15-186 การปรินิพพาน
พระไตรปิฎก
๕. ปรินิพพานสูตร
ว่าด้วยการปรินิพพาน
[๖๒๐] สมัยหนึ่ง ในเวลาใกล้ปรินิพพาน พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ระหว่าง
ต้นไม้สาละทั้งคู่ ป่าสาลวัน สถานที่แวะพักของมัลลกษัตริย์ทั้งหลาย เขตกรุง
กุสินารา ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย บัดนี้ เราขอเตือนพวกเธอว่า สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา
พวกเธอจงทำหน้าที่ให้สมบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด” นี้เป็นพระวาจาครั้งสุดท้าย
ของพระตถาคต
[๖๒๑] ต่อจากนั้น พระผู้มีพระภาค
ทรงเข้าปฐมฌาน
ออกจากปฐมฌาน
ทรงเข้าทุติยฌาน
ออกจากทุติยฌาน
ทรงเข้าตติยฌาน
ออกจากตติยฌาน
ทรงเข้าจตุตถฌาน
ออกจากจตุตถฌาน
ทรงเข้าอากาสานัญจายตนสมาบัติ
ออกจากอากาสานัญจายตนสมาบัติ
ทรงเข้าวิญญาณัญจายตนสมาบัติ
ออกจากวิญญาณัญจายตนสมาบัติ
ทรงเข้าอากิญจัญญายตนสมาบัติ
ออกจากอากิญจัญญายตนสมาบัติ
ทรงเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ
ออกจากเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ
ทรงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ
ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธ
ทรงเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ
ออกจากเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ
ทรงเข้าอากิญจัญญายตนสมาบัติ
ออกจากอากิญจัญญายตนสมาบัติ
ทรงเข้าวิญญาณัญจายตนสมาบัติ
ออกจากวิญญาณัญจายตนสมาบัติ
ทรงเข้าอากาสานัญจายตนสมาบัติ
ออกจากอากาสานัญจายตนสมาบัติ
ทรงเข้าจตุตถฌาน
ออกจากจตุตถฌาน
ทรงเข้าตติยฌาน
ออกจากตติยฌาน
ทรงเข้าทุติยฌาน
ออกจากทุติยฌาน
ทรงเข้าปฐมฌาน
ออกจากปฐมฌาน
ทรงเข้าทุติยฌาน
ออกจากทุติยฌาน
ทรงเข้าตติยฌาน
ออกจากตติยฌาน
ทรงเข้าจตุตถฌาน
ออกจากจตุตถฌานแล้วได้ปรินิพพานในลำดับ A
[๖๒๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จปรินิพพาน ท้าวสหัมบดีพรหมได้กล่าวคาถา พร้อมกับ
การเสด็จปรินิพพานว่า
สรรพสัตว์จะต้องทอดทิ้งร่างกายไว้ในโลก
พระศาสดาผู้หาใครเปรียบเทียบไม่ได้ในโลก
ผู้เข้าถึงสภาวะตามเป็นจริง ผู้บรรลุพลธรรม B
ผู้ตรัสรู้เองโดยชอบเช่นนี้ ก็ยังเสด็จปรินิพพานได้
[๖๒๓] เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จปรินิพพาน ท้าวสักกะจอมเทพได้ตรัสคาถา พร้อมกับ
การเสด็จปรินิพพานว่า
สังขารทั้งหลายล้วนไม่เที่ยง
มีความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปเป็นธรรมดา
เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป
ความสงบระงับสังขารเหล่านั้นเป็นความสุข
[๖๒๔] เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จปรินิพพาน ท่านพระอานนท์ได้กล่าวคาถา พร้อม
กับการเสด็จปรินิพพานว่า
เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
มีพระอาการอันล้ำเลิศทุกอย่าง C เสด็จปรินิพพานแล้ว
ในกาลนั้น ได้เกิดเหตุน่าอัศจรรย์ ขนพองสยองเกล้า
[๖๒๕] เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จปรินิพพาน ท่านพระอนุรุทธะได้กล่าวคาถา พร้อมกับ
การเสด็จปรินิพพานว่า
ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก
ของพระผู้มีพระภาคผู้มีพระทัยมั่นคง ผู้คงที่ ไม่มีแล้ว
พระมุนีผู้ไม่หวั่นไหว มุ่งใฝ่สันติ D
มีพระจักษุ เสด็จปรินิพพานแล้ว
พระองค์ผู้มีพระทัย ไม่หดหู่
ทรงอดกลั้นเวทนาไว้ได้ มีพระทัยหลุดพ้นแล้ว
ดุจดวงประทีปที่โชติช่วงดับไป ฉะนั้น E
ปรินิพพานสูตรที่ ๕ จบ
เชิงอรรถ
A ลำดับ หมายถึงลำดับ ๒ ประการ คือ (๑) ลำดับแห่งฌาน (๒) ลำดับแห่งการพิจารณา (สํ.ส.อ.
