15-185 เมืองอรุณวดี
พระไตรปิฎก
๔. อรุณวตีสูตร
ว่าด้วยเรื่องเมืองอรุณวดี
[๖๑๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ฯลฯ เขตกรุงสาวัตถี ณ
ที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุ
เหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
[๖๑๔] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย
เรื่องเคยมีมาแล้ว มีพระราชาพระนามว่าอรุณ ราชธานีของพระเจ้าอรุณ ชื่อว่า
อรุณวดี พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี ทรงเข้าไปอาศัย
อรุณวดีราชธานีประทับอยู่ อนึ่ง พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนาม
ว่าสิขี ได้มีคู่พระสาวกนามว่าอภิภูและสัมภวะ เป็นคู่พระสาวกชั้นดีเลิศ
[๖๑๕] ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า
สิขี รับสั่งเรียกอภิภูภิกษุมาตรัสว่า ‘พราหมณ์ มาเถิด เราจักเข้าไปพรหมโลก
ชั้นใดชั้นหนึ่งชั่วเวลาหนึ่ง จนกว่าจะถึงเวลาฉันภัตตาหาร’ ภิกษุทั้งหลาย อภิภูภิกษุ
ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี และ
อภิภูภิกษุได้หายตัวจากอรุณวดีราชธานีไปปรากฏในพรหมโลกนั้น เปรียบเหมือน
บุรุษผู้มีกำลังเหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้า ฉะนั้น
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี รับสั่ง
เรียกอภิภูภิกษุมาตรัสว่า ‘พราหมณ์ ธรรมีกถาจงปรากฏชัดแก่พรหม พรหมบริษัท
และพรหมปาริสัชชะทั้งหลายเถิด’
อภิภูภิกษุทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว ได้ชี้แจงให้พรหม พรหมบริษัท และ
พรหมปาริสัชชะทั้งหลายเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญ
แกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว
[๖๑๖] ภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่าในกาลนั้น พรหม พรหมบริษัท และพรหมปาริสัชชะ
ทั้งหลาย ยกโทษติเตียนโพนทะนาว่า ‘ท่านผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ
ก็เมื่อพระศาสดาประทับอยู่เฉพาะหน้า เพราะเหตุไร พระสาวกจึงแสดงธรรม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี ตรัสกับ
อภิภูภิกษุว่า ‘ดูก่อนพราหมณ์ พรหม พรหมบริษัท และพรหมปาริสัชชะเหล่านั้น
พากันติเตียนว่า ‘ท่านผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ก็เมื่อพระศาสดา
ประทับอยู่เฉพาะหน้า เพราะเหตุไร พระสาวกจึงแสดงธรรม’ พราหมณ์ ถ้าอย่างนั้น
เธอจงให้พรหม พรหมบริษัท และพรหมปาริสัชชะทั้งหลายสลดใจให้ยิ่งขึ้นไปกว่า’
อภิภูภิกษุทูลรับสนองพระดำรัสแล้วปรากฏกายแสดงธรรมบ้าง ไม่ปรากฏกาย
แสดงธรรมบ้าง ปรากฏกายท่อนล่าง ไม่ปรากฏกายท่อนบนแสดงธรรมบ้าง
