15-193 สุทธิกภารทวาชพราหมณ์
พระไตรปิฎก
๗. สุทธิกสูตร
ว่าด้วยสุทธิกภารทวาชพราหมณ์
[๖๔๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น สุทธิกภารทวาชพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
[๖๔๙] ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
พราหมณ์บางคนในโลกแม้เป็นผู้มีศีล
บำเพ็ญตบะอยู่ ก็ยังหมดจดไม่ได้
พราหมณ์ผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะเท่านั้น
จึงจะหมดจดได้
ส่วนหมู่สัตว์อื่นนอกจากนี้จะหมดจดไม่ได้เลย
[๖๕๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
พราหมณ์ ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า
บุคคลถึงจะเป็นพราหมณ์โดยกำเนิด
สาธยายมนตร์เป็นอันมาก แต่เป็นผู้เน่าและสกปรกภายใน
อาศัยการโกหกเลี้ยงชีพ ไม่จัดว่าเป็นพราหมณ์
ส่วนกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คนจัณฑาล
และคนเทขยะ ผู้ปรารภความเพียร อุทิศกายและใจอยู่
มีความบากบั่นอยู่เป็นนิตย์ ย่อมถึงความหมดจดอย่างยิ่งได้
[๖๕๑] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว สุทธิกภารทวาชพราหมณ์ได้กราบทูลดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่พระโคดม
ผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ”
อนึ่ง ท่านพระสุทธิกภารทวาชะได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ในบรรดาพระอรหันต์
ทั้งหลาย
สุทธิกสูตรที่ ๗ จบ
บาลี
สุทฺธิกสุตฺต
[๖๔๘] สาวตฺถีนิทาน ฯ อถ โข สุทฺธิกภารทฺวาโช พฺราหฺมโณ
เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ อุปสงฺกมิตฺวา ภควตา สทฺธึ สมฺโมทิ
สมฺโมทนีย กถ สาราณีย วีติสาเรตฺวา เอกมนฺต นิสีทิ ฯ
[๖๔๙] เอกมนฺต นิสินฺโน โข สุทฺธิกภารทฺวาโช พฺราหฺมโณ
ภควโต สนฺติเก อิม คาถ อภาสิ
น พฺราหฺมโณ สุชฺฌติ โกจิ โลเก สีลวาปิ ตโป กร
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส สุชฺฌติ น อฺา อิตรา ปชาติ ฯ
[๖๕๐] พหุมฺปิ ปลป ชปฺป น ชจฺจา โหติ พฺราหฺมโณ
อนฺโต กสมฺพุสงฺกฺลิฏฺโ ๑ กุหนา ๒ อุปนิสฺสิโต
ขตฺติโย พฺราหฺมโณ เวสฺโส สุทฺโท จณฺฑาลปุกฺกุโส
อารทฺธวิริโย ปหิตตฺโต นิจฺจ ทฬฺหปรกฺกโม
ปปฺโปติ ปรม สุทฺธึ เอว ชานาหิ พฺราหฺมณาติ ฯ
[๖๕๑] เอว วุตฺเต สุทฺธิกภารทฺวาโช พฺราหฺมโณ ภควนฺต
เอตทโวจ อภิกฺกนฺต โภ โคตม อภิกฺกนฺต โภ โคตม ฯเปฯ
อฺตโร จ ปนายสฺมา ภารทฺวาโช อรหต อโหสีติ ฯ
******************
๑ ม. ยุ. กสมฺพุสงฺกิลิฏฺโ ฯ ๒ กุหน ฯ
อรรถกถา
อรรถกถาสุทธิกสูตร
ในสุทธิสูตรที่ ๗ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สุทฺธกภารทฺวาโช ได้แก่ พราหมณ์แม้นี้ก็ชื่อว่าภารทวาชะ
เหมือนกัน แต่เพราะเขาถามปัญหาที่หมดจด พระสังคีติกาจารย์จึงกล่าวอย่าง
นั้น. บทว่า สีลวาปิ ตโป กรํ ความว่าแม้เขาสมบูรณ์ด้วยศีล ก็ยังบำเพ็ญ-
ตบะอยู่ ในบทว่า วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน นี้ บทว่า วิชฺชา ได้แก่เวท ๓.
บทว่า จรณํ ได้แก่ธรรมเนียมของตระกูล. ด้วยคำว่า โส สุชฺฌติ น อญฺา
อิตรา ปชา ท่านกล่าวว่า พราหมณ์นั้นได้วิชชา ๓ ย่อมบริสุทธิ์ แต่หมู่สัตว์
ที่นับว่าไม่มีความรู้ ย่อมไม่บริสุทธิ์. บทว่า พหุมฺปิ ปลปํ ชปฺปํ ความ
ว่า กล่าวถ้อยคำแม้มาก อธิบายว่า กล่าวแม้ตั้งพันคำว่า พราหมณ์เท่านั้น
บริสุทธิ์ . บทว่า ตนฺโตกสมฺพุ ความว่า เป็นผู้เน่าด้วยความเน่าคือกิเลส
ในภายใน. บทว่า สงฺกิลิฏฺโฐ ความว่า ประกอบด้วยกายกรรมเป็นต้นที่
เศร้าหมอง.
จบอรรถกถาสุทธิกสูตรที่ ๗