๑/๑๘๖/๒๑๒)
B บรรลุพลธรรม หมายถึงทรงมีพระกำลังอันเกิดจากฌาน ๑๐ ที่เรียกว่า ทสพลญาณ หรือ ตถาคตพละ
(ที.ม.อ. ๒๒๐/๒๐๒)
C มีพระอาการอันล้ำเลิศทุกอย่าง หมายถึงทรงมีเหตุอันล้ำเลิศทุกอย่างมีศีล เป็นต้น (ที.ม.อ. ๒๒๓/๒๐๓,
ที.ม.ฏีกา ๒๒๓/๒๓๑)
D สันติ ในที่นี้หมายถึงอนุปาทิเสสนิพพาน (สํ.ส.อ. ๑/๑๘๖/๒๑๓)
E ดูเทียบ ที.ม. (แปล) ๑๐/๒๑๙-๒๒๓/๑๖๗-๑๖๙
บาลี
ปรินิพฺพานสุตฺต
[๖๒๐] เอก สมย ภควา กุสินาราย วิหรติ อุปวตฺตเน มลฺลาน
สาลวเน อนฺตเรน ยมกสาลาน ปรินิพฺพานสมเย ฯ อถ โข ภควา
ภิกฺขู อามนฺเตสิ หนฺททานิ ภิกฺขเว อามนฺตยามิ โว วยธมฺมา
สงฺขารา อปฺปมาเทน สมฺปาเทถาติ อย ตถาคตสฺส ปจฺฉิมา
วาจาติ ๑ ฯ
[๖๒๑] อถ โข ภควา ปมชฺฌาน สมาปชฺชิ ปมชฺฌานา
วุฏฺหิตฺวา ทุติยชฺฌาน สมาปชฺชิ ทุติยชฺฌานา วุฏฺหิตฺวา ตติยชฺฌาน
สมาปชฺชิ ตติยชฺฌานา วุฏฺหิตฺวา จตุตฺถชฺฌาน สมาปชฺชิ
จตุตฺถชฺฌานา วุฏฺหิตฺวา อากาสานฺจายตน สมาปชฺชิ อากาสานฺจายตนา
วุฏฺหิตฺวา วิฺาณฺจายตน สมาปชฺชิ วิฺาณฺจายตนา
วุฏฺหิตฺวา อากิฺจฺายตน สมาปชฺชิ อากิฺจฺายตนา
วุฏฺหิตฺวา เนวสฺานาสฺายตน สมาปชฺชิ เนวสฺา-
นาสฺายตนา วุฏฺหิตฺวา สฺาเวทยิตนิโรธ สมาปชฺชิ สฺา-
เวทยิตนิโรธา วุฏฺหิตฺวา เนวสฺานาสฺายตน สมาปชฺชิ
เนวสฺานาสฺายตนา วุฏฺหิตฺวา อากิฺจฺายตน สมาปชฺชิ
อากิฺจฺายตนา วุฏฺหิตฺวา วิฺาณฺจายตน สมาปชฺชิ
วิฺาณฺจายตนา วุฏฺหิตฺวา อากาสานฺจายตน สมาปชฺชิ
อากาสานฺจายตนา วุฏฺหิตฺวา จตุตฺถชฺฌาน สมาปชฺชิ จตุตฺถชฺฌานา
วุฏฺหิตฺวา ตติยชฺฌาน สมาปชฺชิ ตติยชฺฌานา วุฏฺหิตฺวา ทุติยชฺฌาน
สมาปชฺชิ ทุติยชฺฌานา วุฏฺหิตฺวา ปมชฺฌาน สมาปชฺชิ ปมชฺฌานา
วุฏฺหิตฺวา ทุติยชฺฌาน สมาปชฺชิ ทุติยชฺฌานา วุฏฺหิตฺวา
ตติยชฺฌาน สมาปชฺชิ ตติยชฺฌานา วุฏฺหิตฺวา จตุตฺถชฺฌาน
สมาปชฺชิ จตุตฺถชฺฌานา วุฏฺหิตฺวา สมนนฺตร ภควา ปรินิพฺพายิ ฯ
[๖๒๒] ปรินิพฺพุเต ภควติ สห ปรินิพฺพานา พฺรหฺมา สหมฺปติ
อิม คาถ อภาสิ
สพฺเพว นิกฺขิปิสฺสนฺติ ภูตา โลเก สมุสฺสย
ยตฺถ เอตาทิโส สตฺถา โลเก อปฺปฏิปุคฺคโล
ตถาคโต พลปฺปตฺโต สมฺพุทฺโธ ปรินิพฺพุโตติ ฯ
[๖๒๓] ปรินิพฺพุเต ภควติ สห ปรินิพฺพานา สกฺโก