ปรากฏกายท่อนบน ไม่ปรากฏกายท่อนล่างแสดงธรรมบ้าง
[๖๑๗] ภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่าในกาลนั้น พรหม พรหมบริษัท และพรหมปาริสัชชะ
ทั้งหลายได้มีจิตอัศจรรย์เกิดขึ้นว่า ‘น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ท่านผู้เจริญ
ทั้งหลาย ความที่สมณะเป็นผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก’
ครั้งนั้น อภิภูภิกษุได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระนามว่าสิขี ดังนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ย่อมทราบ ข้าพระองค์เป็น
ผู้กล่าววาจาเห็นปานนี้ ในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ว่า ‘ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เราอยู่ที่
พรหมโลกสามารถยังหมื่นโลกธาตุให้รู้แจ้งด้วยเสียงได้’
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี ตรัสว่า ‘พราหมณ์
เป็นกาลของเธอ พราหมณ์ เป็นกาลของเธอ ที่เธอยืนอยู่ที่พรหมโลกพึงยังหมื่น
โลกธาตุให้รู้แจ้งด้วยเสียงได้’
อภิภูภิกษุทูลรับสนองพระดำรัสแล้วยืนอยู่ในพรหมโลกได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า
ท่านทั้งหลายจงปรารภความเพียร
จงทำความเพียรอย่าหยุดยั้ง
จงประกอบความเพียรในพระพุทธศาสนา
จงกำจัดกองทัพแห่งมัจจุ
เหมือนช้างกำจัดเรือนต้นอ้อ ฉะนั้น
ผู้ที่ไม่ประมาทอยู่ในพระธรรมวินัยนี้
ละการเวียนว่ายตายเกิดแล้ว จักกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
[๖๑๘] ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า
สิขีและอภิภูภิกษุ ยังพรหม พรหมบริษัท และพรหมปาริสัชชะทั้งหลายให้สลดใจแล้ว
ได้หายตัวจากพรหมโลกนั้นไปปรากฏในอรุณวดีราชธานี ฯลฯ ครั้งนั้น พระผู้มี
พระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
‘ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออภิภูภิกษุยืนอยู่ในพรหมโลก กล่าวคาถาทั้งหลายอยู่ เธอทั้งหลาย
ได้ยินหรือไม่’
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ‘เมื่ออภิภูภิกษุอยู่ในพรหมโลก กล่าวคาถาทั้งหลายอยู่
ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ยินแล้ว พระพุทธเจ้าข้า’
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี ตรัสถามว่า ‘ภิกษุ
ทั้งหลาย ก็เมื่ออภิภูภิกษุยืนอยู่ในพรหมโลก กล่าวคาถาทั้งหลายอยู่ เธอทั้งหลาย
ได้ยินว่าอย่างไร’
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่ออภิภูภิกษุยืนอยู่ใน
พรหมโลก กล่าวคาถาทั้งหลายอยู่ ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ยินอย่างนี้ว่า
ท่านทั้งหลาย จงปรารภความเพียร
จงทำความเพียรอย่าหยุดยั้ง
