ยตฺถ คีต นปิ ยตฺถ วาทิต
เอโก อรฺเ วนวสฺสิโต มุนิ
อจฺเฉรรูป ปฏิภาติ ม อิท
ยเทกโก ปีติมโน วเน วเส
มฺามห โลกาธิปติสหพฺยต
อากงฺขมาโน ติทิว อนุตฺตร
กสฺมา ภว วิชนมรฺมสฺสิโต
ตโป อิธ กุพฺพติ ๒ พฺรหฺมปตฺติยาติ ฯ
[๗๑๑] ยากาจิ กงฺขา อภินนฺทนา วา
อเนกธาตูสุ ปุถู สทา สิตา
อฺาณมูลปฺปภวา ปชปฺปิตา
สพฺพา มยา พฺยนฺตีกตา สมูลิกา
สฺวาห อกงฺโข อสิโต อนุปโย
สพฺเพสุ ธมฺเมสุ วิสุทฺธทสฺสโน
ปปฺปุยฺย สมฺโพธิมนุตฺตร สิว
ฌายามห พฺรหฺมรโห วิสารโหติ ฯ
[๗๑๒] เอว วุตฺเต ภารทฺวาชโคตฺโต พฺราหฺมโณ ภควนฺต
เอตทโวจ อภิกฺกนฺต โภ โคตม อภิกฺกนฺต โภ โคตม ฯเปฯ
อชฺชตคฺเค ปาณุเปต สรณงฺคตนฺติ ฯ
******************
๑ ม. ยุ. อทฺทสา โข ฯ ๒ โป. ม. ยุ. กุพฺพสิ ฯ
อรรถกถา
อรรถกถากัฏฐหารสูตร
ในกัฏฐหารสูตรที่ ๘ วินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อนฺเตวาสิกา ได้แก่ มีผู้ทำการขวนขวายเล่าเรียนศิลปะ ซึ่ง
ว่า ธัมมันเตวาสิก. บทว่า นิสินฺนํ ได้แก่ ประทับนั่งเปล่งพระรัศมีมีวรรณะ
๖. บทว่า คมฺภีรรูเป ได้แก่ มีสภาพลึก.
บทว่า พหุเภรเว ได้แก่อันน่าสะพึงกลัวมาก เพราะสิ่งที่มีวิญญาณ
และไม่มีวิญญาณที่น่าสะพึงกลัวซึ่งอยู่ในที่นั้น. บทว่า วิคาหิย ไดแก่ เข้า
ไปแล้วโดยลำดับ. บทว่า อนิญฺชมาเนน เป็นต้นเป็นกายพิเศษ. อธิบาย
ว่าด้วยทั้งกายเห็นปานนี้. ด้วยคำว่า สุจารุรูปํ วต ท่านกล่าวว่า ท่านแห่ง
ฌานดียิ่งหนอ.
บทว่า วนวสฺสิโต มุนิ ได้แก่ พระมุนีคือพระพุทธเจ้าทรงอาศัย
ป่า. บทว่า อิทํ ความว่า เหตุที่ท่านนั่งในป่าอย่างนี้นี่ ย่อมปรากฏเป็นสิ่งที่
น่าอัศจรรย์แก่ข้าพเจ้า. บทว่า ปีติมโน ได้แก่ ผู้มีจิตยินดี. บทว่า วเน วเส
ได้แก่ อยู่ในป่า.
บทว่า มญฺามหํ ความว่าข้าพเจ้า ย่อมสำคัญ บทว่า โลกาธิปติ-
สหพฺยตํ ได้แก่ ความเป็นสหายของท้าวมหาพรหมผู้เป็นใหญ่ในโลก. บทว่า
อากงฺขมาโน แปลว่า ปรารถนาอยู่. คำว่า ติวิธํ อนุตฺตรํ นี้ ท่านกล่าว
หมายพรหมโลกนั้นแหละ. บทว่า กสฺมา ภวํ วิชนมรญฺมสฺสิโต ความ
ว่า ถ้าไม่เป็นอย่างนี้ เราเข้าใจว่าท่านหวังพรหมโลกอันดับแรก พราหมณ์
ถามว่า เมื่อเป็นอย่างนี้ ท่านจงบอกแก่เรา เหตุไร ท่านจึงชอบอยู่ป่า. บทว่า
พฺรหฺมปตฺติยา แปลว่า เพื่อถึงความเป็นผู้ประเสริฐในที่นี้ ข้อนี้ พราหมณ์
ถามโดยอาการอื่นอีกว่า เพราะเหตุไร ท่านจึงทำความเพียร.
บทว่า กงฺขา ได้แก่ตัณหา. ด้วยบทว่า อภินนฺทนา นี้ แม้ตัณหา
ท่านก็เรียกว่า อภินันทนา. บทว่า อเนกธาตูสุ ได้แก่ ในอารมณ์ทั้งหลาย
มีสภาวะมากมาย. บทว่า ปุถู ได้แก่ ตัณหาหรือกิเลสที่เหลือมีประการต่างๆ
บทว่า สทา สิตา ได้แก่ อยู่ในอำนาจตลอดกาลเป็นนิตย์. บทว่า อาณ-
มูลปฺปภวา ได้แก่ ตัณหาเป็นธรรมชาติมีอวิชชาเป็นมูลราก. ด้วยบทว่า
ปชปฺปิติ นี้ ก็ตัณหาท่านเรียกว่า ปชัปปิตา โดยเป็นเหตุให้กระซิบว่า
แม้นี้เป็นของเรา แม้นี้ เป็นของเรา. บทว่า สพฺพา มยา พยนฺตีกตา ความ
ว่าตัณหาทั้งหมดอันเราทำให้สิ้นสุดคือหมดที่สุดแล้วด้วยอรหัตมรรค. บทว่า
สมูลิกา ได้แก่ พร้อมด้วยสิ่งที่มีอวิชชาเป็นมูล.
บทว่า อนุปโย ได้แก่ไม่มีตัณหาเข้าไปใกล้. ด้วยบทว่า สพฺเพสุ
ธมฺเมสุ วิสุทฺธทสฺสโน นี้ ทรงแสดงถึงพระสัพพัญญุตญาณ. ด้วยบทว่า
สมฺโพธิมนุตฺตรํ ตรัสหมายเอาพระอรหัต. บทว่า สิวํ ได้แก่ ประเสริฐ
สุด. บทว่า ฌายามิ ความว่า เราย่อมเพ่งด้วยฌาน ๒. บทว่า วิสารโท
ได้แก่ ปราศจากความกำหนัด.
จบอรรถกถากัฏฐหารสูตรที่ ๘