เทวานมินฺโท อิม คาถ อภาสิ
อนิจฺจา วต สงฺขารา อุปฺปาทวยธมฺมิโน
อุปฺปชฺชิตฺวา นิรุชฺฌนฺติ เตส วูปสโม สุโขติ ฯ
[๖๒๔] ปรินิพฺพุเต ภควติ สห ปรินิพฺพานา อายสฺมา อานนฺโท
อิม คาถ อภาสิ
ตทาสิ ย ภึสนก ตทาสิ โลมหสน
สพฺพาการวรูเปเต สมฺพุทฺเธ ปรินิพฺพุเตติ ฯ
[๖๒๕] ปรินิพฺพุเต ภควติ สห ปรินิพฺพานา อายสฺมา อนุรุทฺโธ
อิมา คาถาโย อภาสิ
นาหุ อสฺสาสปสฺสาโส ิตจิตฺตสฺส ตาทิโน
อเนโช สนฺติมารพฺภ จกฺขุมา ปรินิพฺพุโต ๒
อสลฺลีเนน จิตฺเตน เวทน อชฺฌวาสยิ
ปชฺโชตสฺเสว นิพฺพาน วิโมกฺโข เจตโส อหูติ ฯ
******************
๑ โป. ม. ยุ. อิติสทฺโท นตฺถิ ฯ
๒ ที. มหา. ๑๐/๑๘๒. มหาปรินิพฺพานสุตฺเต ย กาลมกรี มุนีติ ปาโ ทิสฺสติ ฯ
อรรถกถา
อรรถกถาปรินิพพานสูตร
ในปรินิพพานสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อุปวตฺตเน มลฺลานํ สาลวเน ความว่า สาลโนทยาน
อยู่ฝั่งโน้มแห่งแม่น้ำ ชื่อว่าหิรัญญวดี เหมือนทางไปถูปารามทางประตูราช
มาตุวิหารแต่ฝั่งแม่น้ำกัทธัมพะ. สาลวโนทยานนั้น อยู่ในกรุงกุสินารา เหมือน
ถูปารามแห่งอนุราธบุรี. แถวต้นสาละจากสาลวโนทยานมุ่งไปทางทิศปราจีน
ออกทางทิศอุดร เหมือนทางที่ไปสู่พระนครโดยประตูด้านทิศทักษิณ จาก
ถูปารามตรงไปทางด้านปราจินทิศ ออกทางทิศอุดรฉะนั้น. เพราะฉะนั้น สาล-
วโนทยานนั้น ท่านจึงเรียกว่า ทางโค้ง. ในสาลวันของเจ้ามัลละอันเป็นทาง
โค้งนั้น. บทว่า อนฺตเรน ยมกสาลานํ ความว่า ในระหว่างแห่งต้นสาละ
ที่ยืนต้นเกี่ยวกันและกัน ทางรากลำต้นค่าคบและใบ. บทว่า อปฺปมาเทน
สมฺปาเทถ ความว่า ท่านทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงให้สำเร็จด้วยความไม่อยู่
ปราศจากสติ. ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบรรทมเหนือพระแท่นปรินิพนาน
จึงทรงใส่พระโอวาททั้งหมดที่ทรงประทานมา ๔๕ พรรษาลงในบทอัปปมาท-
ธรรมบทเดียวเท่านั้น เหมือนอย่างกุฏุมพีผู้มีทรัพย์มาก ผู้นอนบนเตียงเป็นที่
ตาย พึงบอกทรัพย์อันเป็นสาระแก่บุตรทั้งหลาย ฉะนั้น. ก็คำว่า อยํ
ตถาคตสฺส ปจฺฉิมวาจา นี้ เป็นคำของพระสังคีติกาจารย์.