จงประกอบความเพียรในพระพุทธศาสนา
จงกำจัดกองทัพแห่งมัจจุ
เหมือนช้างกำจัดเรือนต้นอ้อ ฉะนั้น
ผู้ที่ไม่ประมาทอยู่ในพระธรรมวินัยนี้
ละการเวียนว่ายตายเกิดแล้ว จักกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
เมื่ออภิภูภิกษุยืนกล่าวคาถาทั้งหลายอยู่ในพรหมโลก ข้าพระองค์ทั้งหลายได้
ยินแล้วอย่างนี้’
[๖๑๙] พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี ตรัสว่า “ดีละ ดีละ
ภิกษุทั้งหลาย ดีนัก ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออภิภูภิกษุยืนกล่าวคาถาทั้งหลายอยู่ใน
พรหมโลก เธอทั้งหลายได้ยินแล้ว”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชม
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค
อรุณวตีสูตรที่ ๔ จบ
บาลี
อรุณวตีสุตฺต
[๖๑๓] เอก สมย ภควา สาวตฺถิย วิหรติ ฯเปฯ ตตฺร โข
ภควา ภิกฺขู อามนฺเตสิ ภิกฺขโวติ ฯ ภทนฺเตติ เต ภิกฺขู ภควโต
ปจฺจสฺโสสุ ฯ
[๖๑๔] ภควา เอตทโวจ ภูตปุพฺพ ภิกฺขเว ราชา อโหสิ
อรุณวา นาม ฯ รฺโ โข ปน ภิกฺขเว อรุณวโต อรุณวตี
นาม ราชธานี อโหสิ ฯ อรุณวตึ โข ปน ภิกฺขเว ราชธานึ ๒ สิขี
ภควา อรห สมฺมาสมฺพุทฺโธ อุปนิสฺสาย วิหาสิ ฯ สิขิสฺส โข
ปน ภิกฺขเว ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส อภิภู สมฺภว นาม
สาวกยุค อโหสิ อคฺคยุค ภทฺทยุค ๑ ฯ
[๖๑๕] อถ โข ภิกฺขเว สิขี ภควา อรห สมฺมาสมฺพุทฺโธ
อภิภุ ภิกฺขุ อามนฺเตสิ อายาม พฺราหฺมณ เยน อฺตโร
พฺรหฺมโลโก เตนุปสงฺกมิสฺสาม ยาว ภตฺตสฺส กาโล ภวิสฺสตีติ ฯ
เอว ภนฺเตติ โข ภิกฺขเว อภิภู ภิกฺขุ สิขิสฺส ภควโต อรหโต
สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ปจฺจสฺโสสิ ฯ อถ โข ภิกฺขเว สิขี จ ๓ ภควา
อรห สมฺมาสมฺพุทฺโธ อภิภู จ ภิกฺขุ เสยฺยถาปิ นาม พลวา ปุริโส
สมฺมิฺชิต วา พาห ปสาเรยฺย ปสาริต วา พาห สมฺมิฺเชยฺย
เอวเมว อรุณวติยา ราชธานิยา อนฺตรหิตา ตสฺมึ พฺรหฺมโลเก
ปาตุรเหสุ ฯ อถ โข ภิกฺขเว สิขี ภควา อรห สมฺมาสมฺพุทฺโธ
อภิภุ ภิกฺขุ อามนฺเตสิ ปฏิภาตุ พฺราหฺมณ พฺรหฺมุโน จ
พฺรหฺมปริสาย จ พฺรหฺมปาริสชฺชานฺจ ธมฺมี กถาติ ฯ เอว ภนฺเตติ
โข ภิกฺขเว อภิภู ภิกฺขุ สิขิสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
ปฏิสฺสุตฺวา พฺรหฺมานฺจ พฺรหฺมปริสฺจ พฺรหฺมปาริสชฺเช จ ธมฺมิยา
กถาย สนฺทสฺเสสิ สมาทเปสิ สมุตฺเตเชสิ สมฺปหเสสิ ฯ
[๖๑๖] ตตฺร สุท ภิกฺขเว พฺรหฺมา จ พฺรหฺมปริสา จ
พฺรหฺมปาริสชฺชา จ อุชฺฌายนฺติ ขียนฺติ วิปาเจนฺติ อจฺฉริย วต โภ
อพฺภูต วต โภ กถฺหิ นาม สตฺถริ สมฺมุขีภูเต สาวโก ธมฺม
เทเสสฺสตีติ ฯ อถ โข ภิกฺขเว สิขี ภควา อรห สมฺมาสมฺพุทฺโธ
อภิภุ ภิกฺขุ อามนฺเตสิ อุชฺฌายนฺติ โข เต พฺราหฺมณ พฺรหฺมา
