15-203 นวกัมมิกภารทวาชพราหมณ์



พระไตรปิฎก


๗. นวกัมมิกสูตร
ว่าด้วยนวกัมมิกภารทวาชพราหมณ์
[๗๐๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ราวป่าแห่งหนึ่ง แคว้น
โกศล สมัยนั้น นวกัมมิกภารทวาชพราหมณ์ให้คนทำงานอยู่ในราวป่านั้น เขาได้เห็น
พระผู้มีพระภาคซึ่งประทับนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งพระกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า
ที่โคนไม้สาละแห่งหนึ่ง ได้มีความคิดดังนี้ว่า “เราให้คนทำงานอยู่ในราวป่าจึงยินดี
ส่วนพระสมณะนี้ให้คนทำอะไรอยู่จึงยินดี”
[๗๐๖] ลำดับนั้น นวกัมมิกภารทวาชพราหมณ์จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
ภิกษุ ท่านทำงานอะไร จึงอยู่ในป่าไม้สาละ
พระโคดมอยู่ในป่าแต่ผู้เดียว ได้ความยินดีอะไรหรือ
[๗๐๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
เราไม่ได้ทำงานอะไรในป่าหรอก
ป่าคือกิเลสอันเป็นข้าศึกถูกเราถอนรากเหง้าหมดแล้ว
เราไม่มีป่าคือกิเลส ปราศจากลูกศรคือกิเลส
ละความไม่ยินดี ยินดีอยู่ในป่าแต่ผู้เดียว
[๗๐๘] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว นวกัมมิกภารทวาชพราหมณ์ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจน
ไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก
ฯลฯ ขอพระโคดมผู้เจริญโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่
วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
นวกัมมิกสูตรที่ ๗ จบ

บาลี



นวกมฺมิกสุตฺต
[๗๐๕] เอก สมย ภควา โกสเลสุ วิหรติ อฺตรสฺมึ
วนสณฺเฑ ฯ เตน โข ปน สมเยน นวกมฺมิกภารทฺวาโช พฺราหฺมโณ
ตสฺมึ วนสณฺเฑ กมฺมนฺต การาเปติ ฯ อทฺทสา โข นวกมฺมิกภารทฺวาโช
พฺราหฺมโณ ภควนฺต อฺตรสฺมึ สาลรุกฺขมูเล นิสินฺน
ปลฺลงฺก อาภุชิตฺวา อุชุ กาย ปณิธาย ปริมุข สตึ อุปฏฺเปตฺวา ฯ
ทิสฺวานสฺส เอตทโหสิ อห โข อิมสฺมึ วนสณฺเฑ กมฺมนฺต
การาเปนฺโต รมามิ อย สมโณปิ ๑ กึ การาเปนฺโต รมตีติ ฯ
[๗๐๖] อถ โข นวกมฺมิกภารทฺวาโช พฺราหฺมโณ เยน ภควา
เตนุปสงฺกมิ อุปสงฺกมิตฺวา ภควนฺต คาถาย อชฺฌภาสิ
เก นุ กมฺมนฺตา กยิรนฺติ ภิกฺขุ สาลวเน ภว
ยเทกโก อรฺสฺมึ รตึ วินฺทติ โคตโมติ ฯ
[๗๐๗] น จ เม วนสฺมึ กรณียมตฺถิ
อุจฺฉินฺนมูล เม วน วิสูก
สฺวาห วเน นิพฺพนโถ วิสลฺโล
เอโก รเม อรตึ วิปฺปหายาติ ฯ
[๗๐๘] เอว วุตฺเต นวกมฺมิกภารทฺวาโช พฺราหฺมโณ ภควนฺต
เอตทโวจ อภิกฺกนฺต โภ โคตม อภิกฺกนฺต โภ โคตม ฯเปฯ
อุปาสก ม ภว โคตโม ธาเรตุ อชฺชตคฺเค ปาณุเปต สรณงฺคตนฺติ ฯ

******************

๑ ม. ยุ. สมโณ โคตโม ฯ

อรรถกถา


อรรถกถานวกัมมิกสูตร
ในนวกัมมิกสูตรที่ ๗ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า นวกมฺมิกภารทฺวาโช ความว่า เล่ากันมาว่าพราหมณ์นั้น
ให้ตัดต้นไม้ในป่าประกอบเป็นปราสาทและเรือนยอดในป่านั้นเอง แล้วนำมา
ขายยังพระนครชื่อว่า นวกัมมิก เพราะอาศัยนวกรรมเลี้ยงชีพดังกล่าวแล้ว
โดยโคตรชื่อว่า ภารทวาชะ เหตุนั้นจึงชื่อว่า นวกัมมิกภารทวาชะ. บทว่า
ทิสฺวานสฺส เอตทโหสิ ความว่า พราหมณ์นั้นได้มีความคิดดังนี้ เพราะ
เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่ง เปล่งพระฉัพพัณณรังสี. บทว่า วนสฺมึ
ได้แก่ในไพรสนฑ์นี้. บทว่า อุจฺฉินฺนมูลํ เม วนํ ความว่า ป่าคือกิเลส
อันเราถอนรากเสียแล้ว. บทว่า นิพฺพนโถ ได้แก่ ปราศจากป่าคือกิเลส.
บทว่า เอโก รเม ได้แก่ เรายินดีแต่ผู้เดียวเท่านั้น. บทว่า อรตึ วิปฺปหาย
ความว่า ละความระอาในการเสพเสนาสนะอันสงัดและการเจริญภาวนา.
จบอรรถกถานวกัมมิกสูตรที่ ๗

สนทนาธรรม

comments

Got anything to say? Go ahead and leave a comment!