15-202 ปัจจนีกสาตพราหมณ์
พระไตรปิฎก
๖. ปัจจนีกสูตร
ว่าด้วยปัจจนีกสาตพราหมณ์
[๗๐๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น พราหมณ์ชื่อปัจจนีกสาตะ พำนัก
อยู่ในกรุงสาวัตถี ได้มีความคิดดังนี้ว่า “ทางที่ดีเราพึงเข้าไปเฝ้าพระสมณโคดมถึงที่
ประทับเถิด พระสมณโคดมจักตรัสคำใด ๆ เราก็จักคัดค้านคำนั้น ๆ”
[๗๐๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จจงกรมอยู่ในที่กลางแจ้ง ลำดับนั้น ปัจจนีกสาต-
พราหมณ์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ เดินตามพระผู้มีพระภาคซึ่งกำลัง
เสด็จจงกรมอยู่ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ขอพระองค์จงตรัสสมณธรรมเถิด”
[๗๐๓] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ผู้ตั้งใจจะคัดค้าน มีจิตเศร้าหมอง
มากไปด้วยความแข่งดี จะไม่รู้ชัดคำสุภาษิต
ส่วนบุคคลใดกำจัดความแข่งดี ความไม่มีจิตเลื่อมใส
และถอนความอาฆาตออกแล้วฟังอยู่
บุคคลนั้นจึงจะรู้คำสุภาษิตได้
[๗๐๔] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ปัจจนีกสาตพราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก
ฯลฯ ขอพระโคดมผู้เจริญโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้
เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
ปัจจนีกสูตรที่ ๖ จบ
บาลี
ปจฺจนิกสุตฺต
[๗๐๑] เอก สมย ภควา สาวตฺถิย วิหรติ เชตวเน อนาถปิณฺฑิกสฺส
อาราเม ฯ เตน โข ปน สมเยน ปจฺจนิกสาโต
นาม พฺราหฺมโณ สาวตฺถิย ปฏิวสติ ฯ อถ โข ปจฺจนิกสาตสฺส
พฺราหฺมณสฺส เอตทโหสิ ยนฺนูนาห เยน สมโณ โคตโม
เตนุปสงฺกเมยฺย ย ยเทว สมโณ โคตโม ภาสิสฺสติ ต ตเทวสฺสาห
ปจฺจนิกาสฺสนฺติ ฯ
[๗๐๒] เตน โข ปน สมเยน ภควา อชฺโฌกาเส จงฺกมติ ฯ
อถ โข ปจฺจนิกสาโต พฺราหฺมโณ เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ
อุปสงฺกมิตฺวา ภควนฺต จงฺกมนฺต อนุจงฺกมมาโน ภควนฺต เอตทโวจ
ภณ สมณ ธมฺมนฺติ ฯ
[๗๐๓] น ปจฺจนิกสาเตน สุวิชาน สุภาสิต
อุปกฺกิลิฏฺจิตฺเตน สารมฺภ พหุเตน ๑ จ
โย จ วิเนยฺย สารมฺภ อปฺปสาทฺจ เจตโส
อาฆาต ปฏินิสฺสชฺช สเจ ๒ ชฺา สุภาสิตนฺติ ฯ
[๗๐๔] เอว วุตฺเต ปจฺจนิกสาโต พฺราหฺมโณ ภควนฺต เอตทโวจ
อภิกฺกนฺต โภ โคตม อภิกฺกนฺต โภ โคตม ฯเปฯ อุปาสก ม
ภว โคตโม ธาเรตุ อชฺชตคฺเค ปาณุเปต สรณงฺคตนฺติ ฯ
******************
๑ โป. ม. ยุ. พหุเลน ฯ ๒ ม. ยุ. สเว ฯ
อรรถกถา
อรรถกถาปัจจนิกสูตร
ในปัจจนิกสูตรที่ ๖ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
เมื่อเขากล่าวว่า สิ่งทั้งปวงขาว พราหมณ์นั้นก็ทำการขัดแย้ง โดยนัย
เป็นต้นว่าสิ่งทั้งปวงดำ ย่อมมีความสำราญ คือมีความสุข เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
ปจฺจนิกสาโต. บทว่า โย จ วิเนยฺย สารมฺภํ ความว่า ผู้ใดกำจัด
ความแข่งดีมีลักษณะทำให้เกิดหน้ากันแล้วฟัง.
จบอรรถกถาปัจจนิกสูตรที่ ๖