จ พฺรหฺมปริสา จ พฺรหฺมปาริสชฺชา จ อจฺฉริย วต โภ อพฺภูต
วต โภ กถฺหิ นาม สตฺถริ สมฺมุขีภูเต สาวโก ธมฺม เทเสสฺสตีติ
เตนหิ ตฺว พฺราหฺมณ ภิยฺโยโส มตฺตาย พฺรหฺมานฺจ พฺรหฺมปริสฺจ
พฺรหฺมปาริสชฺเช จ สเวเชหีติ ฯ เอว ภนฺเตติ โข
ภิกฺขเว อภิภู ภิกฺขุ สิขิสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
ปฏิสฺสุตฺวา ทิสฺสมาเนนปิ กาเยน ธมฺม เทเสสิ อทิสฺสมาเนนปิ
กาเยน ธมฺม เทเสสิ ทิสฺสมาเนนปิ เหฏฺิเมน อุปฑฺฒกาเยน
อทิสฺสมาเนนปิ ๔ อุปริเมน อุปฑฺฒกาเยน ธมฺม เทเสสิ ทิสฺสมาเนนปิ
อุปริเมน อุปฑฺฒกาเยน อทิสฺสมาเนนปิ เหฏฺิเมน อุปฑฺฒกาเยน
ธมฺม เทเสสิ ฯ
[๖๑๗] ตตฺร สุท ภิกฺขเว พฺรหฺมา จ พฺรหฺมปริสา จ
พฺรหฺมปาริสชฺชา จ อจฺฉริยพฺภูตจิตฺตชาตา อเหสุ อจฺฉริย วต โภ
อพฺภูต วต โภ สมณสฺส มหิทฺธิกตา มหานุภาวตาติ ฯ อถ
โข ภิกฺขเว ๕ อภิภู ภิกฺขุ สิขึ ภควนฺต อรหนฺต สมฺมาสมฺพุทฺธ
เอตทโวจ อภิชานามิ ขฺวาห ภนฺเต ภิกฺขุสงฺฆสฺส มชฺเฌ
เอวรูปึ วาจ ภาสิตา ปโหมิ ขฺวาห อาวุโส พฺรหฺมโลเก ิโต
สหสฺสีโลกธาตุ สเรน วิฺาเปตุนฺติ ฯ เอตสฺส พฺราหฺมณ กาโล
เอตสฺส พฺราหฺมณ กาโล ย ตฺว พฺราหฺมณ พฺรหฺมโลเก ิโต
สหสฺสีโลกธาตุ สเรน วิฺาเปยฺยาสีติ ฯ เอว ภนฺเตติ โข ภิกฺขเว
อภิภู ภิกฺขุ สิขิสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ปฏิสฺสุตฺวา
พฺรหฺมโลเก ิโต อิมา คาถาโย อภาสิ
อารพฺภถ นิกฺกมถ ๖ ยฺุชถ พุทฺธสาสเน
ธุนาถ มจฺจุโน เสน นฬาคารว กฺุชโร
โย อิมสฺมึ ธมฺมวินเย อปฺปมตฺโต วิเหสฺสติ ๗
ปหาย ชาติสสาร ทุกฺขสฺสนฺต กริสฺสตีติ ฯ
[๖๑๘] อถ โข ภิกฺขเว สิขี จ ภควา อรห สมฺมาสมฺพุทฺโธ
อภิภู จ ภิกฺขุ พฺรหฺมานฺจ พฺรหฺมปริสฺจ พฺรหฺมปาริสชฺเช จ
สเวเชตฺวา เสยฺยถาปิ นาม ฯเปฯ ตสฺมึ พฺรหฺมโลเก อนฺตรหิตา
อรุณวติยา ราชธานิยา ปาตุรเหสุ ฯ อถ โข ภิกฺขเว สิขี ภควา
อรห สมฺมาสมฺพุทฺโธ ภิกฺขู อามนฺเตสิ อสฺสุตฺถ โน ตุเมฺห
ภิกฺขเว อภิภุสฺส ภิกฺขุโน พฺรหฺมโลเก ิตสฺส คาถาโย ภาสมานสฺสาติ ฯ
อสฺสุมฺหา ๘ โข มย ภนฺเต อภิภุสฺส ภิกฺขุโน พฺรหฺมโลเก
ิตสฺส คาถาโย ภาสมานสฺสาติ ฯ ยถากถ ปน ตุเมฺห ภิกฺขเว
อสฺสุตฺถ อภิภุสฺส ภิกฺขุโน พฺรหฺมโลเก ิตสฺส คาถาโย
ภาสมานสฺสาติ ฯ เอว โข มย ภนฺเต อสฺสุมฺหา อภิภุสฺส ภิกฺขุโน
พฺรหฺมโลเก ิตสฺส คาถาโย ภาสมานสฺส
อารพฺภถ นิกฺกมถ ยฺุชถ พุทฺธสาสเน
ธุนาถ มจฺจุโน เสน นฬาคารว กฺุชโร
โย อิมสฺมึ ธมฺมวินเย อปฺปมตฺโต วิเหสฺสติ
ปหาย ชาติสสาร ทุกฺขสฺสนฺต กริสฺสตีติ
เอว โข มย ภนฺเต อสฺสุมฺหา อภิภุสฺส ภิกฺขุโน พฺรหฺมโลเก
ิตสฺส คาถาโย ภาสมานสฺสาติ ฯ
[๖๑๙] สาธุ สาธุ ภิกฺขเว สาธุ โข ตุเมฺห ภิกฺขเว อสฺสุตฺถ
อภิภุสฺส ภิกฺขุโน พฺรหฺมโลเก ิตสฺส คาถาโย ภาสมานสฺสาติ ฯ