เบื้องหน้าแต่นี้ เพื่อจะแสดงถึงบริกรรมแห่งปรินิพพานที่พระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงทำแล้วปรินิพพาน พระสังคีติกาจารย์จึงกล่าวว่า อถโข ภควา
ปมฺฌานํ ดังนี้เป็นต้น. เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ
สมาบัติ ในที่นั้น เทพดาและมนุษย์เห็นความไม่เป็นไปของลมอัสสาสปัสสาสะ
จึงได้ร้องขึ้นพร้อมกันด้วยเข้าใจว่า พระศาสดาปรินิพพานเสียแล้ว. ฝ่ายพระ
อานนทเถระ ถามพระอนุรุทธเถระว่า ท่านอนุรุทธะเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ปรินิพพานแล้วหรือหนอ. พระอนุรุทธเถระ ตอบว่า อาวุโส อานนท์
พระตถาคตยังไม่ปรินิพพาน แต่พระองค์ทรงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ.
ถามว่า ท่านพระอนุรุทะ รู้ได้อย่างไร. ตอบว่า เล่ากันมาว่า พระเถระเข้า
สมาบัตินั้น ๆ พร้อมกับพระศาสดาที่เดียว ไปจนถึงออกจากเนวสัญญานา-
สัญญายตนสมาบัติ ได้รู้ว่า บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเข้านิโรธสมาบัติ
และชื่อว่า การทำกาละภายในนิโรธสมาบัติ ย่อมไม่มี.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเข้าปฐมฌานในฐานะ ๒๔ ในคำนี้ว่า ครั้ง
นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ แล้วเข้า
เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ฯลฯ ออกจากตติยฌาน แล้วเข้าจตุตถฌาน.
ในฐาน ๑๓ เข้าทุติยฌาน ตติยฌานก็เหมือนกัน ในฐาน ๑๕ ทรงเข้าจตุตถ
ฌาน. เข้าอย่างไร? ก่อนอื่น ทรงเข้าปฐมฌาน ในฐานะ ๒ เหล่านี้ คือ
อสุภ ๑๐ อาการ ๓๒* กสิณ ๘ เมตตา กรุณา มุทิตา อานาปานัสสติ ๑
ปริจเฉทากาสกสิณ ๑. แต่ทรงเว้นอาการ ๓๒ อสุภ ๑๐ ทรงเข้าทุติยฌานและ
ตติยฌาน ในบรรดาฌา น ๑๓ ที่เหลือ. อนึ่ง ทรงเข้าจตุตถฌานในฐานะ ๑๕
เหล่านี้ คือ กสิณ ๘ อุเบกขาพรหมวิหาร ๑ อานาปานัสสติ ๑ ปริจเฉทากาส
กสิณ ๑ อรูปฌาน ๔. ก็กถาโดยสังเขปเพียงเท่านี้. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็น
เจ้าของแห่งธรรมเสด็จเข้าสู่นครนิพพาน ทรงเข้าสมาบัติทั้งหมดนับได้ ๒๔
แสนโกฎิ แล้วเข้าเสวยสุขในสมาบัติทั้งหมด เหมือนคนไปสู่ต่างประเทศสวมกอด
คนที่เป็นญาติ.