อิทมโวจ ภควา อตฺตมนา เต ภิกฺขู ภควโต ภาสิต อภินนฺทุนฺติ ฯ
******************
๑ อรุณวติย … ราชธานิย ฯ
๒ ม. ยุ. อคฺคภทฺทยุค ฯ ๓ โป. ม. ยุ. จสทฺโท นตฺถิ ฯ
๔ โป. ม. ยุ. ปิสทฺโท นตฺถิ ฯ
๕ โป. ม. ยุ. ภิกฺขเวติ อาลปนปท น ทิสฺสติ ฯ
๖ ยุ. นิกฺขมถ ฯ ๗ ม. ยุ. วิหสฺสติ. ๘ ม. ยุ. อสฺสุมฺห ฯ
อรรถกถา
อรรถกถาอรุณวตีสูตร
ในอรุณวตีสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อภิภูสมฺภวํ ได้แก่ พระอภิภูและพระสัมภวะ. ในท่านทั้ง ๒
นั้น พระอภิภูเถระ เป็นผู้เลิศทางปัญญา ดุจพระสารีบุตรเถระ พระสัมภวเถระ
เป็นผู้เลิศทางสมาธิ ดุจพระมหาโมคคัลลานเถระ. บทว่า อุชฺฌายนฺติ ได้แก่
ย่อมดูหมิ่น คือ ย่อมคิดทางต่ำทราม. บทว่า ขียฺยนฺติ ได้แก่ พูดกันว่า
นี่อย่างไรกัน นี่อย่างไรกัน . บทว่า วิปาเจนฺติ ได้แก่ ย่อมพูดยืดยาว คือ
พูดซ้ำ ๆ ซาก ๆ. บทว่า เหฏฺฐิเมน อุปฑฺฒกาเยน ได้แก่ กายเบื้องล่าง
ตั้งแต่สะดือลงไป ในพระบาลีมาเพียงเท่านี้เอง. ฝ่ายพระเถระแสดงการทำฤทธิ์
ต่าง ๆ มากประการที่มาโดยนัยเป็นต้นว่า ละเพศปกติ เเละเพศนาคบ้าง
แสดงเพศครุฑบ้าง. บทว่า อิมา คาถาโย อภาสิ ความว่า ได้ยินว่า
พระเถระคิดว่า แสดงธรรมอย่างไร จึงจะเป็นที่รักที่ชอบใจทั้งคนทั้งปวง
แต่นั้นเมื่อรำพึงถึงจึงรู้ว่า เจ้าลัทธิแม้ทั้งปวง เทวดาและมนุษย์ทั้งปวง
จัดสรรเสริญความเพียรของบุรุษในลัทธิของตน ผู้ที่ไม่สรรเสริญ
ความเพียรไม่มี เราจักแสดงให้เกี่ยวด้วยความเพียร การแสดงธรรม
อย่างนี้จักเป็นที่รักที่ชอบใจของคนทุกจำพวก ได้เลือกเฟ้นในพระไตร-
ปิฎกแล้วจึงได้กล่าวคาถาเหล่านี้ .
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อารพฺภถ ได้แก่ จงเริ่มความเพียร.
บทว่า นิกฺกมถ ได้แก่ จงเพียรก้าวหน้า. บทว่า ยุญฺชถ ได้แก่ จงประกอบ
เพียร คือ จงบากบั่น. บทว่า มจฺจุโน เสนํ ความว่า กองทัพกิเลส ชื่อว่า
กองทัพมฤตยู. บทว่า ชาติสํสารํ ได้แก่ ชาติและสงสาร หรือสงสารกล่าว.
คือชาติ บทว่า ทุกฺขสฺสนฺตํ กริสฺสติ ได้แก่ จักกระทำการกำหนดวัฏทุกข์.
ถามว่า ก็พระเถระทำอย่างไร จึงทำให้หมื่นโลกธาตุรู้กันได้. ตอบว่า ก่อนอื่น
พระเถระเข้านีลกสิณแล้วแผ่ความมืดไปในที่มีแสงสว่างทั้งปวง. เข้าโอทาตกสิณ
แล้วทำที่มืดให้สว่าง แสดงอาโลกกสิณในเมื่อพวกสว่างเกิดคำนึงขึ้นว่า ทำไม
ถึงมืดอย่างนี้. ในที่มีแสงสว่าง ไม่มีกิจด้วยแสงสว่าง. เมื่อเหล่าสัตว์ต้นคว้า
อยู่ว่า แสงสว่างนี้คืออะไร จึงแสดงตน. ครั้งนั้น เมื่อสัตว์เหล่านั้นพูดกันว่า
พระเถระ จึงได้กล่าวคาถาเหล่านั้น. สัตว์ทั้งปวงฟังเสียงพระเถระประดุจนั่ง
แสดงธรรมอยู่ในท่ามกลางบริษัทผู้ประชุมกัน. แม้เนื้อความได้ปรากฏแก่สัตว์
เหล่านั้น.
จบอรรถกถาอรุณวตีสูตรที่ ๔