ก็ในคำว่า จตุตฺถชฺฌานา วุฏฺฐหิตฺวา สมนนฺตรา ภควา
ปรินิพฺพุโต นี้ ความว่า. มีลำดับ ๒ อย่างคือ ลำดับแห่งฌาน ๑ ลำดับ แห่ง
ปัจจเวกขณญาณ ๑. การที่พระผู้มีพระภาคเจ้าออกจากจตุตถฌาณหยั่งลงสู่ภวังค
จิต แล้วปรินิพพานในขณะนั้นนั่นเอง ชื่อว่าลำดับแห่งฌาน. การที่พระผู้มี-
พระภาคเจ้าออกจากจตุตถฌานแล้วพิจารณาองค์ฌานซ้ำอีกหยั่งลงสู่ภวังคจิตเเล้ว
ปรินิพพานในขณะนั้นนั่นเอง ชื่อว่าลำดับแห่งปัจจเวกขณญาณ. ลำดับ ๒
อย่างดังว่ามานี้. ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้าเข้าฌานแล้ว ออกจากฌานแล้ว
ทรงพิจารณาองค์ฌานปรินิพพานด้วยอัพยากตทุกขสัจจะอันเป็นภวังคจิต. ก็ชน
เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ไม่ว่าพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าหรือพระอริยสาวก
โดยที่สุดกระทั่งมดดำมดแดงทั้งหมดย่อมทำกาละด้วยอัพยากตทุกขสัจจะอันเป็น
ภวังคจิตทั้งนั้น ฉะนี้แล.
บทว่า ภูตา แปลว่า หมู่สัตว์. บทว่า อปฺปฏิปุคฺคโล ได้แก่
เว้นจากบุคคลผู้จะเปรียบเทียบ. บทว่า พลปฺปตฺโต ได้แก่ ผู้บรรลุพลญาณ
๑๐. บทว่า อุปฺปาทวยธมฺมิโน ได้แก่ มีการเกิดและการดับเป็นสภาวะ.
บทว่า เตสํ วูปสโม สุโข ความว่า พระนิพพานกล่าวคือการเข้าไปสงบ
แห่งสังขารเหล่านั้นนั่นเองเป็นสุข. ด้วยคำว่า ตทาสิ ท่านกล่าวหมายเอาแผ่น
ดินไหวที่ท่านกล่าวไว้ในมหาปรินิพพานสูตรอย่างนี้ว่า แผ่นดินใหญ่ไหวย่อมมี
พร้อมกับปรินิพพาน ความจริงแผ่นดินใหญ่ไหว้นั้นให้เกิดขึ้นพองสยองเกล้า
และมีอาการน่าสะพึงกลัว. บทว่า สพฺพาการวรูเปเต ได้แก่ประกอบด้วย
การกระทำอันประเสริฐโดยอาการทั้งปวง. บทว่า นาหุอสฺสาสปสฺสาโส ได้แก่
ลม อัสฺสาสปัสสาสะ ไม่เกิด. บทว่า อเนโช ความว่า ชื่อว่า อเนชะ
เพราะไม่มีกิเลสชาติเครื่องหวั่นไหวกล่าวคือตัณหา. บทว่า สนฺติมารพฺภ
ได้แก่อาศัยคือหมายเอาอนุปาทิเสสนิพพาน. บทว่า จกฺขุมา ได้แก่ ผู้มีจักษุ
ด้วยจักษุ ๕. บทว่า ปรินิพฺพุโต ได้แก่ ปรินิพพานด้วยขันธปรินิพพาน.
บทว่า อสลฺลีเนน ได้แก่ มีจิตไม่หดหู่ ไม่คดงอ คือเบิกบานด้วยดีนั่นเอง.
บทว่า เวทนํ อชฺณาวสยิ ได้แก่ อดกลั้นเวทนา ไม่คล้อยตามเวทนากระสับ
กระส่ายไปข้างโน้นข้างนี้. บทว่า วิโมกฺโข ได้แก่ หลุดพ้น ไม่มีเครื่อง
กีดขวาง. อธิบายว่า เข้าถึงความไม่มีบัญญัติโดยประการทั้งปวง เป็นเสมือน
ไฟที่ลุกโพลงดับไป ฉะนี้แล.
จบอรรถกถาปรินิพพานสูตรที่ ๕